Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่มีประโยชน์กับทุกภาคส่วน

Share

Loading

Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาล ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรต่างๆ สำหรับภาคเอกชนทั่วไปก็ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด วัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อองค์กรของตนเป็นหลัก แต่นอกจาก Big Data จะมีความสำคัญกับภาคเอกชนแล้วสำหรับภาครัฐนั้นก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะรัฐจำเป็นต้องใช้ข้อมูลของ Big Data มาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน เพื่อจะกระจายความช่วยเหลือไปให้ถึงทุกที่ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร วางแผนกำหนดทิศทางในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

Big Data มีความสำคัญและมีประโยชน์กับทุกภาคส่วน

  1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
  2. ปรับปรุงประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการทำงานของภาครัฐ
  3. สนับสนุนนโยบายการทำงานในเชิงรุกที่มุ่งสู่ผลลัพธ์
  4. ตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของประชาชน
  5. ส่งเสริมการให้บริการประชาชน

            หลายคนอาจะสงสัยว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีนโยบายอย่างไรสำหรับ Big Data และจะสามารถนำไปใช้อย่างไรได้บ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายอย่างแน่นอน เพราะการจะรวบรวมข้อมูลจากแต่ละกระทรวงหรือองค์กรต่างๆ ภายในภาครัฐได้นั้นต้องใช้เวลาไม่น้อย อีกทั้งความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีต่างก็เป็นอีกปัจจัยที่ทางรัฐบาลต้องเข้ามาดูแล

นโยบายทางด้าน Big Data ของรัฐบาล

            รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สนับสนุนและส่งเสริม โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลักดันภาครัฐเพื่อมุ่งเน้นความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในปี 2558-2563 ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง

            อีกทั้งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สพร.” หรือ Digital Government Development Agency (Public Organization) “DGA” ซึ่งเป็นองค์การมหาชนของประเทศไทยภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศแผนทำ “บิ๊กดาต้า (Big Data)” โดยเริ่มเปิด Big Data as a Service ให้หน่วยงานภาครัฐได้ใช้ และภายใต้นโยบายนี้ภาครัฐไทยจะมีมาตรฐานข้อมูลชุดเดียวกันในการให้บริการประชาชน

วิสัยทัศน์รัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย

            เพื่อยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการทํางานแบบอัจฉริยะให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง

  1. Government Integration การบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลและการดําเนินงาน เพื่อสามารถ 1) เห็นข้อมูลประชาชนเป็นภาพเดียวที่สมบูรณ์, 2) ใช้บริการทางเทคโนโลยีร่วมกัน, และ 3) ให้บริการภาครัฐแบบครบวงจร ณ จุดเดียว
  2. Smart Operations การนําเทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลมาสนับสนุนการปฏิบัติงานที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม 1) มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องมืออุปกรณ์, 2) มีระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), และ 3) มีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Analytics)
  3. Citizen-centric Services การยกระดับงานบริการภาครัฐให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยภาครัฐจะต้องรักษาสมดุลระหว่างความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ข้อมูลของประชาชน และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ
  4. Driven Transformation การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่รัฐบาลดิจิทัลในทุกระดับของบุคลากรภาครัฐ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงองค์กรในด้านขั้นตอนการทํางานเทคโนโลยี และกฎระเบียบ

Big Data 2

การนำ Big Data มาใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ

  1. ใช้ในหน่วยงานด้านสาธารณสุข ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านความมั่นคง ด้านการเงิน ด้านการบริการประชาชน ด้านเกษตรกรรม ด้านสาธารณูปโภค หรือ ด้านคมนาคม อาทิ
  • การใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในการพยากรณ์อากาศ
  • การใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจราจร
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดปัญหาและป้องกันการเกิดอาชญากรรม
  • การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสาธารณสุข เช่น แนวโน้มของผู้ป่วย การรักษาพยาบาล หรือการเกิดโรคระบาด
  1. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านน้ำ แหล่งน้ำ ปริมาณฝน และการใช้น้ำ
  2. การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ค่าการใช้พลังงาน
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการทหารและความมั่นคงต่างๆ
  4. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีของประชาชนหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ
  5. การนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการภัยธรรมชาติ

            จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการนำ Big Data มาใช้ยังมีอีกมากมายมหาศาล ดังนั้นจึงต้องเตรียมพร้อมนำข้อมูล Big Data มาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์สงสุด แต่อย่างที่ทราบกันว่าหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยนั้นมีมากมาย การดำเนินการหรือประสานงานแต่ละครั้งก็ย่อมมีข้อติดขัดบ้าง ซึ่งปัญหาหลักๆ ก็มีดังนี้

Big Data 3

ข้อจำกัด/ปัญหา/ข้อติดขัดในการดำเนินการ Big Data

  1. ด้านข้อมูล
  • ยังไม่มีการจัดระบบข้อมูลภายในหน่วยงาน
  • รูปแบบของข้อมูลที่จะนำมาใช้ร่วมกันมีหลากหลายรูปแบบ ทำให้ยากต่อการนำมาเชื่อมโยงและการนำมาใช้ประโยชน์
  • ข้อมูลไม่ได้มีการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง / ข้อมูลไม่ทันสมัย
  • ไม่สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ได้
  • การเชื่อมโยงข้อมูลไม่ได้เป็นแบบอัตโนมัติ
  • ข้อมูลมีความซับซ้อนและไม่สมบูรณ์
  • ช่วงเวลาอัพเดทข้อมูลของแต่ละหน่วยไม่ตรงกัน
  • ไม่มีการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์
  • ไม่มีแหล่งข้อมูลกลางเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • ยังไม่สามารถดึงข้อมูลเชิงลึกจากบางหน่วยงานได้
  1. ด้านบุคลากร
  • ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน Big Data (นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist), นักวิศวกรข้อมูล (Data Engineers), ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Domain Expert), นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst))
  • ขาดผู้ประสานงานที่ช่วยผลักดันนโยบายประเทศให้ได้มาซึ่งข้อมูล
  • จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ
  • เจ้าหน้าที่ขาดแรงจูงใจ เพราะค่าตอบแทนจากหน่วยงานเอกชนสูงกว่า
  • บุคลากรขาดความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • บุคลากรด้านข้อมูล ยังยึดติดกับความเป็นเจ้าของข้อมูลและไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัยของข้อมูล
  • บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล Big Data
  • บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจทางทฤษฎี แต่ยังไม่มีการปฏิบัติจริง
  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน/ระบบงาน/อุปกรณ์ด้าน IT
  • ห้อง Data Center ไม่สามารถขยายเพื่อรองรับปริมาณงานที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
  • ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดทำ Big Data ทั้งการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
  • อุปกรณ์ขาดความทันสมัย
  • เครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดเก็บมีความหลากหลายทำให้ยากต่อการเลือกใช้
  • ขาดความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  • ขาด Software ที่ทันสมัย สำหรับการ Cleaning Data และการ Analytic
  • ไม่มีแหล่งสำรองข้อมูล
  1. ด้านงบประมาณ
  • ไม่มี / ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานของ Big Data
  • การของบประมาณมีความล่าช้า ไม่ทันต่อการทำงาน
  • ขาดงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากร
  • ขาดงบประมาณในการปรับปรุง / บำรุงรักษาระบบงาน / ฐานข้อมูล
  • ควรได้รับการสนับสนุนงบปรับปรุง Data center
  1. ด้านกฎหมาย
  • ติดขัดเรื่องกฎหมาย และข้อระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ยังไม่มีกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี Big Data

แนวทางนำเสนอการขับเคลื่อน Big Data ของภาครัฐ

            เนื่องจากปัญหาทั้งหลายบนข้างต้นที่กล่าวมา จึงนำไปสู่แนวทางการนำเสนอการขับเคลื่อน ดังนี้

    1 Governance

    1.1 ขจัดอุปสรรคด้านกฎหมายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

  • กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • กฎหมายที่ใช้กำกับดูแลข้อมูลภาครัฐประเภทต่างๆ
  • แนวทางการดำเนินงานและผู้รับชอบ

    1.2 กำหนดแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลที่ต้องปกปิด

  • กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework)
  • การจัดจำแนกประเภทของข้อมูล (Data Classification)
  • แนวปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล (Operational Procedures)
  • การให้สิทธิ์ความยินยอมในการเข้าถึงข้อมูล (Consent)

    1.3 กำหนดมาตรฐานเพื่อการเชื่อมโยงและปรับปรุงข้อมูล

  • มาตรฐานฟิลด์ข้อมูลที่ใช้เชื่อมโยง / Core Vocabulary
  • การจัดเตรียมและปรับปรุงข้อมูล / Data Management Guidelines
  • ขับเคลื่อนโครงการที่มีความสำคัญ โดยให้การสนับสนุนทางงบประมาณ องค์ความรู้ และบุคลากร

    2 Demand

  • ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ Big Data 6 โครงการ คือ การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย, การเกษตร, การศึกษาและตลาดแรงงาน, การท่องเที่ยวและคมนาคม, สาธารณสุข, และการบริหารจัดการน้ำ
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน

    3 Supply

  • ทะเบียนฐานข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
  • ขับเคลื่อนการเปิดเผยชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
  • ขับเคลื่อนการบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐ

    4 Infrastructure

  • ทีมวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะกิจ (Government Data Analytics Team) ได้แก่ ทีมนักวิเคราะห์ Data Scientist, Organization & Governance, Analytic Tools & Sandbox
  • บริการเครื่องมือ (Data Analytics Tools as a Service) ได้แก่ API Management, Data Bus / Data Lake, Analytics Tools
  • ระบบ (Government Data Analytics Center (Portal)) ได้แก่ Datasets, APIs, Visualization

            จะเห็นได้ว่า Big Data นั้นมีความสำคัญมากไม่ว่าจะสำหรับหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยเอกชนเองก็ตาม เพราะข้อมูลจำนวนมากนั้นสามารถนำมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น หรือนำข้อมูลที่ได้จากการคัดแยกและผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์มาแล้วไปพัฒนาประชาชนและประเทศชาติต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มา

http://www.wunca.uni.net.th/wunca_regis/wunca37_doc/18/006_WUNCA_Big_Data_Dr.Prasong_18_%E0%B8%81_%E0%B8%84_2018_print.pdf

https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/dec2559-4.pdf

https://dga.or.th/upload/download/file_d4fce7eccd840ada0ced6894a8580efd.pdf

http://www.sepo.go.th/assets/document/file/Big%20Data%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%20Digital%20Transformation.pdf