ศูนย์ควบคุมความปลอดภัย

Security Control Center

Share

Loading

Header Article 1

ศูนย์บัญชาการรบ (War Room)

ต้นแบบของห้องควบคุม ซึ่งผู้บัญชาการรบ หรือแม่ทัพต้องการข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อบัญชาการรบ โดยแหล่งที่มาของข้อมูลอาจได้จากคนส่งข่าว ม้าเร็ว วิทยุสื่อสาร โทรเลข โทรศัพท์ แหล่งข้อมูลที่ดี รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ มีความจำเป็นต่อการตัดสินใจในการบัญชาการรบ

ห้องควบคุม (Control Room)

ข้อมูลของห้องควบคุม มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ และทำให้ห้องควบคุมมีประสิทธิภาพ แหล่งข้อมูล คือ Sensor ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ (Signal) อุปกรณ์เตือนภัย (Alarm) เสียงเตือนภัย (Audio) ภาพ (Video) จากระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ภาพที่ผ่านการวิเคราะห์ (Video Analytic & Ai) รวมทั้งการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency Signal) หรือการร้องขอความช่วยเหลือ (Emergency Call) เป็นต้น

ศูนย์บัญชาการ (Control Center)

ศูนย์บัญชาการมีบทบาทสำคัญในระบบรักษาความปลอดภัยด้านกายภาพ (Physical Security System) การรักษาความปลอดภัยที่ดีจะต้องมีศูนย์ควบคุมเป็นหัวใจของระบบ ทำหน้าที่รวบรวมระบบความปลอดภัยทั้งหมด (Security System Integrated) เป็นศูนย์เก็บรักษาข้อมูลด้าน

ความปลอดภัย (Security Data Center)

การเป็น Security Data Center จึงต้องออกแบบที่ให้ความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Security) ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในห้องควบคุม (Security Operator) ความปลอดภัยด้านพลังงาน (Power Supply) ปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูล ความปลอดภัยจากการเหตุเพลิงไหม้ ความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้กับเจ้าหน้าที่ในระหว่างการปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าห้องควบคุม และศูนย์ข้อมูลด้านความปลอดภัยจะทำงานได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 365 วัน โดยไม่มีวันหยุด สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งอุปกรณ์ที่อยู่ภายในห้องควบคุม และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์

ป้องปราม/แจ้งเตือน (Deterrence/Warning)

บทบาทหนึ่งของห้องควบคุม คือ การทำหน้าที่ป้องปราม และการแจ้งเตือน ซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็น เพราะถ้าการป้องปรามได้สำเร็จ ก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะไม่ทำให้เกิดอันตราย หรือไม่เกิดเหตุร้าย ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของการรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าการปราบปราม
การป้องปราม ถือเป็นการสร้างวินัยอย่างหนึ่ง ข้อดีก็คือจะไม่เกิดการสูญเสียใดๆ หากมีการป้องปรามอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดเป็นวินัย ที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการสร้างสังคมที่ดี อย่างไรก็ตามการป้องปรามไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการป้องกันความปลอดภัยที่สมบูรณ์ อาจเป็นเพียงการยับยั้งได้ชั่วครั้งชั่วคราว หรือกับบางกรณีเท่านั้น

Header Article 2

จัดการเชิงรุก/ระงับเหตุ (Proactive/Restrain)

บทบาทที่แท้จริงของห้องควบคุม คือ การป้องกันในเชิงรุก และเป็นการระงับเหตุที่เกิดได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เหตุการลุกลามใหญ่โต จนไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยเหตุนี้ทุกระบบในห้องควบคุมจะต้องมีความพร้อมรวมถึงเจ้าหน้าที่ประจำที่มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาซึ่งหมายรวมถึงสุขภาพ และระยะเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่แต่ละกะ การทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการควงกะ จะทำให้เจ้าหน้าที่ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งการวัดประสิทธิผลของห้องควบคุม คือ ความสามารถในการควบคุมสั่งการอย่างมีประสิทธิภาพของห้องเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ

หน้าที่การเฝ้าดู (Monitoring) หมายถึงการรับสัญญาณ (Signal) ทั้งภาพและเสียง การแจ้งเตือน (Alarm) การขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Call) และการเฝ้าระวังเหตุด้วยการลาดตระเวณ (Surveillance)

ประสานงาน/สั่งการ ควบคุม (Cooperation/Control)

การสั่งการ กับทีมรักษาความปลอดภัย การประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยดับเพลิง หน่วยงานบรรเทาสาธารณะภัย การประเมินสถานการณ์ ศูนย์ควบคุมต้องการได้รับข้อมูล (Input Data) อย่างต่อเนื่อง มีภาพประกอบ (Picture/Moving picture) แหล่งข่าว (Information & News) จากสื่อต่างๆ ที่เชื่อถือได้ จะช่วยให้สามารถประเมินเหตุการณ์ และการประสานงานได้เป็นอย่างดีการติดสินใจของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูล ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับ และประสบการณ์ กับความเป็นมืออาชีพของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำห้องควบคุม เทียบเท่ากับการบัญชาการรบ ทีมงานรักษาความปลอดภัย จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของห้องควบคุม และรายงานเหตุการณ์ไปยังห้องควบคุม หรือขอการสนับสนุนจากห้องควบคุม

เครื่องมือสำคัญของการสั่งการ คือ ระบบสื่อสาร ห้องควบคุมจะต้องมีเครื่องมือสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานและมีระบบสื่อสารสำรอง

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Security Operation Procedure)

คู่มือการปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุการสำคัญ การจัดทำคู่มือปฏิบัติการประจำศูนย์ควบคุม เพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการสำคัญทุกเหตุการณ์ตั้งแต่การรับแจ้งเหตุ การสั่งการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ในทุกกรณี เช่น การปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การปฏิบัติการเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง การปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุฆาตกรรม เป็นต้น เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมจะต้องได้รับการอบรม เรื่องการปฏิบัติการตามคู่มือการปฏิบัติการ ทั้งภาคทฤษฎี และการฝึกงานจริงก่อนเข้ารับหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุม

รายงานผู้บังคับบัญชา/บันทึกเหตุการณ์ (Report/Record)

เมื่อเกิดเหตุการสำคัญ นอกจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว การรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นถือเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ การจัดระดับความสำคัญของเหตุการณ์ และลำดับชั้นของผู้บังคับบัญชาที่ต้องรายงานเป็นกระบวนการภายในของแต่ละศูนย์ควบคุม การบันทึกเหตุการณ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องมีระบบการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ทุกขั้นตอน ตามลำดับเวลา ที่สามารถบอกเล่าเหตุการณ์ การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ การประสานงาน การได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ อย่างครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน เป็นพยานหลักฐาน

วิเคราะห์/หาวิธีป้องกัน (Analyze/Countermeasure)

การวิเคราะห์เหตุการณ์ เป็นภาระกิจของระบบศูนย์ควบคุม แต่ละประเภทของสัญญาณแจ้งเหตุ (Signal) และบันทึกเหตุการณ์ของห้องควบคุม จะช่วยให้การวิเคราะห์การปฏิบัติการ ของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ วิเคราะห์สาเหตุ ปัญหาและกระบวนการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
การปฏิบัติการและการวิเคราะห์ การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ นอกจากการเพิ่มประสบการณ์ยังช่วยให้เกิดพัฒนาการของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการประจำศูนย์ควบคุมได้เป็นอย่างดี

โดยสรุป ศูนย์ควบคุมเป็นการทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยมีความสมบูรณ์ บทบาทหน้าที่ของศูนย์ควบคุม คือ การป้องปราม การป้องกัน การระงับเหตุ การลดความสูญเสีย ทำให้เกิดสังคมที่ น่าอยู่ เป็น Smart Security และเป็นส่วนหนึ่งของ Smart City ในยุค 4.0