Iron Based Battery ต้นทุนถูกที่สุด การค้นพบครั้งสำคัญของโลกปี 2022 ใช้พลังงานสะอาดทั้งกลางวันและกลางคืน

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ข่าวการค้นพบแบตเตอรี่รุ่นใหม่ มีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง มีมากจนแยกไม่ออกว่าระบบไหนดีจริง ไม่สามารถเชื่อการ “คุยโว” ของผู้ที่คิดค้นได้ทุกราย

ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ต้องผ่านการพิสูจน์ด้วยผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีงานนำเสนอผลงานทางวิชาการในวารสารที่มีชื่อเสียง และต้องมีผู้ที่รู้จริงให้การรับรอง

MIT Technology Review ของมหาวิทยาลัยไอวี่ลีกซึ่งอยู่ในอันดับท็อปของสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ได้จัดให้ Iron Based Battery เป็นหนึ่งในการค้นพบครั้งสำคัญของโลกประจำปี 2022

โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ทั้งที่เป็นพลังงานแสงแดด พลังงานลม มีข้อจำกัดเรื่องความไม่สม่ำเสมอของการจ่ายไฟฟ้า

กลางคืนที่ไม่มีแดด โซลาเซลล์ไม่มีไฟจ่ายเข้าโครงข่าย แต่มีคนต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนจำนวนมาก

ช่วงที่ไม่มีลม ใบพัดปั่นไฟไม่หมุน ไม่มีไฟจ่ายให้

ช่วงเวลาที่ ไม่มีแดด ไม่มีลม หากโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนยังต้องการทำงานต่อไป ต้องใช้แบตเตอรี่ แต่ต้นทุนค่าไฟจากแบตเตอรี่ระบบเก่านั้นสูงมาก

เมื่อมีการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนกับโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด อาจสูงกว่า

ถ้าโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ใช้ลิเธียมไอออนแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานในช่วงไม่มีแดดไม่มีลม ต้นทุนค่าไฟในช่วงนี้จะสูงมาก เพราะต้นทุนของแบตเตอรี่สูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง

https://www.osti.gov/biblio/1786976-cost-projections-utility-scale-battery-storage-update

แต่ในกรณีของแบตเตอรี่ที่ใช้เหล็กเป็นหลัก ซึ่งเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีมากที่สุดในโลก สามารถผลิตแบตเตอรี่ที่มีต้นทุนต่ำกว่า 20 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง

การค้นพบ Iron Based Battery ไม่ได้อยู่ในขั้นทฤษฎีเท่านั้น มีบริษัทที่ลงมือทำได้จริงแล้ว คือ ESS และ Form Energy ชื่อที่ใช้เรียกแบตเตอรี่อาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น LONG-DURATION ENERGY STORAGE, Iron-Air Battery System

ESS ในโอเรกอน มีแบตเตอรี่ที่สามารถกักเก็บพลังงานให้โรงไฟฟ้าระหว่าง 4-12 ชั่วโมง เริ่มใช้งานจริงในโครงข่ายไฟฟ้าแล้วในปี 2021

Form Energy เป็นสตาร์ตอัพที่เพิ่งระดมเงินทุนไปได้ 240 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 มีระบบกักเก็บพลังงานได้มากกว่า 100 ชั่วโมง เริ่มติดตั้งโครงการนำร่องขนาดหนึ่งเมกะวัตต์ในมินิโซต้าแล้ว จะแล้วเสร็จจริงในปี 2023

ถ้าแบตเตอรี่ที่ใช้เหล็กเป็นหลัก สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยมีต้นทุนต่ำตามที่ประเมินไว้จริง โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้พลังงานสะอาด แทนการใช้พลังงานสกปรกเร็วขึ้นอย่างแน่นอน….

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/turakij4.0/posts/2173106586180685/