พร้อมหรือไม่? เมื่อพ่อแม่ถูกบังคับใช้ ‘คาร์ซีท’ ในรถ

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

มีเสียงตอบรับจากพลเมืองโซเชียลไทย ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึง “ขอเวลาปรับตัวอีกหน่อยได้ไหม” หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก โดยมีสาระสำคัญคือ คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และคนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

ฝ่ายที่ ‘เห็นด้วย’ มองว่าชาติที่พัฒนาแล้วทุกชาติบังคับเข้มงวดกับกฎหมายจราจร และการปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ซึ่งในยุโรปนั้น สหภาพยุโรป มีกฎหมาย Directive 2003/20/EC กำหนดให้เด็กที่มีส่วนสูงไม่เกิน 150 เซนติเมตร หรือหนักไม่เกิน 36 กิโลกรัม (79 ปอนด์) จะต้องใช้คาร์ซีท (CRS) ตลอดเวลาที่โดยสารไปกับรถ ทำให้ประเทศต่างๆ ต้องออกกฎหมายให้สอดคล้องตามนี้

สำหรับโทษปรับนั้น บางประเทศอย่างอังกฤษมีการแก้ไขเพิ่มโทษปรับ ผู้ปกครองของเด็กที่ไม่นั่งคาร์ซีทหรือนั่งไม่ถูกต้องจะถูกปรับสูงสุดถึงประมาณ 21,654 บาทเลยทีเดียว และหลายๆ ชาติก็กำหนดมาตรฐานความสูงของเด็กมากกว่าไทย เช่น นิวซีแลนด์กำหนดไว้ที่ 147 เซนติเมตร แม้ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวเอเชียแล้วไปเช่ารถขับที่นั่นก็ต้องปฏิบัติตาม

นอกจากนี้ยังมีการแชร์ประสบการณ์จากคุณแม่ที่ชื่อ Lisa Bedino ในเฟซบุ๊ค ‘เป็นแม่ต้องอดทน’ ระบุถึงความสำคัญของคาร์ซีทว่า บางครั้งเราระวังภัยแค่ไหน ถ้าคนอื่นนำภัยมาให้ เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราป้องกันเบื้องต้นได้

คุณแม่ท่านนี้เล่าว่า เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2560 ครอบครัวของเธอได้รับอุบัติเหตุทางถนน โดยที่รถกระบะชนท้ายรถเก๋งสีขาว ทำให้เก๋งสีขาวพุ่งชนใส่รถของครอบครัวเธออย่างแรง ซึ่งในรถมีลูกสาวอายุ 3 ปี 8 เดือน กับลูกชายอายุ 8 เดือนอยู่ด้วย โชคดีมากที่เด็กๆ นั่งคาร์ซีท คนพี่แค่หัวโขกและโนนิดหน่อย คนน้องคาร์ซีทหลุดออกจากสายรัดเข็มขัดของรถ แต่น้องก็ยังปลอดภัย ตัวไม่หลุดออกจากคาร์ซีท

“อยากให้ทุกๆ บ้านเห็นประโยชน์ของคาร์ซีทนะคะ เด็กๆ ไม่ยอมนั่งก็จับนั่งเถอะค่ะ” ผู้ใช้เฟซบุ๊ค Lisa Bedino กล่าว

ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยระบุว่า รู้สึกเป็นภาระ เพราะราคาคาร์ซีทแพงเกินไปสำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ยิ่งเศรษฐกิจยุคนี้ บางครอบครัวมีลูกเล็กและมีรถใช้เพียงเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต แต่คาร์ซีทที่มีราคาสูง คุณภาพก็เป็นไปตามราคา ทำให้เป็นภาระที่มากเกินไป

อีกทั้งยังมีประเด็นความไม่เคยชินของเด็กๆ ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน หลังจากกฎหมายบังคับใช้ 5 กันยายน นี้ น่าจะมีหลายครอบครัวเผชิญความเครียดอย่างแน่นอน เพราะลูกไม่ยอมนั่งคาร์ซีทแล้วต้องเจอโทษปรับไปด้วย จึงอยากได้เวลาสำหรับการปรับตัวเพิ่มเติม โดยขอให้เลื่อนการบังคับใช้ออกไปอีกสักระยะ

คาร์ซีทที่ได้มาตรฐานสากล ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์

เมื่อตรวจสอบราคาคาร์ซีทในตลาดขณะนี้ พบว่ามีตั้งแต่หลักพันบาทต้นๆ จนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพและรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทวัสดุ อุปกรณ์นิรภัยเพิ่มเติมและประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทก รุ่นหมุนได้เพื่อความสะดวก ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรับผิดชอบติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน

คาร์ซีททุกตัวที่มีคุณภาพมาตรฐานต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ECE R44/04 ว่ามีความปลอดภัยและสามารถปกป้องเด็กในกรณีที่เกิดการปะทะกัน กฎข้อบังคับนี้ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เพื่อให้คาร์ซีทมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด ผ่านมาตรฐานและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเดียวกันกับสหภาพของยุโรป

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้เคยมีความเคลื่อนไหวจากนายแพทย์ในประเทศไทยที่รณรงค์ผ่านเว็บไซต์ change.org เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาปรับลด ‘ภาษีนำเข้า’ คาร์ซีท โดยผู้รณรงค์คือ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เปิดเผยผลการสำรวจเมื่อปี 2554 ว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิตในเด็ก รองจากการจมน้ำ และเด็กที่เสียชีวิตจำนวนหนึ่งเกิดจากไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย หรือใช้คาร์ซีท ส่วนที่เหลือเป็นการเสียชีวิตจากรถมอเตอร์ไซค์ ส่วนผู้ปกครองที่ใช้คาร์ซีทมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตราย

ขณะเดียวกัน ตัวเลือกเรื่องคาร์ซีทที่ผลิตในประเทศเองก็มีน้อย ส่วนคาร์ซีทที่สั่งจากต่างประเทศที่ได้มาตรฐานสากลก็มีอัตราภาษีนำเข้าสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เกือบเทียบเท่ากับสินค้าฟุ่มเฟือย ทั้งที่ควรจะจัดอยู่ในหมวดสินค้าเพื่อความปลอดภัย

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/brandthink.me/posts/3332505047075024/