Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
สวัสดี เพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ และแล้วยอดผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประเทศไทยก็เกินหลักล้าน แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ COVID-19 ยังคงน่าเป็นห่วง ผู้เขียนขอย้ำเรื่องเรื่องเดิม ๆ ที่เรายังคงต้องอยู่กับโรคระบาด COVID-19 ต่อไปอีกนานแสนนาน
ฉบับนี้ขอมาต่อเรื่อง “eCall” เทคโนโลยีความปลอดภัยภายในรถยนต์โดยสารกันให้จบนะครับ
การทำงานของ eCall มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
- IVS: In Vehicle System ระบบในยานพาหนะ
- Communication ระบบในการส่งข้อมูล
- PSAP: Public Safety Answering Point ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
โดยในส่วนที่ 1 IVS มีรายละเอียดอุปกรณ์ดังนี้
1 และ 2 GNSS: Global Navigation Satellite Systems คือ ชุดรับสัญญาณ GPS: Global Positioning System เพื่อการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก
3 NAD: Network Access Device คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
4 Mobile Network Antenna คือ เสาอากาศมือถือ
5 ECU: Electronic Control Unit คือ ชุดควบคุมการทำงาน
6, 7 และ 10 คือ Microphone ลำโพง และ Dashboard หรือการแสดงผลการกดปุ่มกดฉุกเฉิน ด้วยมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือแบบอัตโนมัติ (กรณี airbag ทำงาน)
8 Manual SOS push button คือ ปุ่มกดฉุกเฉิน
9 Battery
11 Crash Detection System คือ ระบบตรวจสอบการชน
eCall ยุคเริ่มต้นจะเป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่าง IVS Communication และ PSAP โดยมีขั้นตอนในการทำงาน ดังนี้ เมื่อมีการชนเกิดขึ้น ระบบโทรไปที่หมายเลขฉุกเฉิน (112) ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 2G/3G เพื่อให้สามารถช่องทางไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินก่อน จึงจะส่งชุดข้อมูล (MSD: Minimum Set of Data) จากนั้นเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุรับสายจึงพูดคุยสื่อสารกัน
NG eCall หรือ Next Generation eCall เครือข่ายระบบโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนไปเป็น 4G/5G ทำให้การส่งชุดข้อมูล MSD เกิดขึ้นทันทีเมื่อเกิดการชน อีกทั้งยังสามารถส่งข้อมูลประเภทภาพวิดีโอ หรือ ข้อมูลที่เซ็นเซอร์ประเภทอื่นในยานพาหนะที่สามารถตรวจจับได้ เช่น ความเสียหายในส่วนอื่นของยานพาหนะ สัญญาณชีพของคนขับ หรือผู้โดยสาร เป็นต้น
ดังนั้น PSAP: Public Safety Answering Point จะไม่ได้หมายถึงศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินที่เป็นหน่วยงาน Public Safety เช่น ตำรวจ ดับเพลิง หรือ การแพทย์ เท่านั้น แต่จะหมายถึง TPS: Third Party Service ที่อาจจะเป็นการให้บริการของตัวแทนของยานพาหนะค่ายต่าง ๆ ที่จะให้บริการฉุกเฉินที่ไม่ได้เกิดจากการชน หรืออุบัติเหตุ ซึ่ง ถือว่าเป็นการบำรุงรักษาแบบป้องกัน (Preventive Maintenance) สร้างความประทับให้กับลูกค้าของค่ายรถได้อีกด้วย
NG eCall ไม่ใช่เป็นเทคโนโลยีสำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินจากการชนเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่มันหมายถึงการให้บริการ Real Time ในรูปแบบ New-Normal สำหรับลูกค้าอย่างแท้จริง ซึ่ง TPS: Third Party Service หรือ TPSP: Third Party Service Provider จะเกิดขึ้นมากมายในแต่ละพื้นที่เพื่อแข่งขันในการให้บริการ จากการสารพัดเซ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในยานพาหนะ ทั้งนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป อเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ทั้งเรื่องของบริการวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ ของตัวยานพาหนะเอง เรื่องของความเจ็บปวดจาก Vital Sign Sensor หรือ travelling Entertainment จากรูปแบบหรือลักษณะการเดินทางที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่ผู้เขียนเองก็ยังไม่อาจคาดเดาได้
ขอให้ท่านผู้อ่านที่เคารพดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจให้แข็งแรง ถ้าไม่จำเป็นก็ WFH (Work from Home) นะครับ