6 ค่ายยานยนต์ตั้งเป้าเลิกผลิตรถที่ใช้ ‘เชื้อเพลิงฟอสซิล’ ภายในปี 2040

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

รัฐบาลอังกฤษเผย 6 ค่ายยานยนต์ชั้นนำของโลกเตรียมประกาศเป้าหมายเลิกผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกภายในปี 2040 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวเผยว่าผู้ผลิตรถยนต์ 2 รายใหญ่ของโลกอย่าง โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป และ โฟล์กสวาเกน เอจี รวมไปถึงตลาดรถยนต์ในจีน, สหรัฐฯ และเยอรมนี ยังปฏิเสธที่จะร่วมในคำมั่นสัญญานี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับโลก

ข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคล, เรือ, รถบัส และเครื่องบิน มีการปลดปล่อยคาร์บอนรวมกันประมาณ 1 ใน 4 ของโลก โดยคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่มาจากท่อไอเสียของรถบนท้องถนน

6 ค่ายรถยนต์ซึ่งประกอบด้วยวอลโว, ฟอร์ด มอเตอร์, เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม), เมอร์ซิเดส-เบนซ์, บีวายดี ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน และ จากัวร์ แลนด์ โรเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ทาทา มอเตอร์ส ของอินเดีย คาดว่าจะมีการลงนามคำมั่นสัญญาเลิกผลิตรถที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลระหว่างการประชุมสภาพอากาศ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความริเริ่มที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

สำหรับวอลโวนั้นมีเป้าหมายผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2030 อยู่แล้ว

อังกฤษซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุม COP26 เผยด้วยว่า ขณะนี้มีอีก 4 ประเทศ ซึ่งรวมถึงนิวซีแลนด์และโปแลนด์ รับปากจะกำหนดให้รถยนต์และรถตู้ออกใหม่ทุกคันต้องปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2040 หรือเร็วกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม การที่จีนซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดของโลก และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 และตลาดรถยนต์เบอร์ 2 รองจากจีน ยังปฏิเสธที่จะร่วมในคำสัญญานี้ ก็ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่ามันจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน

แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมระบุว่า ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายยังไม่มั่นใจที่จะรับปาก เนื่องจากต้นทุนในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีค่อนข้างสูง ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศก็ยังไม่รับรองว่าจะมีโครงข่ายไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟที่เพียงพอสำหรับการปรับไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบหรือไม่

ค่ายรถอื่นๆ ที่ปฏิเสธเข้าร่วมพันธสัญญานี้ยังรวมถึงสเตลแลนติส (Stellantis) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ Groupe PSA และ FCA Group, ฮอนด้า มอเตอร์, นิสสัน มอเตอร์, บีเอ็มดับเบิลยู และ ฮุนได มอเตอร์

แหล่งข้อมูล

https://sondhitalk.com/detail/9640000111388