ต่อไปอาจไม่ต้องปลูกกาแฟ ทีมวิจัยฟินแลนด์ เพาะกาแฟจากในแล็บได้แล้ว

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจกำลังนั่งจิบกาแฟที่มาจากจานเพาะเชื้อ แทนที่จะมาจากไร่กาแฟ เพราะล่าสุด สถาบันวิจัยทางเทคนิค VTT ประเทศฟินแลนด์ ได้คิดค้นวิธี “เพาะกาแฟจากเซลล์” ที่ใช้หลักการเดียวกับการเพาะเนื้อสัตว์จากเซลล์ สำเร็จแล้ว..

ทีมนักวิทยาศาสตร์ จากสถาบันวิจัยทางเทคนิค VTT ประเทศฟินแลนด์ นำโดยคุณ Heiko Rischer ได้เริ่มต้นผลิตกาแฟจากเซลล์ โดยทางทีมวิจัยเชื่อว่า นี่จะเป็นโลกแห่งอนาคตแห่งอุตสาหกรรมกาแฟ

เนื่องจากในปัจจุบัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ยืนยันได้จากสถิติด้านเครื่องดื่มในปี 2021 ที่คนในสหรัฐฯ ดื่มน้ำเปล่ามากที่สุด 66% รองลงมาคือการดื่มกาแฟถึง 63% ซึ่งเฉลี่ยแล้วคนอเมริกัน จะดื่มกาแฟประมาณวันละ 3 แก้ว..

ทั้งนี้ กาแฟจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ในแล็บ เป็นกาแฟที่ไม่ได้เติบโตมาจากเมล็ดกาแฟ แต่เติบโตจากกลุ่มเซลล์ต้นกาแฟ ภายใต้การควบคุมอุณหภูมิ, แสง และออกซิเจนอย่างใกล้ชิดในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพโดยเป็นการใช้หลักการเดียวกับ “เนื้อสัตว์สังเคราะห์” (Cell-based Meat) หรือก็คือชิ้นเนื้อจริง ๆ ที่ผ่านการเพาะเลี้ยงเซลล์ให้เติบโตมาเป็นก้อนเนื้อ โดยที่เราไม่ต้องฆ่าสัตว์เลยสักตัวเดียว

และเมื่อปีที่แล้ว เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้รับการอนุมัติจากทางการสิงคโปร์ ให้สามารถวางจำหน่ายได้เป็นครั้งแรกแล้ว ซึ่งพอนำมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมกาแฟ ก็สามารถนำไปผ่านกระบวนการคั่วและใช้ผงกาแฟในการชงลักษณะเดียวกับกาแฟทั่วไปได้เลย

แล้วถ้าถามว่า ทำไมต้องคิดค้นนวัตกรรมเหล่านี้ขึ้นมา ?

ทางคุณ Richer ได้กล่าวถึงความท้าทายของอุตสาหกรรมกาแฟไว้ว่า การปลูกกาแฟ กำลังเจอปัญหาจากเรื่องภาวะโลกร้อนเหมือนกับอีกหลายอุตสาหกรรม ที่พออุณหภูมิโลกสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ผลผลิตกาแฟที่ได้น้อยลงตาม พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกอย่างอื่นแทน ซึ่งสวนทางกับความต้องการกาแฟของโลก ที่มีมากขึ้นทุกวัน

จากปัญหาข้างต้น ทำให้ตอนนี้ทางทีมวิจัย กำลังดำเนินการวิเคราะห์อย่างละเอียด ว่าผลิตภัณฑ์ของทีมจะมีความยั่งยืนเพียงใด หากผลิตในปริมาณมาก ๆ (Mass Production)

แต่ทั้งนี้ ทางทีมก็เชื่อว่าจะใช้แรงงานและทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตกาแฟทั่วไป

อย่างเช่น การใช้น้ำในการเพาะกาแฟในห้องแล็บ ก็ต้องน้อยกว่าการทำไร่กาแฟอย่างแน่นอน

ส่วนในด้านรสชาติ ที่หลายคนน่าจะอยากรู้นั้น ตอนนี้ก็มีเพียงนักวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัส (Sensory Analysts) ที่ได้รับอนุญาตให้ลองชิมกาแฟที่ผ่านการเพาะจากเซลล์ได้ แต่ต้องลองชิมรสชาติ และบ้วนทิ้งเท่านั้น เนื่องจากยังมีสถานะเป็น “อาหารใหม่ (Novel Food)” และยังไม่ได้มีการรับรอง นั่นเอง

โดยจากการทดสอบรสชาติ พบว่า “กาแฟจากการเพาะเซลล์ มีรสขมน้อยกว่ากาแฟที่ปลูกปกติ” ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปริมาณคาเฟอีนที่ต่ำกว่าเล็กน้อย และรส Fruity ในกาแฟยังไม่เด่นชัดเท่าไร แต่ทางคุณ Rischer ก็ระบุว่า พวกเขายังไม่ใช่นักคั่วกาแฟมืออาชีพ ที่จะรู้ว่ารสกาแฟแบบไหนดีที่สุด เพราะจริง ๆ แล้ว การที่กาแฟจะมีรสชาติออกมาอย่างไรในท้ายที่สุด ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการคั่วด้วย

นอกจากนี้ คุณ Rischer ยังบอกว่าโครงการเพาะกาแฟจากเซลล์นี้ น่าจะใช้เวลาอย่างน้อยอีก 4 ปี ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนทางการค้า เพื่อให้สามารถเอาไปวางขายได้ทั่วไป

อย่างไรก็ดี กาแฟในแล็บของทีมวิจัย VTT เอง ก็ไม่ใช่ที่เดียวที่มีความพยายามในการนำเสนอทางเลือกใหม่สำหรับอุตสาหกรรมกาแฟ เพราะยังมีสตาร์ตอัป Atomo ในซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐฯ ที่ได้ทำการพัฒนา “กาแฟโมเลกุล” ที่มีต้นกำเนิดมาจากวัสดุอินทรีย์อื่นที่ไม่ใช่ต้นกาแฟ ซึ่งทางบริษัทก็เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนก่อนว่า ได้ระดมทุน 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 383 ล้านบาท) สำหรับนำไปพัฒนาโครงการนี้ด้วย

ทั้งหมดนี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของนวัตกรรมในอุตสาหกรรมกาแฟ

ถึงแม้ว่านวัตกรรมเหล่านี้ จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภค แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอาหารบางคน ได้ออกมาเตือนว่า “การดำรงชีวิตของผู้ผลิตกาแฟทั่วโลก อาจได้รับผลกระทบในทางลบ” ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากการปศุสัตว์ ที่หากเนื้อในห้องแล็บได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คนทำฟาร์มอยู่เดิม ก็อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/4407033086055715/