Thailand 4.0 (ประเทศไทย 4.0)

Share

Loading

Taechid-1

สวัสดีครับ เพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems และขออนุญาตรายงานตัวครับ จั่วหัวเรือง Thailand 4.0 หลายท่านอาจจะเริ่มรู้สึกชินกับคำนี้แล้ว (บางท่านอาจจะเบื่อเลยก็ได้) แต่อย่างไรก็ดี ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าเป็นเจตนาดีของรัฐบาลเพื่อต้องการรกระตุ้นเตือนให้คนไทยร่วมกันก้าวพ้นความเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (ประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 3,976 – 12,275 เหรียญสหรัฐฯ ประมาณ 118,662 – 366,337 บาท)  ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง (สูงกว่า 12,275 เหรียญสหรัฐฯ)

ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมนาและการจัดงานแสดงสินค้าเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือเรื่องความตื่นตัวและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีฉัจริยะ เพื่อรองรับเมืองในอนาคต ที่โดยรวมเรียกกันว่า Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ (แต่ละเมืองก็มีรายละเอียดในการพัฒนาไปสู่ SMART CITY ที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยและความต้องการที่แตกต่างกัน) ทั้งนี้ การพัฒนาคนในชาติก็เป็นหนึ่งในอีกปัจจัยหลัก นั่นก็คือ SMART CITY

รัฐบาลไทยเองก็มองว่า SMART CITY หรือ เมืองอัจฉริยะ ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการหรือตัวช่วยเพื่อให้ประเทศไทยเข้าไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ซึ่งเราเองก็เริ่มเห็นเค้าลางเป็นนามธรรมบ้างแล้ว โดยเฉพาะการร่วมขับเคลื่อนระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน หรือกลุ่มความร่วมมือในพื้นที่หลายแห่ง ได้จัดตั้งเป็นบริษัทพัฒนาเมืองขึ้นมา เท่าที่ทราบ ณ เวลานี้ 7 พื้นที่ หรือ 7 จังหวัดด้วยกัน ตามภาพ

Taechid-2

ทั้ง 7 บริษัท ต่างได้นิยาม และกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเมืองของตัวเองไปสู่ SMART CITY หรือ เมืองฉัจฉริยะ ในหลากหลายมิติ หลายบริษัทประกาศแผนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน (Transportation System),การพัฒนาระบบเครือข่ายหลัก (Backbone Network Systems), การบริหารจัดการข้อมูล(ดิจิตอล) ขนาดมหาศาล (Big Data Analysis Management), Iot (Internet of Things), การจัดการพลังงานหรือของเสีย, การจัดการด้านระบบสาธารณะสุข การจัดการด้านความปลอดภัยสาธารณะ และอื่น ๆ

นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทย 4.0 ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อร่วมผลักดันโครงการ SMART CITY หรือ เมืองอัจฉริยะอีกทางหนึ่ง

ดันนั้น ผู้เขียนมีความเชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องยากที่เทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคตสามารถจะเติมเต็มโครงการ SMART CITY หรือ เมืองอัจฉริยะได้ แต่ความยากในเรื่องประสานงานปรับเปลี่ยน แก้ไข ระบบ ข้อบังคับ ในการบริหารงานของแต่ละท้องถิ่น น่าจะเป็นอุปสรรคที่ต้องช่วยกันหาทางออกให้ง่ายและดีที่สุด

Taechid-3

ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง การสนับสนุนจากภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับในเชิงของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโครงการ SMART CITY หรือ เมืองฉัจฉริยะ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ประชุม กสทช. มีมติเห็นชอบให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 920-925 MHz  เพื่อรองรับเทคโนโลยี Internet of Thing (Iot) และเห็นชอบให้นำ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ 920-925 MHz จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

1.(ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุฐาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 920-925 MHz

2.(ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับเครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequencyldentication: PRID

3.(ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ใช่ประเภท Radio

Frequency Identication: RFID ซึ่งใช้คลื่นความถี่ย่าน 920-925 MHz และแนวทางการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อรองรับการใช้งานในลักษณะ Internet of Things(Iot) ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ

ครับถึงแม้ว่าจะยังคงเป็น (ร่าง) แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 ให้บังเกิดผล เพื่อก้าวข้ามไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา