E-Road Safety (empowering) : Episode II (การเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน : ภาค 2)

Share

Loading

ผู้เขียน เตชิต ทิวาเรืองรอง

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ ฉบับก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้อัพเดทเรื่องระบบการรับแจ้งด้วยผู้ประสบเหตุในตัวรถเองหรือแจ้งโดยอัตโนมัติจากระบบในตัวรถ (eCall) และส่งต่อการปฏิบัติงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภาคสนามกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานพาหนะซอฟท์แวร์ระบบต่าง ๆ ในรถและการตรวจสุขภาพรถ Real-time ด้วยการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big DATA) อยู่ตลอดเวลาบน Cloud ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่ามันคือ Internet of Everything สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันบนท้องถนน

ในฉบับนี้ ผู้เขียนอยากจะนำเสนอแนวคิดในเรื่องของการเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (E-Road Safety) ภาค 2 ต่อ จากความก้าวหน้าและพัฒนาการ IoT Device ของผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ หรือ sensor เพื่อทำหน้าที่คล้ายกับ ประสาทสัมผัส*Security
ตรวจจับความผิดปกติสุขภาพของยานพาหนะและผู้โดยสารทั้งในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ ส่งต่อไปยังศูนย์แจ้งเหตุฉุกเฉิน (ผ่าน eCall) จากนั้นข้อมูลจะถูกวิเคราะห์เบื้องต้น และแยกแยะเป็นกรณีเพื่อกำหนด use case ในการปฏิบัติขั้นถัดไป ยกตัวอย่างเช่น

กรณีอุบัติเหตุ / เหตุฉุกเฉิน / ความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดกับคนขับหรือผู้โดยสาร (Human use case)

  • Sensor ตรวจพบความไม่พร้อมในการขับขี่ของคนขับ เช่น เมา หลับใน เครียด ป่วย
  • Sensor ตรวจพบว่ามีการกระทำผิดกฎจราจร เช่น ความเร็ว การขับขี่ไม่อยู่ในช่องทางที่กำหนด การใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะขับขี่
  • Sensor ตรวจพบการบาดเจ็บภายหลังเกิดอุบัติเหตุ
  • Sensor ตรวจพบความผิดปกติของสัญญาณชีพ (Vital Sign)

Security

กรณีอุบัติเหตุ / เหตุฉุกเฉิน / ความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดกับยานพาหนะ (Vehicle use case)

  • Sensor ตรวจพบความไม่พร้อมในการขับขี่ของยานพาหนะ เช่น น้ำมันหรือ Battery หมด ระบบที่จำเป็นต่อการขับขี่หรือความปลอดภัยเสีย
  • Sensor ตรวจพบกลิ่น ควัน ความร้อนหรือความเย็นที่ผิดปกติ
  • Sensor ตรวจพบความเสียหายในจุดต่างๆ ของยานพาหนะภายหลังเกิดอุบัติเหตุ

Sensor ตรวจพบการขโมยรถด้วยการงัดแงะ การ Hack การเฉี่ยวชนที่เจ้าของไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุภายหลังที่แยกแยะได้แล้ว (use case def ifine) ระบบควบคุมในยานพาหนะ CCG (Connected Car Gateway) จะทำหน้าที่ตามขั้นตอนมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ (Standard Operation Procedure) เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังศูนย์แจ้งเหตุฉุกเฉิน พร้อมทั้งหน่วยงานปลายทางที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง ศูนย์รถยนต์ โรงพยาบาลและรถฉุกเฉิน (Ambulance) คันที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อนำส่งไปยังโรงพยาบาลที่เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อมรับตัวผู้ป่วยสำหรับรับเหตุฉุกเฉินนั้นได้อย่างดีที่สุด

สำหรับ E-Road Safety Episode II ผู้เขียนขอเล่าเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ที่ไปที่ไหนจังหวัดใดก็มีแต่การพูดถึง “Smart City” ก็แล้วกันนะครับ

Security

ในกลุ่มประเทศยุโรปให้ความสำคัญกับเรื่องการลดอันตรายการเสียชีวิตอย่างฉับพลันเป็นอย่างมาก จึงได้มีความร่วมมือจัดทำ “โครงการ Smart Ambulance: European Procurers Platform (SAEPP)” ขึ้นมา ให้บริการในภาคพื้นยุโรปหรือ Euro-Zone นอกจากกำหนดมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร ผ่าน Single No.112 แล้ว ยังได้มีการกำหนดมาตรฐานในส่วนอื่นๆ ที่จะต้องมีระบบงานที่เชื่อมโยงกัน นั่นก็คือ การออกแบบรถฉุกเฉิน “Smart Ambulance” รวมถึงการจัดวางอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์สำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บเบื้องต้น ไปจนกระทั่งผู้ป่วยวิกฤติ ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากมีความรู้เรื่องดังกล่าวน้อยมากๆ

Security

เรามาว่ากันในส่วนที่สำคัญอีกอย่างนั่นก็คือ การวางบูรณาการระบบควบคุมไฟจราจรกับระบบตรวจจับการเคลื่อนที่ของรถฉุกเฉิน (Integrated Ambulance IOT Tracking & Traff ic Control System) ในสภาวะการจราจรที่ติดขัด หรือบางครั้งอาจจะถึงกับไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้เลย (Dead locked) ระบบนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับรถที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินผ่านสัญญาณไฟจราจรบริเวณนั้นไปก่อน นั่นหมายถึงนอกจากมีระบบสื่อสารเพื่อติดต่อกับศูนย์แจ้งเหตุฉุกเฉิน ยังมีระบบติดตามตัวรถที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ GPS Tracking เท่านั้น ยังสามารถรับ-ส่งข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลผู้ป่วย ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ด้วย Biometric ID (กรณีที่ไม่สามารถหาหลักฐานการแสดงตน เช่น บัตรประชาชน พาสปอร์ต ของผู้บาดเจ็บได้) นำส่งให้แพทย์ที่โรงพยาบาลวิเคราะห์ เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ / สถานที่ / ห้องผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยไปถึงยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมและอยู่ใกล้ที่สุด หรืออาจจะต้องใช้ Video Conference เพื่อแนะนำการรักษาหรือแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยอย่างปัจจุบันทันด่วน (ผ่านระบบสื่อสารไม่ว่าจะเป็น 4G / 5G / LoRaWAN / NB-IOT / Sigfox หรืออื่นๆ ในอนาคต) และอีกทั้งยังสามารถปลดล็อกสัญญาณไฟจราจรให้เป็นไฟเขียวชั่วขณะเพื่อให้รถฉุกเฉินผ่านไปได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

Security

Security

ในยุโรปมี Smart Ambulance ในอีกหลายประเทศที่มีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัดบนท้องถนนโดยเฉพาะในเมืองหรือมหานครขนาดใหญ่รวมทั้งประเทศไทยของเราก็มี Motorlance ออกมาให้บริการเพื่อจะได้ไปถึงผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ตัวเจ้าหน้าที่ผู้ขับขี่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง ดังนั้น ถ้าพวกเราพบเห็น ไม่ว่าจะเป็น Ambulance หรือ Motorlance ผู้เขียนก็อยากวิงวอนให้ช่วยอนุเคราะห์ให้ทางกับรถฉุกเฉินเหล่านี้ด้วยนะครับ เพราะเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้มีผู้รอดชีวิตเพิ่มอีกหนึ่งรายก็ได้นะครับ

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/ประสาทสัมผัส
https://pngtree.com/freepng/vector-facial-features_3053647.html
https://bigdata.duke.edu/projects/smartphones-and-sixth-vital-sign
http://www.smartambulanceproject.eu/
http://www.advantech.ae/logistics/case%20studies/
ee588f30-35d5-4bde-8fd7-805abafadc40/