อัพเกรด ระบบควบคุมสิทธิ์เข้าออก(Access Control)ด้วย RFID

Share

Loading

ด้วยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การพัฒนาเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เน้นการออกแบบก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแนวดิ่งมากกว่าแนวราบ ส่งผลให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมืองต้องอาศัยบนอาคารสูงเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพักอาศัยในคอนโด หรือทำงานบนอาคารสำนักงานเช่าสูงหลายชั้น ส่งผลให้การควบคุมสิทธิ์การเข้าออกอาคารสถานที่ กลายเป็นฟังก์ชั่นที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการดูแลรักษาความปลอดภัยของอาคารสถานที่ไปเสียแล้ว

ระบบ Access Control ที่นิยมใช้โดยทั่วไป เป็นระบบคีย์การ์ด เนื่องจากราคาไม่แพง และดูแลบริหารจัดการง่าย ระบบไม่มีความซับซ้อน แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ได้ แต่เมื่อเทคโนโลยี RFID ได้เข้ามา ทำให้ระบบคีย์การ์ดเดิมได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ใช้งานได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญยังสามารถบันทึกรหัส ID ของการ์ดแต่ละใบด้วย พร้อมกับบันทึกวันและเวลาลงใน Micro SD Card เพื่อสามารถทำเป็น Record ไว้ตรวจสอบภายหลังได้อีกด้วย

หลักการทำงานง่ายๆ ของ RFID คือ เมื่อนำบัตรไปทาบหน้าเครื่องอ่านบัตร (Card Reader) เครื่องอ่านบัตรจะส่งสัญญาณวิทยุ ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ ออกมาจากขดลวด ที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ โดยมากบัตร RFID ที่ใช้สำหรับงาน Access Control จะใช้งานกันอยู่ใน 2 ย่านความถี่ได้แก่ 125 kHz (Proximity Card) และ 13.75 mHz (Mifare Card) ภายในจะมีขดลวดเล็กพันเป็นวงและเชื่องต่อเข้ากับ Chip ซึ่งถูกฝังอยู่ภายในตัวบัตร (RFID Card) เมื่อบัตรถูกนำไปใกล้รัศมีที่สามารถรับสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ จากเครื่องอ่านบัตร บัตรจะได้รับกระแสไฟฟ้านำเหนี่ยว ทำให้เกิดเป็นพลังงาน และส่งกลับข้อมูลออกไปยังเครื่องอ่านบัตร เครื่องอ่านบัตรก็จะทำการแปลรหัสที่ได้ออกมาและตรวจสอบ ว่ารหัสนี้มีสิทธิ์ในการผ่านเข้าออกหรือไม่ ถ้ามีเครื่องอ่านบัตรก็จะทำการสั่งให้ชุด Relay ทำงานตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงชุดกลอนล็อค ทำให้ประตูถูกปลดล็อค

access-control-banner2

ข้อดีในการใช้ RFID กับประตูอัตโนมัติ

RFID สามารถทำงานได้อย่างดี มีข้อผิดพลาดต่ำช่วยในเรื่องความปลอดภัยจากผู้ไม่พึงประสงค์

กำหนดสิทธิ์การเข้าออก และยังสามารถตรวจสอบเวลาเข้าออกได้สามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ ได้

รองรับการทำงานได้มากกว่า 1 ระบบ ทำให้การทำงานของ RFID สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น

 

ประเภทของ RFID สำหรับการใช้ในงาน Access control

สามารถแบ่งตามระบบการใช้งานได้หลักๆ 2 รูปแบบดังนี้

  1. แบบ Online System เหมาะสำหรับการตรวจสอบสิทธิ์ หรือการเก็บข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นซับซ้อนสูง เช่น ระบบ RFID สำหรับลานจอดรถคิดเงิน ระบบการเข้าออกสวนสนุกมีผู้คนเกี่ยวข้องเข้าออกเป็นจำนวนมาก
  2. แบบ Offline System เหมาะสำหรับใช้กับสถานที่ที่มีจุดเข้าออกแต่ละจุดไกลกัน มีจำนวนจุดมาก ที่ไม่เหมาะต่อการเดินสาย หรือไม่ต้องการตรวจสอบสิทธิ์แบบซับซ้อน เช่น ประตูห้องพัก การใช้งานระบบประตูของ โรงแรม Hotel Lock กับบัตรมาตรฐาน T5557

 

การใช้ RFID กับประตูอัตโนมัติ

โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบทั่วไป และแบบโรงแรม โดยจะแตกต่างกันในเรื่องของอุปกรณ์ ดังนี้

–           การใช้ RFID กับประตูอัตโนมัติทั่วไป เช่น การใช้งานในบริษัท หอพัก อาคารพาณิชย์ สำนักงาน โรงงานต่างๆ จะเป็นการใช้อุปกรณ์เพียงเครื่องเดียวในการควบคุม การเปิด ปิด การล็อคจากกลอนไฟฟ้า ทำให้การใช้งาน เป็นแบบ 1 บัตรพนักงาน เพื่อลงเวลา ในการเข้าออก โดยมุ่งเน้นการใช้งานในเรื่องของการตรวจสอบการเข้าออกมากกว่า

–           การใช้ RFID กับประตูอัตโนมัติ แบบโรงแรม เป็นการใช้สำหรับโรงแรม จะมีการใช้อุปกรณ์ Access Control แบบ Hotel Lock ที่เป็นการลงทะเบียนบัตรกับห้องนั้นๆ เพียงเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานข้ามห้องได้ เน้นในเรื่องความปลอดภัยของห้องพัก ราคาจะสูงกว่า ควบคุมกลอนประตูโดยตรง โดยเป็นตัวเครื่อง Access Control รูปแบบลูกบิดประตู เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

นอกจากนี้ การใช้งานระบบบัตร RFID กับ Access Control นั้น ในปัจจุบัน นิยมใช้กันในโรงงาน โดยติดตั้งกับระบบอื่นๆ ไม่เพียงแต่ในประตูอัตโนมัติธรรมดาเท่านั้น ยังรองรับประตูโรงงาน แบบผ้าใบ หรือไวนิล ที่ใช้งานกับรถโฟร์คลิฟต์ โดยการเปลี่ยนชนิดบัตรที่ใช้ทาบ หรือสามารถใช้เป็นหัวอ่านรุ่นที่มีระยะไกลมากขึ้น ที่เป็นของระบบลานจอดรถได้อีกด้วย ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้ระบบรางประตูอัตโนมัติร่วมกับหัวอ่าน RFID และมีการติดบัตร RFID ไว้กับรถ เพื่อให้อ่านได้ในระยะไกล และสั่งให้เปิดประตูโรงงาน ที่เป็นม่านกันแมลง PVC เพื่อความสะดวกในการเข้าออกของรถขนของ หรือรถโฟล์คลิฟต์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยลดเวลาในการเข้าออก พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบความถี่ในการใช้งานได้อีกด้วย

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
www.rfid-asia.com
www.ictsmart.com
www.fedatech.com