ชิปขาดแคลน สะเทือนทั้งวงการ ผู้บริโภคต้องทำใจ เสี่ยงซื้อสินค้าแพงขึ้น

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทุกธุรกิจต้องเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะหยิบจับไปที่ธุรกิจใด ต่างก็ล้วนประสบปัญหาแทบทั้งสิ้น

เมื่อหันมาดูธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฮเทค อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่เครื่องเล่นเกมที่ช่วยสร้างความบันเทิงยามที่ต้องเผชิญกับวายร้ายไวรัสอย่างโควิด-19

จุดที่น่าสนใจจากปัญหาการขาดแคลนชิปเซต ขอเริ่มที่แอปเปิล (Apple) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำของโลก จำเป็นต้องปรับแผนการผลิตของตัวเองอย่างหนัก

นิกเกอิ เอเชีย เคยรายงานว่า แอปเปิลต้องลดสายการผลิตของ iPad ลงมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อโยกเอากำลังการผลิตเดิมของ iPad เพื่อมาผลิต iPhone 13 โดยเฉพาะ ทั้งนี้ ชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ระหว่าง iPad และ iPhone ก็มีอยู่ประมาณหนึ่ง เช่น ชิปประมวลผล A15 ซึ่งอันนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตเลยก็ว่าได้ นอกนั้นก็เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

ในมุมมองของแอปเปิล พวกเขามองว่า iPhone เป็นผลิตภัณฑ์สำคัญอันดับหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือกว่า iPad อีกทั้งจากการประเมินของแอปเปิล พวกเขาประเมินว่า ความต้องการ iPhone 13 โดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปมีความต้องการสูง เนื่องจาก iPhone 13 เป็นสมาร์ทโฟนที่พัฒนาดีขึ้นกว่า iPhone 12

คงต้องระบุเอาไว้ด้วยว่า ในความเป็นจริงแล้ว แท็บเล็ตอย่าง iPad ไม่ใช่ว่า ไม่มีความต้องการในตลาดนะครับ ความต้องการในตลาดมีอย่างแน่นอน อย่างน้อยๆ คนจำนวนมากบนโลกใบนี้ยังต้องทำงานจากที่บ้าน หรือเด็กในวัยเรียนก็จำเป็นต้องพึ่ง iPad เป็นอุปกรณ์เพื่อการศึกษา ดังนั้น ถ้ากล่าวว่า iPad ไม่สำคัญก็คงไม่ใช่ ซึ่งการลดกำลังการผลิต iPad ไม่ว่ายังไงก็ต้องมีผลตามมา เช่น กระบวนการผลิต กระบวนการจัดส่ง และการสต๊อกสินค้าสำหรับร้านค้าขายปลีก

แต่เหตุผลที่ทำให้แอปเปิลลดกำลังการผลิต iPad อย่างไร้ความกังวล เป็นเพราะว่า ตลาดแท็บเล็ตเป็นตลาดที่แอปเปิลไม่มีคู่แข่ง พูดกันตรงๆ ไม่มีใครแบรนด์ใดเอาชนะ iPad ได้อีกแล้ว แต่ไม่ใช่กับตลาดสมาร์ทโฟน ตรงกันข้าม ถ้าหากลูกค้าพบว่า แอปเปิลสโตร์ ไม่มี iPhone 13 วางจำหน่าย ลูกค้าสามารถหันเหความสนใจไปยังสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นจากค่าย Android ได้ทันที นั่นจึงทำให้แอปเปิลต้องทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดไปที่การผลิต iPhone 13

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ของนินเทนโด (Nintendo) ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีในชื่อ Nintendo Switch ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน เพราะจากการที่ชิปเซตขาดแคลนทำให้ นินเทนโดต้องปรับลดกำลังการผลิตลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

จากการที่ผลิตได้น้อยลง นินเทนโดจะขาดรายได้ในส่วนที่ควรจะเป็น ก่อนหน้านี้ นินเทนโดเคยตั้งเป้ายอดขายตัวเครื่องประจำปีนี้ไว้ที่ 30 ล้านเครื่องแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ต้องปรับลดเป้าลงเหลือ 24 ล้านเครื่อง

สิ่งที่ผมกำลังสื่อ นั่นหมายความว่า นินเทนโดจะเสียโอกาสการสร้างรายได้ของตัวเอง โดยมีส่วนต่างที่หายไปมากถึง 6 ล้านเครื่อง ซึ่งเมื่อแปลงเป็นตัวเลขแล้วพบว่า เป็นเงินที่มีจำนวนสูงไม่น้อย

นอกจากนี้ ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นินเทนโด เพิ่งเปิดตัว Switch OLED ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อัปเกรดเรื่องของหน้าจอ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่นินเทนโดตั้งความหวังไว้สูงมาก ซึ่งจากการที่นินเทนโดเจอปัญหาชิปเซต จึงทำให้พวกเขาไม่สามารถวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ได้ตามช่องทางการวางจำหน่ายปกติ และจะส่งผลต่อรายได้ที่ควรจะเป็นของบริษัทตามที่อธิบายไว้ข้างต้น

ปัญหาเดียวกันนี้ ก็เป็นปัญหาเดียวกับที่โซนี่ (Sony) เจ้าของแพลตฟอร์ม PlayStation 5 กำลังเผชิญ เพราะโซนี่ก็ยังไม่สามารถขาย PS5 เหมือนเมื่อครั้งการวางจำหน่าย PlayStation 4

ปัญหาต่อมาที่ตามมาติดๆ เมื่อชิปขาด ของก็ไม่มี ย่อมต้องเกิดการแก่งแย่งช่วงชิงระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน จนทำให้ปลายทางที่เป็นของผู้ซื้อ มีโอกาสที่จะต้องควักเงินซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้น

เรื่องนี้ เสี่ยวหมี่ (Xiaomi) ก็เคยออกมายอมรับว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งที่พวกเขาแบกรับต้นทุนไม่ไหว ทางออกของเรื่องนี้ ก็คือการต้องขึ้นราคาสินค้า ทั้งนี้ ก็ต้องดูว่า ท้ายที่สุดผู้ผลิตแต่ละแบรนด์จะบริหารต้นทุนของตัวเองได้ดีมากน้อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้คนที่ต้องแบกรับส่วนต่างต้องกลายเป็นผู้บริโภคอย่างเราๆ

พร้อมกันนี้ ปัญหาการขาดแคลนชิปเซตไม่ได้นำมาแค่เฉพาะทางฝั่งผู้ผลิตอุปกรณ์ไฮเทคแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ยังกระทบถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน ที่เราเห็นกันจนคุ้นชินตา ทั้งที่เป็นเครื่องปิ้งขนมปังและเครื่องซักผ้า

ใช่ครับ เครื่องปิ้งขนมปังและเครื่องซักผ้า ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติชิปขาดแคลนด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ชิปที่ใช้ในการผลิตเครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องซักผ้า และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป มีอัตราทำกำไรที่ต่ำ ดังนั้นในมุมของผู้ผลิตจึงจัดลำดับความสำคัญของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ไว้ลำดับท้ายๆ แล้วเลือกที่จะผลิตอุปกรณ์ที่ทำกำไรสูงกว่าแทน ซึ่งก็เข้าใจได้ เป็นเรื่องปกติของคนทำธุรกิจ

เมื่ออยู่ท้ายแถว ชิปเซตที่มีน้อยอยู่แล้ว ก็แทบจะเหลือไม่พอที่จะนำเข้ามาสู่กระบวนการผลิต อีกทั้งจากการที่บริษัทจากประเทศจีนถูกสหรัฐอเมริกาสั่งแบน อันเป็นผลพวงจากสงครามการค้า เป็นเหตุให้บริษัทจีนมีการกว้านซื้อชิปไว้ล่วงหน้า ปริมาณของชิปที่มีน้อยอยู่แล้ว จึงยิ่งมีน้อยลงกว่าเดิม และกลายเป็นปัญหาทับถมซ้อนทับขึ้นไปอีก

ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และ แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ สองผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเกาหลีใต้ ประเมินว่า ปัญหาที่ว่านี้ พวกเขาก็น่าจะต้องเผชิญต่อเนื่องไปอีกในปี 2022

ทางด้านผู้ผลิตจากฝั่งเทคโนโลยียนตรกรรม ก็เจอปัญหาที่ชวนให้โอดครวญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการผลิตฟีเจอร์ล้ำๆ ให้กับรถยนต์ระดับไฮเอนด์ ที่จำเป็นต้องตัดลดฟีเจอร์เหล่านี้ออกไป

บลูมเบิร์ก รายงานว่า ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นอย่างนิสสัน (Nissan) ต้องเอาระบบนำทางอัจฉริยะออกไป เพราะชิปขาดแคลน ทางฝั่งเรโนลต์ (Renault) ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน เพราะต้องหยุดการนำเสนอฟีเจอร์หน้าจอดิจิทัลขนาดใหญ่หลังพวงมาลัยออก เพื่อเป็นการประหยัดการใช้ชิปเซต

จากวิกฤติครั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นบททดสอบครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมาก ถ้าในระยะสั้น สิ่งที่ได้รับผลกระทบก็คือเรื่องของยอดขาย แต่ในระยะยาว คือการแข่งขันด้านเทคโนโลยีที่จะต้องล่าช้าไปจากช่วงเวลาที่ควรจะเป็น เพราะรถยนต์สมัยใหม่มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพิงเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น โดยมีการประเมินว่า ในปี 2030 หรืออีก 9 ปีข้างหน้ารถยนต์แต่ละคันจะมีเซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบหลักในการขับเคลื่อนมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์

ในท้ายที่สุด สิ่งที่ทุกคนสงสัยว่า แล้วปัญหาชิปเซตขาดแคลนจะยุติได้เมื่อใด

คำตอบของคำถามนี้คือ “ไม่มีใครทราบ” เพราะเอาเข้าจริงแล้ว มุมมองของผู้ผลิตชิปเซตแต่ละบริษัทก็มองไม่ตรงกันเลย

ยกตัวอย่างเช่น ดร.ลิซา ซู ผู้บริหารคนเก่งของเอเอ็มดี (AMD) มองประเด็นการขาดแคลนชิปเซตออกมาในแง่ดี โดยเชื่อว่า ปัญหานี้น่าจะดีขึ้นในช่วงกลางปี 2022

ฝั่งอินเทล (Intel) ซึ่งมองไม่เหมือนกัน เพราะเชื่อว่า ปัญหาชิปเซตขาดแคลนจะลากยาวไปจนถึงตลอดปี 2023 เช่นเดียวกับ ฟิล สเปนเซอร์ ผู้บริหารระดับสูงของ Xbox คู่แข่งกับ PlayStation ก็มองไม่ต่างกันว่า ตลอดปี 2022 ปัญหาชิปเซตก็น่าจะยังอยู่คู่กับธุรกิจบริษัทเทคโนโลยี

ส่วนทีเอสเอ็มซี ผู้ผลิตชิปเซตจากไต้หวันก็มีมุมมองที่ไม่ต่างกัน โดยการประเมินของทีเอสเอ็มซี เชื่อว่า ชิปเซตจะยังคงขาดแคลนไปจนถึงปี 2023 สอดคล้องกับอินเทล

ด้วยความที่มุมมองของบริษัทชั้นนำที่เป็นหัวหอกการพัฒนาชิปเซตมองไม่เหมือนกันแบบนี้ ในฐานะผู้บริโภคก็คงไม่มีทางทราบได้เช่นกันครับ

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/news/tech/2240213