“กระดูกสันหลังยุค 5G” ก้าวสู่ Future Farming ตอบโจทย์ 12 S-Curve และ Thailand 4.0

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture And Biotechnology) 1 ใน 12 S-Curve ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 มีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก

เพราะอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชาวนา” เป็นวิชาชีพเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ

ด้วยความที่ไทยหรือสยามขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบลุ่ม และมีทรัพยากรดินอุดมสมบูรณ์ เอื้อต่อการเพาะปลูก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ที่พาดผ่านตอนกลางของภูมิประเทศเหมาะสำหรับการปลูกข้าว

ทว่า ในสภาพความเป็นจริง ชาวนาไทยถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่กดราคาพืชผลมาอย่างยาวนาน ประกอบกับเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างผลผลิต มีการใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการทำการเกษตร ส่งผลให้ดินค่อยๆ เสื่อมสภาพ อีกทั้งนโยบายรัฐหลายยุคสมัยไม่เอื้อต่อชาวนา

ทำให้เกษตรกรเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะทายาทในครอบครัวชาวนาไม่อยากสืบทอดวิชาชีพของปู่ยาตายาย อันนำมาสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร

ดังที่ ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ (2558) ได้กล่าวว่า เกษตรกรไทยเป็นผู้ทำมาหากินอยู่บนพื้นดินมากกว่า 120 ล้านไร่กระจายอยู่ทั่วประเทศคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 35 ของการจ้างงาน ทั้งที่อาชีพเกษตรกรรมคือแหล่งจ้างงานมากที่สุดของประเทศ คือเกือบ 1.5 ล้านคน

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน อัตราการลดลงของคนทำงานภาคเกษตรกอปรกับอายุที่มากขึ้น (43% อายุมากกว่า 50 ปี) และเป็นกลุ่มมีการศึกษาต่ำ (มีผู้จบประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามากกว่า 74%) จำนวนมากดำรงชีพอยู่กับผืนดินที่เสื่อมสภาพลงทุกปี มีการใช้เทคโนโลยีต่ำ ทำให้เกษตรกรตกอยู่ในวังวนความยากจน คุณภาพชีวิตตกต่ำ และกลายเป็นภาคการผลิตที่คนทำงานแรงงานรุ่นใหม่ไม่สนใจ

เมื่อเป็นเช่นนี้ อุตสาหกรรมการเกษตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับการเปลี่ยนแปลงชาวนาให้เดินหน้าไปสู่ Smart Farmer หรือ “ชาวนา 5G”

Yano Research Institute (2016) ได้กล่าวถึงทิศทางและการใช้สอยเครื่องไม้เครื่องมืออันนำไปสู่คำจำกัดความการเป็น Smart Farmer ของญี่ปุ่น โดยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบดังนี้

1 Cultivation Support Solution: แนวทางสนับสนุนการเพาะปลูก
  • 1.1 Cloud Farming: การบริหารจัดการข้อมูลการเกษตรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • 1.2 Compound Environmental Control Equipment: ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมทางการเกษตร ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความชื้น อ็อกซิเจน และการระบายอากาศ รวมถึงการบริหารจัดการเรือนกระจก
  • 1.3 Production Support Solution for Stockbreeding: แนวทางการลดต้นทุนทางการเกษตรโดยใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร
2 Sales Support Solutions: แนวทางสนับสนุนทางด้านการตลาด
  • 2.1 ระบบคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด
  • 2.2 ระบบประมาณการราคาตลาด
  • 2.3 ระบบลดภาระแรงงานในฟาร์ม
3 Operational Support Solutions:
  • 3.1 การใช้โปรแกรมการจัดการด้านงานบัญชี
  • 3.2 การเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับกรมอุตุนิยมวิทยาด้านสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติต่างๆ รวมถึงแมลงศัตรูพืชเพื่อบริหารจัดการเกี่ยวกับงานประกันภัย
4 Precision Farming: ระบบบริหารจัดการที่แม่นยำ
  • 4.1 GPS Guidance System: ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ในฟาร์ม
  • 4.2 Autopilot: ใช้ระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติหรือ Drone ที่ใช้ในฟาร์ม
  • 4.3 Vehicle-Type Robot Systems: ใช้ระบบหุ่นยนต์พาหนะในฟาร์ม ตั้งแต่การเพาะปลูกถึงเก็บเกี่ยว
5 Agricultural Robots: ใช้ระบบหุ่นยนต์ทางการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ

แม้ชาวนายุคใหม่จะดำรงชีพอยู่ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง แมลงศัตรูพืชที่ดื้อยา หรือดินเสื่อมสภาพ ทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับปัญหามากกว่าเมื่อเทียบกับเกษตรกรในยุคโบราณ ทว่า ชาวนา 4.0 มีข้อได้เปรียบตรงที่ มีชีวิตอยู่ในโลกยุค 4.0 ที่เครื่องไม้เครื่องมืออำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาถึงขีดสุด อีกทั้งยาปราบศัตรูพืชและปุ๋ยชีวภาพก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่ายุคปุ๋ยเคมี

โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้ชาวนา 4.0 สามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้นำไปสู่การจัดการความรู้ด้วยเทคโนโลยี Digital ซึ่งแตกต่างจากชาวนา 1.0 2.0 และ 3.0 ที่การถ่ายทอดองค์ความรู้ยังไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าปัจจุบัน

ปัญหาหลักมีเพียงประการเดียว คือชาวนาจะมีกลยุทธ์อย่างไรเพื่อเข้าถึงองค์ความรู้ดังกล่าว ซึ่งหากทำได้อย่างเต็มรูปแบบ ประเทศไทยก็จะเข้าสู่ยุคชาวนา 4.0 หรือ Smart Farmer เหมือนนานาอารยะประเทศได้ในที่สุด

ดังนั้น อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

โดยในปัจจุบัน มีการนำ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) มาใช้ร่วมกับ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture And Biotechnology) ในฐานะที่ทั้ง 2 อุตสาหกรรม อยู่ใน 10 หากพูดถึง 10 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-Curve ตามนโยบาย Thailand 4.0 นั่นคือการส่งเสริมให้มีการใช้ Drone ในการทำการเกษตรฯ

ที่ทุกวันนี้ องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน มีความพยายามผลักดันให้มีการนำใช้ Drone ในภาคการเกษตรฯ กันอย่างกว้างขวาง

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/09/04/thailand-future-farming/