Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
ในขณะที่ไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งเป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ยังคงรุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกแล้วมากกว่า 200 ล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 5 ล้านราย หนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาบทบาทสำคัญนอกเหนือไปจากด้านการพัฒนายาและวัคซีน ก็คือ “เทคโนโลยีดิจิตอลทางการแพทย์ (Digital Health)”
5 เทคโนโลยีดิจิตอลทางการแพทย์ที่คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญและถูกนำมาใช้การรับมือกับโรคร้ายนี้ ได้แก่
1 ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของเสียง (Vocal biomarkers) Dr. Charles R. Marmar นักจิตแพทย์ของ New York University กล่าวว่า คลื่นเสียงที่ออกมาจากลำคอของคนเรานั้นได้กำหนดความหมายของเนื้อหาที่ออกมาจากปากเอาไว้ ตั้งแต่โทนเสียง ความเร็ว วิธีการเน้นคำ และการเว้นวรรคต่าง ๆ แต่ความแตกต่างระหว่างเสียงของผู้ติดเชื้อ Covid–19 และเสียงของบุคคลสุขภาพดีนั้นเล็กน้อยมากจนหูของคนไม่สามารถแยกแยะได้ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงคิดค้นเทคโนโลยี AI ที่สามารถวิเคราะห์เสียงไอของผู้เข้ารับการตรวจติดเชื้อ Covid–19 ขึ้น ซึ่งสามารถแยกผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการได้อีกด้วย
2 ระบบปัญญาประดิษฐ์วินิจฉัยการติดเชื้อ (Artificial Intelligence) สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อ Covid-19 ได้ โดยนำเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ภาพ CT Scan ปอดของผู้ที่เข้ารับการตรวจ และระบุว่าเป็นการติดเชื้อในระยะเริ่มต้นหรือระยะลุกลาม (ระยะรุนแรง) ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศจีนกว่า 20 แห่ง ใช้เทคโนโลยีนี้รับมือกับผู้ติดเชื้อ เนื่องจากมีความแม่นยำสูงและรวดเร็ว อีกทั้งช่วยลดขั้นตอนการตรวจรักษา และลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วย
3 เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Prininting) สามารถผลิตชุดตรวจ Covid-19 ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ ด้วยปัญหาการขาดแคลนชุดตรวจ ทำให้บริษัท Axial3D ประเทศอังกฤษ ออกแบบชุดตรวจโควิดแบบแหย่จมูกด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ขึ้น โดยชุดตรวจโควิดนี้ไม่เพียงใช้เวลาในการผลิตเร็วกว่าเดิม แต่ยังสามารถเก็บตัวอย่างได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย
4 หูฟังมอนิเตอร์ผู้ป่วย (Monitor Headphones) แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถกักตัวอยู่บ้าน (Home Isolation) โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาลได้ โดยบริษัท TytoCare ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาหูฟังทางการแพทย์นี้ขึ้น ซึ่งนอกจากแพทย์จะได้ฟังเสียงหัวใจของผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะเห็นภาพปอดของผู้ป่วยอีกด้วย เพียงผู้ป่วยนาบหูฟังลงบนอกของตัวเอง คุณสมบัติของเทคโนโลยี AI นี้ช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติได้แบบเรียลไทม์
5 ระบบโต้ตอบแบบอัตโนมัติ (Chatbots) สามารถคัดกรอง ประเมินอาการ และให้คำแนะนำผู้ป่วยผ่านข้อความหรือเสียงสนทนาได้อย่างรวดเร็ว แม้เป็นช่วงนอกเวลาทำการ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามและดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด โดยโรงพยาบาลในเครือ Sutter Health ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เพิ่มโปรแกรมตรวจสอบอาการ Covid-19 ลงใน ChatBot เพื่อให้บริการผู้ป่วยแล้ว
แนวโน้มเทคโนโลยีข้างต้นทำให้เราเห็นว่าท่ามกลางโรคร้ายที่กำลังคุกคามมนุษยชาติ ในอีกมุมหนึ่งก็เร่งให้มนุษย์ยิ่งต้องขวนขวายพัฒนา สรรหาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อมาปกป้องและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 ถือได้ว่าเป็นปัจจัยตัวสำคัญที่ทำ “เทคโนโลยีดิจิทัล” เติบโตอย่างทวีคูณและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
แหล่งข้อมูล