มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้คิดค้นและพัฒนากล้องอัจริยะ

Share

Loading

SMART CCTVสืบเนื่องจากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้ระบบโครงข่ายและระบบกล้องวงจรปิดทั่วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับความเสียหาย จึงมีโครงการฟื้นฟูความเสียหายดังกล่าว อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา เล็งเห็นว่าเนื่องจากมหาวิทยาลัยมีขนาดใหญ่และมีหลายหน่วยงาน ซึ่งปัจจุบันต่างฝ่ายต่างแยกกันดูแลความปลอดภัยของหน่วยงานของตัวเอง โดยใช้ระบบกล้องวงจรปิดที่มีความหลากหลาย ขึ้นกับหน่วยงานไหน จะเลือกอุปกรณ์ยี่ห้อใด ทำให้ต้องใช้ผู้ดูแลที่ถูกฝึกอบรมในการใช้งานต่างกัน การดูแลรักษาระบบต่างกัน อีกทั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่จำเป็นต้องขอข้อมูลจากหลากหลายหน่วยงานทำให้เกิดความล่าช้าในการติดตามดูข้อมูลย้อนหลัง

SMART CCTV11

จากคุณสมบัติของกล้องที่ออกแบบเอง มีส่วนประกอบสำคัญที่แตกต่างจากกล้องวงจรปิดทั่วไป คือ
1. ตัวกล้องวงจรปิดมีระบบ AI ในการจำแนกและจัดการข้อมูลของภาพที่กล้องมองเห็นช่วยให้จัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ลดการใช้ Bandwidth ของ Network
2. ระบบ MQTT ใช้ในการควบคุมและรายงานสถานะ มาตรฐานอุปกรณ์ IoT ทั่วโลก
3. ตัวกล้องสามารถปรับให้เป็น Wi-Fi Router ได้ ลดการลงทุนซ้ำซ้อนและเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการระบบ

SMART CCTV12

ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ…

จากจุดเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า กล้องวงจรปิดสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการได้อย่างหลากหลาย เช่น งานด้านความปลอดภัย งานด้านความมั่นคง งานด้านจราจร ฯลฯ 2 ปีต่อมาหลังจากทางทีมวิจัยและพัฒนาได้พัฒนาต้นแบบ ทางทีมงานได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐ ภายใต้โครงการ Thailand 4.0 ภายใต้เงื่อนไขการผลักดันให้ภาครัฐใช้งาน ทางทีมงานได้พัฒนา Software และ Hardware ให้ตอบโจทย์หน่วยงานทางภาครัฐเพิ่มเติม เช่น การตรวจจับใบหน้า การตรวจจับทะเบียนรถ การตรวจจับลักษณะของยานพาหนะ การตรวจนับปริมาณการจราจร ตรวจจับความเร็ว ตรวจจับการทำผิดกฎจราจร ฯลฯ จากความสามารถของระบบดังกล่าว ทำให้ทางทีมพัฒนาได้มีโอกาสนำเสนอผลงานต่อกระทรวงและสำนักงานต่าง ๆ จนเกิดความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

SMART CCTV13

เทคโนโลยีที่ช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ด้วยความสามารถของระบบในการตรวจจับและวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องวงจรปิด สามารถทำให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านความมั่นคงและปลอดภัย

หากแบ่งตามสายงานของตำรวจ ระบบกล้องวงจรปิดจะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อใช้ ในการ ป้องกันปราบปราม สืบสวน จราจร เช่น

หน่วยงานป้องกันปราบปราม ใช้ระบบเพื่อตรวจตราความปลอดภัยและเฝ้าระวังเหตุร้าย โดยการตรวจจับพฤติกรรม หรือ ตั้งเงื่อนไขระบบเพื่อแจ้งเตือนการกระทำผิด เช่น มีบุคคลบุกรุกในพื้นที่ห้ามเข้า

หน่วยงานสืบสวน ใช้ระบบเพื่อสืบหาข้อมูลเหตุการณ์ เช่น ค้นหาลักษณะรถยนต์ที่ต้องสงสัยในพื้นที่ และ ตรวจหาเส้นทางการวิ่งของรถยนต์ ตรวจใบหน้าเพื่อแจ้งเตือนความปลอดภัย

หน่วยงานจราจร ใช้ระบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและจัดการการจราจร เช่น ใช้กล้องตรวจนับเพื่อดูอัตราการไหลของช่องทางจราจร ตรวจจับการทำผิดกฎจราจร

แผนการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต ระบบจะพัฒนาการเชื่อมต่อกับระบบการจัดการความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อบูรณาการข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อผลักดันเทคโนโลยีความปลอดภัยให้เดินหน้าไปพร้อมกันทั้งระนาบ

 

Click อ่านต่อ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพิ่มอัจฉริยภาพให้กล้องวงจรปิด