เมืองอัจฉริยะ กับภารกิจของโดรนฉุกเฉิน

Share

Loading

tachit-img

เตชิต ทิวาเรืองรอง
Security & Emergency Advisor

Security systems Magazine : May – June 2016

เห็นจั่วหัวเรื่องมาแบบนี้หลายท่านอาจจะนึกว่าเป็น 007 ภาคใหม่ ในความเป็นจริงแล้วผู้เขียนอยากจะร่วม กระทู้ หรือ Theme เดียวกันกับกองบรรณาธิการ Security Systems Magazine ที่กำลัง HOT!! คือ “Smart City Smart Solution” ประจำฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2559 นี้

ตอนฉบับส่งท้ายปีเก่า 2558 เพื่อต้อนรับปีใหม่ 2559 ผมได้กล่าวถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศใน กลุ่มยุโรป 28 ประเทศที่ชื่อว่า EENA (European Emergency Number Association) ที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย, การแจ้งเหตุ และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน ด้วยหมายเลขฉุกเฉินแห่ง EU “112” หวังว่าทุกท่านน่าจะยังจำกันได้ (ถ้าคลับคล้ายคลับคลาก็ลองหยิบ มาเปิดดูก็ได้นะครับ) ที่จำเป็นต้องกล่าวถึงในวันนี้ เพราะว่าเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา EENA ได้จัดการประชุมประจำปี ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเชค โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 600 ท่าน จาก 50 ประเทศ

Smart City_Ambulance Drone Mission

ในการประชุมปี 2016 นี้ ได้มีการแบ่งปันประสบการณ์ โดยเฉพาะการนำเอาอากาศยานที่ควบคุมการบินจาก ภายนอกไม่ว่าจะเป็น UAV (Unmanned Aerial Vehicle), RPAS (Remotely Piloted Aircraft System) หรือ UAS (Unmanned Aircraft System) อากาศยานพวกนี้มีชื่อเยอะเหลือเกิน แต่ก็เอาเป็นว่าเป็นอากาศยานที่ไม่มีผู้ขับขี่ไปด้วย แต่จะเป็นการบังคับจากระยะไกลก็แล้วกันนะครับ ซึ่งในปัจจุบันเราจะได้ยินคำว่า DRONE กันมากกว่า แต่ว่าลักษณะของเจ้า DRONE เป็นอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกแบบ Rotor จะใช้หลักการของอากาศยานประเภทเฮลิคอปเตอร์ และเพื่อให้เป็นไปตามยุคสมัยผู้เขียนขออนุญาตใช้ คำว่า “Drone” ในเนื้อหาของคอลัมน์นี้ต่อไปเลยนะครับ

เมื่อปีที่แล้ว (2015) มีการนำเอา Drone ไปแสดงในการประชุมที่กรุงบูคาเรส โรมาเนีย ยังไม่ได้พูดถึงการ นำไปใช้เพื่อความปลอดภัย, การแจ้งเหตุ และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉินแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากปีนี้(2016) บางประเทศได้เริ่มนำ Drone มาเป็นหนึ่งในเครื่องมือและอุปกรณ์ประจำหน่วยและได้แบ่งปันประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เกิดแนวคิดนำไปต่อยอดเพื่อการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉินให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

กรณีที่ 1 : ประเทศไอร์แลนด์

Smart City_Ambulance Drone Mission
ทีมกู้ภัย Donegal Mountain (D.M.R.T.) ประเทศไอร์แลนด์ ได้ร่วมโครงการนำร่องกับ EENA และ DJI (ผู้ผลิตและจำหน่าย Drone) เพื่อนำเอา Drone เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์/เครื่องมือในการให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน เนื่องจาก D.M.R.T. จะปฏิบัติหน้าที่ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีหลงทาง หิมะถล่ม และเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ก่อนที่จะนำเอา Drone มาร่วมปฏิบัติการจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ด้วยทีมงาน 5 คน พื้นที่โดยประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร หลังจากที่มี Drone และ S&R Application มาเป็นส่วนหนึ่งแล้ว สามารถลดเวลาในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นเหลือเพียง 20 นาที ด้วยการนำเอา Drone บินขึ้นไป ถ่ายภาพพร้อมระบุตำแหน่งของผู้ประสบภัย ซึ่งสามารถใช้ Drone ในการส่งเวชภัณฑ์และวิทยุสื่อสารเพื่อการสื่อสารและการรักษาเบื้องต้นก่อนที่ทีมกู้ภัยจะเข้าไปในที่เกิดเหตุ

กรณีที่ 2 : ประเทศเดนมาร์ก

Smart City_Ambulance Drone Mission
หน่วยดับเพลิง ของโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก ก็ได้ร่วมโครงการนำร่องกับ EENA และ DJI (ผู้ผลิตและ จำหน่าย Drone) เพื่อนำเอา Drone เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์/เครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้
เหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ที่เหมืองหิน ในขณะที่หัวหน้าหน่วยดับเพลิงของโคเปนเฮเก้น เป็นห่วงว่าอาจเกิดการระเบิดขึ้น เนื่องจากภายในเหมืองมีวัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมีที่เป็นเชื้อปะทุการระเบิดอยู่จำนวนหนึ่ง จึงต้องมีความระมัดระวังในการเข้าไปต่อสู้กับเปลวไฟ จึงได้มีอาสาสมัครนำเอา Drone ขึ้นไปเพื่อสำรวจและประเมินสถานการณ์ก่อนส่งเจ้าหน้าที่และเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมเข้าไปปฏิบัติงานจริง

Smart City_Ambulance Drone Mission

ทั้งนี้ยังมีการนำอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกประเภท RPAS แบบ Fixed Wing เข้ามาเป็นส่วน หนึ่งในภารกิจการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉินด้วยหน่วยงานที่ชื่อว่า TEAMNET ของประเทศโรมาเนีย ที่ไร้ขอบเขตตามแนวคิดดังต่อไปนี้

Smart City_Ambulance Drone Mission

TEAMNET ต้องปฏิบัติภารกิจที่มีความเสียงตลอดเวลา ด้วยการนำเอา Drone (Fixed Wing) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์/เครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน เพื่อการสำรวจ ค้นหา ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งส่งสิ่งของหรือ เวชภัณฑ์ วัตถุประสงค์เพื่อการเข้าไปในพื้นที่ที่เข้าไปถึงยาก มีสภาพแวดล้อมที่อันตราย และสามารถลดค่าใช้จ่าย ก่อนที่ทีมจะเข้าไปปฏิบัติการจริง โดยยังไม่ทราบสถานการณ์ที่แท้จริง

Smart City_Ambulance Drone Mission          TEAMNET ได้ทำการวิเคราะห์อย่างจริงจังในการนำเอา Fixed Wing เป็นทัพหน้าก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไป จากตารางเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายกับสมรถนะและระยะทำการของการปฏิบัติการทางอากาศทุกประเภท ทั้งใช้นักบินจริงขับจริงทั้งเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ หรือประเภทควบคุมจากภายนอกทั้งแบบ Rotor และ Fixed Wing ภารกิจหลักที่ TEAMNET ให้ความสำคัญ คือการค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย และส่งสัมภาระบรรเทาทุกข์ ทั้ง ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ไฟไหม้ป่า รวมถึง การสอดส่องแนวชายฝั่ง ด้วยกล้องตรวจจับความร้อนและอุณหภูมิ (Thermal) ติดตั้งบน RPAS แบบ Fixed Wing

Smart City_Ambulance Drone Mission

จากแนวคิดเพื่อการนำเอาอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก เพื่อไปใช้ในภารกิจด้านความปลอดภัย, และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน/ผู้ประสบภัยข้างต้น ซึ่งจะเป็น Smart Solution ที่เป็นองค์ประกอบในการสนับสนุน Smart City ให้ครอบคลุมถึง Smart Public Safety และ Smart Emergency Response

สำหรับเมืองไทยเองเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีการจัดตั้งคณะทำงานของหน่วยงานแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาร่วมกันพัฒนา Ambulance DRONE สำหรับภารกิจการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น และต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจโดยด่วน ซึ่งได้มีการออกแบบ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเป็น Prototype หรือตัวต้นแบบที่ใช้ชื่อว่า AED DRONE โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ผู้เขียนจะนำเรื่องราวนวัตกรรมนี้มาเล่าให้ฟังในฉบับต่อไปนะครับ

*ราชกิจจานุเบกษา
ประกาศกระทรวงคมนาคม ว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
www.eena.org
www.slideshare.net/EENA-112
www.niems.go.th/th/DefaultTH.aspx