เปลี่ยนขยะเป็นขุมทรัพย์ พัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสร้างสรรค์แบบฮ่องกง

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ฮ่องกง นับเป็นเมืองขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 1,103 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่าประเทศไทยราว 500 เท่า) แต่มีประชากรอาศัยอยู่มากถึง 7.4 ล้านคน ทำให้ฮ่องกงเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ตามการจัดอันดับของสหประชาชาติ และปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับประเทศที่มีพื้นที่ไม่สัมพันธ์กับจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่คือ ปัญหาขยะ ฮ่องกงจึงเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของเอเชียที่มีปริมาณขยะมากที่สุด

จาก ปัญหาขยะ สู่ทางออก ด้วยการกำหนดหลากหลายนโยบายโดยภาครัฐ

โดยจากการสำรวจเมื่อปี 2563 พบ ปัญหาขยะ ที่ประชากรฮ่องกงสร้างเฉลี่ยคนละ 1.44 กิโลกรัม/วัน ซึ่งมากกว่าอัตราของประชากรโตเกียวเกือบเท่าตัว ซึ่งขยะทั้งหมดในฮ่องกงทั้งขยะจากครัวเรือน ร้านค้า และโรงงานอุตสาหกรรม ขยะจากการก่อสร้างและขยะทางเคมีอื่นๆ จะถูกนำไปกำจัดแบบวิธีฝังกลบในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชุมชน (landfill)

แหล่งฝังกลบมีเพียง 3 แห่งในฮ่องกง ได้แก่ North East New Territories Landfill (ย่าน Sheung Shui), South East New Territories Landfill (ย่าน Tseung Kwan O) และ West New Territories Landfill (ย่าน Tuen Mun) นอกจากนี้ แม้ว่าฮ่องกงจะมีปริมาณขยะในจำนวนมาก แต่อัตราการรีไซเคิลขยะของฮ่องกงยังค่อนข้างต่ำ โดยฮ่องกงมีอัตราการรีไซเคิลขยะราวร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ซึ่งมีอัตราการรีไซเคิลขยะอยู่ที่ราวร้อยละ 61

ในขณะที่ปริมาณขยะจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและขยะจากครัวเรือนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะขยะหีบห่อจากร้านอาหาร ชุด PPE ที่ใช้แล้ว และหน้ากากอนามัยในช่วงการบังคับใช้มาตรการ social distancing อย่างเข้มงวดตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการฝังกลบขยะจะเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นภัยต่อสภาวะการเปลี่ยนทางสภาพภูมิอากาศเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลฮ่องกงจึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการบริหารจัดการขยะรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนลดปริมาณขยะด้วยการรีไซเคิลและการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในการบริหารจัดการขยะภายในปี 2593 ตามแผนปฏิบัติการ “Climate Action Plan 2050” ของรัฐบาลฮ่องกงและตามการแถลงนโยบายประจำปี 2563 และปี 2564 ของผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง

นอกจากนั้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงสิ่งแวดล้อมฮ่องกงได้ออกพิมพ์เขียวด้านการบริหารจัดการขยะ “Waste Blueprint for Hong Kong 2035” ซึ่งมุ่งเน้นการ “ลดปริมาณของเสีย เพิ่มการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ และยกเลิกการกำจัดขยะแบบฝังกลบ” ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายในระยะกลาง คือ ทยอยลดปริมาณการทิ้งขยะมูลฝอยของแต่ละบุคคลลงร้อยละ 40-44

และ เพิ่มอัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (waste recovery) เป็นราวร้อยละ 55 และเป้าหมายในระยะยาว คือ ลดการพึ่งพา การกำจัดขยะแบบฝังกลบ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน (Waste-to-Energy) ในปริมาณที่เพียงพอภายในปี 2578

GREEN@COMMUNITY โครงการเด่นภายใต้พิมพ์เขียว “Waste Blueprint for Hong Kong 2035”

GREEN@COMMUNITY เป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนการลดปริมาณขยะและเพิ่มอัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิล ภายใต้พิมพ์เขียว “Waste Blueprint for Hong Kong 2035” โดยมีการจัดตั้งสถานที่เพื่อรับขยะจากประชาชน 3 ประเภท ได้แก่ สถานีรีไซเคิล (recycling stations) ร้านรีไซเคิล (recycling stores) และจุดรีไซเคิล (recycling spots) ซึ่งจะตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนในย่านต่างๆ ทั่วฮ่องกง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์การรีไซเคิลขยะและสร้างพื้นที่สีเขียวในชุมชน

สถานีรีไซเคิล (recycling stations)

มีทั้งหมด 11 แห่ง ทั่วฮ่องกง (ในเขต Hong Kong Island 2 แห่ง/ ในเขต Kowloon 2 แห่ง /และเขต New Territories 7 แห่ง) โดยนอกจากการรับขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นทรัพยากรอื่น ๆ ต่อไปแล้ว ภายในสถานีฯ ยังจัดแสดงขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการรีไซเคิลขยะ และมีบริการรถรับขยะจากอาคารที่พักและโรงเรียน

ร้านรีไซเคิล (recycling stores)

มีทั้งหมด 32 แห่งทั่วฮ่องกง  (เขต Hong Kong Island 8 แห่ง/ ในเขต Kowloon 8 แห่ง/ และเขต New Territories 16 แห่ง) เพื่อรองรับขยะจากประชาชนเพื่อนำไปรีไซเคิล โดยประชาชนที่นำขยะมารีไซเคิลจะได้รับแต้มสะสมในสมาร์ทการ์ด GREEN$ (Green Coins) เพื่อนำไปแลกเป็นของสินค้าอุปโภคบริโภค และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ

จุดรีไซเคิล (recycling spots)

ทุกสัปดาห์จะมีการจัดตั้งจุดรับขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลทั่วฮ่องกงกว่า 100 จุด ทั้งในเขต Hong Kong Island/ เขต Kowloon/ และเขต New Territories เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่สนใจนำขยะมารีไซเคิล และเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลขยะที่ถูกต้อง

ฮ่องกงกับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และแนวทางต่อยอดสร้างโอกาสทางธุรกิจของไทย

จากความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลฮ่องกงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาประชาชนฮ่องกงเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญต่อการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ภายใต้โมเดลธุรกิจ “เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)” เพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจฮ่องกงอย่างยั่งยืนในยุคหลังโควิด-19 โดยขอยกตัวอย่างธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนที่น่าสนใจในฮ่องกง ดังนี้

Work, Sheet. Studio พัฒนานวัตกรรมทางวัสดุ “FiberMaterial” จากอาหารเหลือทิ้ง (อาทิ ใบชา สมุนไพรจีน ผักและผลไม้ จากร้านอาหาร โรงงานและตลาดสด เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าหรืออุปกรณ์ตกแต่ง

Livin Farm นำเศษอาหาร (food waste) มาแปรรูปเป็นปุ๋ยเพื่อพัฒนาเป็นสินค้า อาทิ รังผึ้งพกพา (desktop Hive™) สำหรับการเลี้ยงผึ้ง/แมลงที่รับประทานได้ชนิดต่าง ๆ เพื่อผลิตแหล่งโปรตีนในอนาคต

Carbon Coins กระตุ้นให้ประชาชนนำขยะมารีไซเคิลผ่านตู้ Carbon Coins ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ร้านสะดวกซื้อในปั้มน้ำมัน และโรงเรียน เป็นต้น เพื่อสะสมคะแนนและนำไปแลกรับสินค้าของ เครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ

Greenprice จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร/เครื่องอุปโภคบริโภคที่ผ่านวันที่ควรบริโภค (“Best Before”) บนฉลากมาแล้ว ซึ่งประชาชนเข้าใจผิดว่าไม่สามารถนำมาบริโภคได้แล้วมาจำหน่ายในราคาถูกเพื่อลดปริมาณผลิตภัณฑ์อาหารเหลือทิ้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตในฮ่องกง

อย่างไรก็ดี การพัฒนาธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนในฮ่องกงยังคงเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจของฮ่องกงส่วนใหญ่มุ่งเน้นภาคบริการ อาทิ การบริการทางการเงิน การขนส่งและโลจิสติกส์ การค้า และการท่องเที่ยว รวมทั้งชาวฮ่องกงส่วนใหญ่ยังคงไม่ตระหนักถึงแนวคิดเรื่องการรักษ์โลกมากนัก ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรมการซื้ออาหารกลับมารับประทานที่บ้าน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โดยปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของวัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงมีจุดแข็งในด้านระบบนิเวศทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา (R&D) และสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจของฮ่องกง จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองต่อไปว่าฮ่องกงจะสามารถนำจุดแข็งดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสร้างสรรค์ต่อไปได้อย่างไร

อย่างก็ดี นี่ยังเป็นโอกาสของภาคธุรกิจไทยที่จะร่วมมือกับภาคธุรกิจฮ่องกงในการพัฒนาธุรกิจตามเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อร่วมจัดการกับปัญหาขยะและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยสานต่อจากศักยภาพของผู้ประกอบการไทยและความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยซึ่งได้กำหนดให้การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจสีเขียว – เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ “BCG Economy Model” เป็นวาระแห่งชาติ

นอกจากนี้ ในปี 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค ซึ่งไทยเสนอประเด็นการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ “BCG Economy Model” เป็นแนวทางในการนำภูมิภาคให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 อย่างครอบคลุม ยั่งยืน และสมดุล ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวในกรอบเอเปคซึ่งมีฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจสมาชิกด้วยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2022/04/22/waste-management-turn-to-money-model-in-hongkong/