E-Road Safety (empowering) : The Last Episode (การเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน : ภาคจบ)

Share

Loading

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ ฉบับนี้เป็นภาคจบของการเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (E-Road Safety) แต่ก่อนที่เราจะไปติดตามตอนจบกัน ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติภาคประชาชน ครั้งที่ 2 “ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน” เมื่อวันที่ 30-31 สิงหาคม 2561 โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานพิธีเปิดและแสดงปาฐกถาพิเศษ “ตำบลปลอดภัย” การประชุมครั้งนี้จัดโดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้กล่าวว่า ตำบลปลอดภัย ถือได้ว่าเป็น ประเด็นใหญ่ (Big Issue) ของประเทศอย่างหนึ่งโดยให้ความสำคัญฐานของประเทศคือชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัยและจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยมี
เป้าหมายใหญ่นั่นก็คือ “ทุกตำบลปลอดภัย ประเทศไทยปลอดภัย”

ผู้เขียนได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของ Workshop การระดมสมองกำหนดยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย ของแต่ละกลุ่มที่มาจากหลากหลายภาคส่วนของประเทศ และนำเสนอผลการระดมสมองพร้อมแผนปฏิบัติการ เพื่อนำแนวทาง 3 P (Propose Principle Participation) ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี กลับไปสร้างยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย สู่การขับเคลื่อนตำบลปลอดภัย เพื่อเป้าหมายประเทศไทยปลอดภัย ทั้งนี้ มีบุคคลสำคัญ หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมวิพากษ์และให้ความเห็น ตลอดระยะเวลาการประชุมวิชาการระดับชาติภาคประชาชน ทั้ง 2 วัน

1-33

Propose หรือวาดภาพของตำบลปลอดภัย ที่มีความหลากหลาย เนื่องจากความต้องการ สภาพทางภูมิศาสตร์ อัตลักษณ์ เอกลัษณ์ บริบท จุดเปราะบาง และอื่นๆ ของแต่ละชุมชน ที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกัน (สอดรับกับสิ่งที่ผู้เขียนเคยได้กล่าวไว้ว่า Smart City COPY ไม่ได้ ในเรื่องของการทำสร้างเมืองอัจฉริยะ เพราะไม่มีเมืองใดเลยที่เหมือนกัน) เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการหรือ Principle ด้วยการมีส่วนร่วม Participation ของภาคประชาชน

ส่วนหนึ่งของการวาดภาพตำบลปลอดภัย นั่นก็คือ ความปลอดภัยบนท้องถนน (Road Safety) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนคาดหมายว่าจะได้เห็น แต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าวิธีคิดของ
ผู้เข้าร่วมประชุมเต็มไปด้วยแนวทาง (Solution) เริ่มต้นที่ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี อาศัยความร่วมมือของชุมชน เพื่อทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และความปลอดภัยต่อชุมชนหรือตำบล

อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนในการเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (E-Road Safety) ยังคงต้องอาศัยเทคโนโลยี เพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยชีวิตของผู้ประสบเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน 2 ฉบับ ที่ผ่านมาได้อัพเดทเรื่องระบบการรับแจ้งด้วยผู้ประสบเหตุในตัวรถเองหรือแจ้งโดยอัตโนมัติจากระบบในตัวรถ (eCall) และส่งต่อการปฏิบัติงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภาคสนามกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน IoT Device หรือ sensor ในยานพาหนะซอฟท์แวร์ระบบต่าง ๆ ในรถและการตรวจสุขภาพรถและผู้โดยสารแบบ Real-time ด้วยการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big DATA) อยู่ตลอดเวลาบน Cloud รวมถึง Smart Ambulance ซึ่งมันคือ Internet of Everything สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันบนท้องถนน

1-3

ส่วนสุดท้ายของการเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (E-Road Safety) ก็คือ การติดตั้ง sensor บนเส้นทางจราจรทั้งในเมือง ช่องทางเข้า-ออกเมือง ทางร่วม-ทางแยก และเส้นทางระหว่างเมือง โดยที่ sensor ที่ติดตั้งจะสามารถตรวจจับ ตรวจสอบ ตรวจวัดสรรพสิ่งอย่างหลากหลาย และรับ-ส่งข้อมูล (IoT : Internet of Things) ผ่านระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยระดับสูง เพื่อทำการวิเคราะห์ก่อนที่ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานต่อไป (SOP : Standard Operation Procedure)

การติดตั้ง IoT Sensor จำนวนมหาศาลเหล่านี้สามารถนำเอาผลการวิเคราะห์ของการตรวจจับ ตรวจสอบ ตรวจวัด มาใช้งานได้อย่างหลากหลายวัตถุประสงค์ นอกจากเรื่องการจราจร (รวมทั้งอุบัติภัย/เหตุฉุกเฉินบนท้องถนน) ตามที่เราได้ติดตามกันมา 2 ภาคแล้ว ยังนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ บนเส้นทางจราจรได้อีก เช่น อุบัติภัยและภัยธรรมชาติ เช่น ตรวจวัดระดับน้ำ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจวัดความสั่นไหว ตรวจวัดความเร็วลม ตรวจจับควันไฟป่า/ไฟไหม้ ตรวจการเคลื่อนตัวหรือความลาดเอียงของดิน ฯลฯ

1-32

สิ่งแวดล้อม เช่น ตรวจสอบสภาพอากาศ ตรวจจับกลิ่น ตรวจสอบคุณลักษณะเสียง ตรวจวัดรังสี/แสง ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตรวจสอบคุณภาพดิน ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าเมื่อ IoT Sensor บนเส้นทางจราจร พร้อมที่จะส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big DATA) ไม่ใช่เฉพาะเรื่องอุบัติภัยบนท้องถนนเท่านั้น ยังสามารถนำเอาข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และจัดแบ่งกลุ่มของข้อมูลส่งต่อไปยัง SCC (Smart City Center) ของเมืองอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ลดความสูญเสีย ลดผลกระทบ นำไปบริหารจัดการให้เมืองมีความน่าอยู่ต่อไป

ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) โดยเฉพาะงานด้านจราจร เช่น ตรวจจับความเร็ว ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร เปลี่ยนช่องทางบนเส้นทึบ จอดในที่ห้ามจอด วิ่งสวนทาง การตรวจสอบป้ายทะเบียนรถ โดยส่วนมากจะใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเป็น sensor ทำงานร่วมกับระบบการวิเคราะห์ข้อมูลภาพ (Video Analytic) เริ่มมีใช้ AI และ ML บ้างแล้ว

ดังนั้น ในอนาคต ชีวิตของผู้คนในเมือง ไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็ก เมืองใหญ่ หรือมหานคร ก็จะมีความปลอดภัยในชีวิตซึ่งอาจรวมถึงทรัพย์สินอีกด้วยหรือที่เรียกกันว่า Safe City นั่นเอง

โดย เตชิต ทิวาเรืองรอง


ข้อมูลอ้างอิง
https://rno-its.piarc.org/en/network-operations-its-road-safety-accident-analysis/data-capture
http://www.traffictechnologytoday.com/news.php?NewsID=88948
https://www.azosensors.com/article.aspx?ArticleID=847
https://www.smartcitiesworld.net/news/news/smart-intersection-aims-to-increase-safety-2422
https://greendealzes.connekt.nl/autonome-autos-vragen-om-smart-roads/20160314-smart-roads-bring-in-the-dutch/
https://www.roc-search.us/the-future-of-highway-engineering