TRANSPORTATION SECURITY: Smart Road

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

สวัสดี เพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ ช่วงที่ปั่นต้นฉบับมีข่าวดี เรื่องวัคซีน COVID-19 ล็อต แรกมาถึงเมืองไทยแล้ว ภูมิคุ้มกันโรคระบาดในประเทศเราก็จะค่อย ๆ ทยอยกระจายและฉีดให้กับประชาชน ผู้เขียนมีความเชื่อว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งของประเทศเราเองและของโลกน่าจะพื้นตัวตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงต้องอยู่กับโรคระบาด COVID-19 ต่อไปอีกนาน

ฉบับที่แล้วเพื่อนสมาชิกได้รับรู้ถึงการพัฒนาของยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) หรือSmart Vehicles ที่มีความก้าวหน้าอย่างมากไปแล้ว

แต่องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Smart Transportation นั่นก็คือ Smart Roads

Smart Roads ต้องนำเอา Smart Technology ไม่ว่าจะเป็น connectivity technology, cloud computing, data analytics, sensors, Internet of Things และ artificial intelligence เพื่อมาตอบโจทย์และแก้ปัญหา (i) รถติด, (ii) อุบัติเหตุ, (iii) มลภาวะที่เป็นพิษ, (iv) ค่าเชื้อเพลิง, (v) การขาดแคลนเชื้อเพลิงในอนาคต, (vi) ค่าบำรุงรักษาและประกันภัยที่สูงขึ้น และ (vii) อื่นๆ ทั้งนี้ โจทย์ข้อ (iv) และ (v) มีแนวทางที่ได้กล่าวมาในฉบับที่แล้ว

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงโจทย์ที่ผู้เขียนกล่าวถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นบนท้องถนน แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ UN หรือสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี 2050 (พ.ศ.2593) ประชากรเมืองในโลกจะมีจำนวนสูงถึง 6.7 พันล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของประชากรโลก) ผู้เขียนจินตนาการไม่ถูกว่าบนท้องถนนจะเกิดอะไรขึ้น

Smart Road และ Smart Infrastructure Technology

จากแนวโน้มดังกล่าวผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น

  • Traffic Growth ด้วยปริมาณยานยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนประชากรในเมือง งบประมาณจำนวนมหาศาลจะถูกนำเอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก
  • New Monetization Models รูปแบบการหารายได้จากการใช้ยานยนต์ของประชากรแต่ละประเทศ เช่น กำหนดโซนการเข้าพื้นที่ชั้นในและเก็บค่าบริการ (E-Tolling) หรือ กำหนดรูปแบบของภาษี (Tax model) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานการขนส่งแต่ละประเทศ
  • Evolving Funding Models รูปแบบการหาความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อบริหารจัดการการใช้งานถนนของแต่ละเมือง
  • Autonomous Driving เทคโนโลยีถูกยกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานถนนแบบอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์ประเภท sensor หรือ edge computer ที่ติดตั้งอยู่ข้างถนน เทคโนโลยีการสื่อสาร (6G หรือดีกว่า) และเทคโนโลยีการบริหารจัดการสามแยก สี่แยก หรือมากกว่า
  • Connected Vehicle Technology เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลการขับเคลื่อนและความปลอดภัยอัตโนมัติของยานพาหนะเข้ากับข้อมูลการใช้พื้นที่ถนน Autonomous Driving ของเมือง เป็นไปตามมาตรฐานการเชื่อมต่อ
  • Environmental Considerations ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐต้องลงทุนเทคโนโลยีที่ได้กล่าวถึงข้างต้น และสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ประชากรทั่วโลกหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ไร้มลพิษ

การปรับเปลี่ยนเข้าไปสู่ Smart Road Infrastructure ด้วยการนำเอาอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่หลากหลาย อาทิ speed sensors, acoustic sensors, IP CCTV cameras, smart traffic lights, condition/weather monitoring systems, และ digital signage บูรณาการเข้าด้วยกันและวิเคราะห์ข้อมูลในทันที  เพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ถนนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1 ลดความคับคั่งของการจราจรบนท้องถนน จากข้อมูลตำแหน่งของยานพาหนะ และความพร้อมของถนน ด้วยการปรับสัญญาณและป้ายอำนวยการจราจรทุกประเภทให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น

2 ยกระดับความปลอดภัยของประชากรที่ใช้ถนนด้วยเทคโนโลยี (Smart Technology) ที่สามารถเฝ้าระวังทั้งยานพาหนะ คนเดินถนน รวมถึงจักรยาน จากการเรียนรู้ (AI : Artificial Intelligence) เป็นแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย (Safety Practices) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรืออาชญากรรมบนท้องถนน ด้วยการแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทันท่วงที (Immediately Alert First Responders)

3 เพิ่มประสิทธิภาพในการหาพื้นที่จอดรถและการเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดความแออัดการจราจร และลดเวลา ด้วยเทคโนโลยี LPR (License Plate Recognition) และ ระบบติดตามยานพาหนะ (Vehicle Tracking) เพื่อไม่ต้องมีการหยุดหรือชะลอ เมื่อเข้าสู่เขต/หรือพื้นที่มีการเก็บค่าผ่านทางทั้ง ทางด่วน ทางพิเศษ ทางเข้าที่จอด เป็นต้น

4 ลดมลพิษ ด้วย Smart infrastructure เพื่อลดการปล่อย carbon จากระบบการขนส่งทางบก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจราจร และการส่งเสริมให้ประชากรโลกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ที่สามารถรู้ได้ว่าควรจะชาร์จพลังงานที่ไหนและเมื่อไหร่อีกด้วย

Smart Road Infrastructure จะเข้ามาเติมเต็มชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบ ด้วยการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยบนท้องถนนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในเมืองใหญ่ทั่วโลกครับ ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านที่เคารพดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจให้แข็งแรงนะครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า

 โดย เตชิต ทิวาเรืองรอง

ข้อมูลอ้างอิง

https://royalsocietypublishing.org/doi/10.1098/rspa.2019.0439

https://www.intel.com/content/www/us/en/transportation/smart-road-infrastructure.html

https://www.mdpi.com/