Emergency Services: D1669 (1)

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

สวัสดีปีเสือ เพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพทุกท่าน ถึงแม้ว่าปี 2564 จะผ่านไปและปีใหม่ 2565 จะเข้ามา พวกเราก็ยังคงต้องอยู่ภายใต้การดำเนินชีวิตในแบบปกติ (New Normal) กับ COVID-19 ซึ่งเราอยู่กับเค้ามา 3 ปีแล้ว และรัฐบาลของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. สาธารณสุข ประธานการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบให้ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) ด้วยหลักเกณฑ์และค่าเป้าหมาย เช่น ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 ราย/วัน อัตราป่วยตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1 การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่า

ร้อยละ 10 และประชาชนมีภูมิต้านทานเพียงพอ กลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงได้วัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80 เป็นต้น ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้กับท่านผู้อ่านในการเดินหน้าฝ่าฟันกับอดีตโรคอุบัติใหม่ที่แปลงกายเป็นโรคประจำถิ่น ที่จะอยู่คู่กับเราไปเรื่อยๆ

ฉบับที่แล้วได้เกริ่นถึงเหตุฉุกเฉิน สาธารณภัย และหมายเลขฉุกเฉินของประเทศไทย ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ฉบับนี้ผู้เขียนจะขออนุญาตอัพเดทให้ทราบถึงความคืบหน้าของโครงการหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลข 191 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับโครงการพัฒนาศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ให้เป็นระบบดิจิทัล D1669 หมายเลข 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

ผู้เขียนโชคดีที่ได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทั้งสองโครงการ ที่จัดทำมาเพื่อให้บริการประชาชนที่ประสบเหตุฉุกเฉิน ทั้งที่เป็นผู้พบเห็นหรือเป็นผู้ประสบเหตุโดยตรงด้วยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีมาตรฐานเป็นสากล รวมเข้ากับกระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และบุคลากรผู้ให้บริการทางการแพทย์ เพื่อปฏิบัติงานด้านอาชญากรรม เหตุเพลิงไหม้ เหตุเจ็บป่วย อุบัติเหตุและการกู้ชีพ ที่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉินนิยามความหมายคำ ในพระราชบัญญัติ

องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในฉบับที่แล้ว (ฉบับที่ 39)

วัตถุประสงค์หลักของทั้งสองโครงการก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินสามารถเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความแม่นยำ รวมถึงการจัดเตรียมทรัพยากรที่เหมาะสมกับเหตุฉุกเฉินนั้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุอาชญากรรม เหตุเพลิงไหม้ เหตุเจ็บป่วย อุบัติเหตุและการกู้ชีพ ทั้งนี้เพื่อการจัดการเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที มีการปิดเหตุหรือส่งต่อเหตุที่ถูกบรรเทาความสูญเสียลงไปยังโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์

ผู้เขียนขออนุญาตเริ่มจากโครงการพัฒนาศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ให้เป็นระบบดิจิทัล D1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่เป็นการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินด้วยหมายเลข 1669 ก่อน เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ (Vision) “ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคนได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิผลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม” และพันธกิจ (Mission) “ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินตั้งแต่รับรู้การเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงเริ่มได้รับการบำบัดเจาะจงหรือพ้นภาวะฉุกเฉินโดยพัฒนาห่วงโซ่ปฏิบัติการทั้งในและนอกสถานพยาบาลให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิผลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมโดยทุกภาคส่วนมีบทบาท” ขององค์กรที่มี เรืออากาศเอก อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นผู้นำที่มากด้วยความสามารถและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ผลักดันให้โครงการพัฒนาศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ให้เป็นระบบดิจิทัล (ผู้เขียนขออนุญาตเรียกว่า D1669) สามารถดำเนินการมาจนเสร็จสิ้นระยะที่ 1

 โครงการพัฒนาศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ให้เป็นระบบดิจิทัล หรือ D1669 เกิดขึ้นจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ผู้ให้ทุน) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ผู้รับทุน)โดยกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้การส่งเสริม สนับสนุน ความช่วยเหลือในการดำเนินการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และรับทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563

D1669 เกิดขึ้นจากความร่วมมือและความรับผิดชอบ ของหน่วยงานดังต่อไปนี้

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ทำหน้าที่ ยกระดับศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ประจำจังหวัดของหน่วยปฏิบัติการอำนวยการทุกระดับ จำนวน 15 จังหวัด เพื่อเป็นศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินขั้นสูง ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนภารกิจศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ และเชื่อมต่อระบบเข้ากับ D1669 พร้อมจัดหาโครงสร้างพื้นฐานของ D1669 ทั้งระบบ Cloud, Hardware ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำระบบ D1669 ไปใช้ใน 15 จังหวัดภายใน 1 ปี

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่พัฒนาระบบ ติดตั้ง และดูแลด้าน Software ของ D1669 ซึ่งประกอบไปด้วยระบบ CIS ระบบ Emergency Telemedicine Operation ใน 15 จังหวัด และพัฒนาระบบ MIS ส่วน Offline Protocol และดำเนินการทดสอบนำร่องใน 1 จังหวัด และอบรมและแก้ไขปัญหาเชิงลึกของระบบ CIS ระบบ Emergency Telemedicine Operation และระบบ MIS

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่ ให้บริการระบบคลาวน์และโครงข่าย ทั้งส่วนเครือข่ายและโทรศัพท์ และดูแล Hardware ของ 1669 ซึ่งติดตั้งในศูนย์รับแจ้งฯ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และภายในรถฉุกเฉิน ปรับปรุงระบบสารสนเทศแพทย์ฉุกเฉิน สนับสนุนภารกิจ ศูนย์รับเรื่อง และจ่ายงานการแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัล ให้บริการอบรมเบื้องต้น และให้บริการ Helpdesk เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น (ด้านเทคนิค) สำหรับระบบ CIS ระบบ Emergency Telemedicine Operation และระบบ MIS

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่ จัดทำ (ร่าง) มาตรฐานข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูล สำหรับระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ได้รับการปรับปรุงให้บูรณาการข้อมูลจากระบบต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องก่อนประกาศใช้ต่อไป จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรสำหรับ D1669 เพื่อใช้เป็นพิมพ์เขียว เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและกำกับการพัฒนาและการบำรุงรักษาในอนาคต และจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการขยายผลต่อในอนาคต

ผู้เขียนขออารัมภบทบริการเหตุฉุกเฉิน (Emergency Service) ตอนที่ 1 เท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า ขอให้ท่าผู้อ่านทุกท่านโชคดี รักษาระยะห่างพร้อมป้องกันตัวเองและผู้ใกล้ชิดด้วยการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง ลดการสัมผัสเพื่อความปลอดภัยนะครับ

โดย เตชิต ทิวาเรืองรอง

ข้อมูลอ้างอิง

https://tulsaworld.com/opinion/columnists/syndicated-cartoon-covid-19-vaccines/article_a0dcee0c-33da-11eb-a9dd-636ff2ba73c5.html
https://www.niems.go.th/
https://www.nstda.or.th/
https://www.ntplc.co.th/
https://www.ku.ac.th/th/