สหรัฐฯพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์หุ่นยนต์เก็บเห็ดกระดุม หลังขาดแคลนแรงงาน

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

อุตสาหกรรมเห็ดในรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา มีกำลังการผลิตเห็ดประมาณ 2 ใน 3 ของเห็ดที่ปลูกทั่วประเทศ ทว่าผู้ปลูกที่นี่กำลังเผชิญการขาดแคลนแรงงานเก็บเห็ด ซึ่งเป็นงานยากและต้องการคนงานจำนวนมาก แต่ปัญหานี้อาจบรรเทาลง เมื่อนักวิจัยจากวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต ได้พัฒนากลไกหุ่นยนต์ช่วยเก็บและตัดแต่งเห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญองที่ปลูกในระบบชั้นวางได้

การพัฒนาอุปกรณ์เก็บเกี่ยวเห็ดที่มีประสิทธิภาพนับเป็นความพยายามที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการคัดเลือกด้วยมือ คนเก็บเห็ดจะระบุตำแหน่งเห็ดที่โตแล้วก็จะดึงออกด้วยมือเดียว ปกติจะใช้ 3 นิ้ว แต่บางคนก็ใช้มีดหั่นทีละดอกแล้วนำมาวางลงในกล่องเก็บเห็ด ดังนั้น การสร้างกลไกหุ่นยนต์จึงมีความท้าทาย เมื่อต้องบรรลุกระบวนการหยิบจับเห็ดได้ดีเทียบเท่าคน นักวิจัยเผยว่าได้ออกแบบกลไกการหยิบเห็ดของหุ่นยนต์ ด้วยวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อทำให้พื้นผิวมีแรงดูดและยึดเห็ดไว้ และทำการทดสอบรอยช้ำบนหมวกเห็ด เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของแรงดันอากาศรวมถึงระยะเวลาการทำงานของเครื่องดูดยึด

ผลทดสอบชี้ว่าอุปกรณ์ตัวดูดสุญญากาศสำหรับหยิบเห็ดนั้น อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว โดยมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 90% ในการเลือกครั้งแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 94.2% หลังจากการเลือกครั้งต่อมา ผลของการตัดแต่งมีอัตราความสำเร็จโดยรวม 97% การทดสอบรอยช้ำระบุว่าแรงดันอากาศเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับรอยช้ำบนหมวกเห็ด นักวิจัยเผยว่าเครื่องดูดยึดถือว่าเหมาะสมที่สุดและอาจช่วยบรรเทาความเสียหายจากรอยช้ำได้

ภาพ Credit : Penn State

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2111977