เหตุใด “การขนส่งทางถนน” จึงเป็นโลจิสติกส์ที่ร้อนแรง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ปัจจุบันการขนส่งทางถนนคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของโลจิสติกส์ทั้งหมดในอาเซียน และหลังการค้าระหว่างภูมิภาคนี้ฟื้นตัวอีกครั้ง จะส่งผลให้เกิดความต้องการด้านบริการโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการขนส่งทางถนนจะเติบโตในแถบนี้จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น จะต้องผ่านการดำเนินตามมาตรการใหม่ด้านการค้าระหว่างภูมิภาค การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความนิยมในตลาดอีคอมเมิร์ซ และความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโซลูชั่นทางโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้

รายงาน “การขนส่งสินค้าในเอเชีย: เส้นทางสู่การเติบโต” โดย ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง (DHL Global Forwarding) บริษัทด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในเครือของกลุ่มบริษัท ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล กรุ๊ป (DPDHL Group) ระบุว่า บริษัทฯ เล็งเห็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนของการขนส่งทางถนนข้ามพรมแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดการณ์ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะเติบโต 5.5% ภายในปี 2564 จากแรงหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการกระจายตัวของซัพพลายเชนของบริษัทฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่ รายงานของหน่วยงานวิจัย Transport Intelligence (Ti) ระบุว่า ปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจะส่งผลให้เกิดการเติบโตและความต้องการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางถนนที่สอดคล้องกัน โดยคาดว่าความต้องการโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้น 7.6% จากปี 2563-2568 และความต้องการทั่วทั้งภูมิภาคจะขยายตัว 8.2% ในปีนี้

Kelvin Leung ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ความร่วมมือทางการค้าภายในภูมิภาคเอเชียจะทวีความแน่นแฟ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังจากมีการผ่อนคลายของข้อจำกัดทางการค้าต่างๆ ลง และมีการดำเนินตามมาตรการใหม่สำหรับการค้าระหว่างภูมิภาค อาทิ ระบบศุลการผ่านแดนอาเซียน (ASEAN Customs Transit System: ACTS) ที่เริ่มขึ้นในปี 2563 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนอาเซียนได้อย่างราบรื่น ผ่านมาตรฐานและการรับประกันที่ครอบคลุมทั้งอากรขาเข้าขาออกและภาษี ตลอดการดำเนินงาน และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งเป็นผลดีต่ออาเซียนโดยรวม ที่พร้อมจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปได้”

การเดิบโตทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ ส่งผลให้การค้าภายในเอเชียจะเพิ่มขึ้นในทศวรรษหน้า โดยปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ อีคอมเมิร์ซรูปแบบ B2B ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 70% และมีมูลค่ามหาศาลถึง 20.9 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ภายในปี 2570 การได้รับประโยชน์จากการผ่อนคลายข้อจำกัดทางการค้า อันเนื่องมาจากข้อตกลงและข้อบังคับทางการค้าใหม่ๆ ที่จะเข้ามาอำนวยความสะดวกในการขยายธุรกิจ ตลอดจนการเปิดโอกาสและเส้นทางการค้าใหม่ๆ

ข้อมูลจาก Modor Intelligence ระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 125 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการซื้อสินค้าออนไลน์ในปี 2561 ซึ่งคาดว่ายอดรวมดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าเป็น 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น ความต้องการจัดส่งแบบ Last-mile logistics (การขนส่งจากร้านค้า ไปยังลูกค้าถึงหน้าบ้าน) แบบ door-to-door ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

สำหรับในประเทศไทยการขนส่งทางถนนเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากการซื้อขายผ่านทางอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นและการค้าชายแดนอย่างต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้าน

รายงานนี้ยังเผยให้เห็นถึงสถิติที่สำคัญของความยาวถนนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ในช่วงปี 2549-2561 อยู่ที่ 61,825 กิโลเมตรต่อปี โดยประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงสุดมากกว่า 19,000 กิโลเมตรต่อปี ตามด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซียที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 12,000 กิโลเมตรต่อปี

รวมความยาวถนนทั้งหมดในประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่า 1.9 ล้านกิโลเมตร ในปี 2561 โดยอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และเมียนมาร์ มีความยาวถนนรวมสูงสุดในภูมิภาคนี้ที่ 539,415 กิโลเมตร 456,487 กิโลเมตร 370,664 กิโลเมตร 237,022 กิโลเมตร และ 162,766 กิโลเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ของอาเซียน มีความยาวถนนน้อยกว่า 60,000 กิโลเมตร

ทำไมต้องเป็นการขนส่งทางถนน?

“การขนส่งทางถนน” หรือ Road Freight เป็นรากฐานของเครือข่ายโลจิสติกส์จากยุโรปสู่อเมริกาใต้ สหรัฐอเมริกาสู่แอฟริกา และสำหรับเอเชียก็ไม่แตกต่างกัน กอปรกับโซลูชั่นด้านโลจิสติกส์กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเพิ่มบทบาทในการแก้ปัญหาการขนส่งระยะไกลระหว่างประเทศทั่วเอเชียได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“การขนส่งทางถนน” ถือเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นและเป็นดาวรุ่งของโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้ เนื่องจากนำเสนอทางเลือกการขนส่งทางไกลระหว่างประเทศที่คุ้มค่าและยั่งยืน ผ่านการใช้รถบรรทุกข้ามพรมแดนที่สะดวกสบายทั่วเอเชีย และกระบวนการระหว่างที่ราบรื่น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงาน จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการขนส่งทางถนน อีกทั้งการปราศจากอุปสรรคทางการค้าในเอเชีย และการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต จะช่วยกระตุ้นการขนส่งทางถนนในภูมิภาคต่อไป โดยโซลูชันขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Road & Multimodal Solutions) จะสร้างโซลูชันทางโลจิสติกส์ที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกที่คาดการณ์ว่าจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในปี 2564 ส่งผลให้ตลาดการขนส่งสินค้าทางถนนของอาเซียน ภายในปี 2563-2568 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นกว่า 8%

ข้อดีที่ชัดเจนของการขนส่งทางถนน คือ การขนส่งสินค้าถูกกว่าอย่างมีนัยสำคัญและปล่อยมลพิษน้อยกว่าการขนส่งทางอากาศ รวมถึงยังเพิ่มความปลอดภัยและโอกาสในการขายที่เร็วขึ้นกว่าการขนส่งทางทะเล แพลตฟอร์มการขนส่งสินค้าล่าสุด และเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ ช่วยให้มองเห็นผู้ขับขี่ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาการทำหน้าที่ขับรถบรรทุกที่ล้ำสมัยตามติดได้ 24 ชั่วโมงทุกวัน ขณะเดียวกัน การขนส่งทางถนนช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดส่งได้ไกลและซอกซอนไปในชุมชนต่างๆ ได้มากกว่าอากาศหรือทางทะเล โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชีย 12 ประเทศ ได้แก่ ลาว เนปาล มองโกเลีย อัฟกานิสถาน อาร์เมเนีย ภูฏาน อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ที่พึ่งพารถบรรทุกเป็นอย่างมาก ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียที่ห่างไกล ตัวเลือกการจัดส่งสินค้ามีเพียงการขนส่งทางถนนเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 การขนส่งทางถนนเพียงอย่างเดียว หรือโซลูชั่นต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีการขนส่งทางถนนขนาดใหญ่เป็นองค์ประกอบเพิ่มบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น จากการเสนอราคาและขนส่งที่มีเสถียรภาพมากขึ้น รวมถึงการเข้าถึงชายแดนได้ง่ายขึ้น

“การขนส่งทางถนนกำลังทวีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในการแก้ปัญหาการขนส่งระยะไกลระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ของความคุ้มค่าและยั่งยืน ยิ่งในปีที่ผ่านมาในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 อัตราค่าขนส่งทางอากาศและทางทะเลมีการผันผวนอย่างมาก แต่โซลูชันการขนส่งทางถนน หรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้นำเสนอราคาที่ยั่งยืนยิ่งกว่า ควบคู่กับความสามารถในการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และการเข้าถึงชายแดนที่ง่ายยิ่งขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Thomas Tieber ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

“รัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ยังได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานชายแดนที่สอดคล้องกับกฎศุลกากรและเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เมื่อขจัดปัญหาคอขวดเหล่านี้ออกไป โซลูชันบนท้องถนนหลากหลายรูปแบบที่ช่วยให้การเคลื่อนย้ายรถบรรทุกข้ามพรมแดนอย่างอิสระ จะทำให้การขนส่งทางถนนกลายเป็นการขนส่งสินค้าที่ต้องการเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางอากาศหรือทางทะเล”

ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมซึ่งแสดงให้เห็นว่าเหตุใดการขนส่งทางถนนถึงน่าจับตามากขึ้นเรื่อยๆในภูมิภาคนี้ ก็คือ การขนส่งทางถนนที่ต่อเนื่องสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ (Air-Road Shipment) จากจาการ์ตาไปยังกรุงเทพฯ ผ่านสิงคโปร์ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงครึ่งหนึ่ง และประหยัดต้นทุนได้ 35% เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับเที่ยวบินตรงผ่านการขนส่งทางอากาศเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การขนส่งสินค้าทางถนนจากสิงคโปร์ไปยังจีน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 83% เมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ “การขนส่งทางถนน” กำลังขับเคลื่อนสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความยั่งยืนให้มากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางของดีเอชแอลที่กำลังดำเนินการให้การใช้ Green Solution ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่นอกจากประหยัดแล้วยังเป็นมิตรกับโลกมากขึ้น อย่างการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 80,000 คัน ในการขนส่งสินค้าทั่วโลก ภายในปี 2573 และปลูกต้นไม้ร่วมกับพันธมิตรจำนวน 1 ล้านต้น รวมถึงตั้งเป้าปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ที่ไม่ใช่แค่รถขนส่งเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมคลังสินค้าที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ด้วย”

ด้วยเหตุนี้ ดีเอชแอลจึงคาดว่าส่วนแบ่งการตลาดของการขนส่งสินค้าทางถนนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเติบโตอย่างมาก จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของโลจิสติกส์ทั้งหมด

สถานการณ์การขนส่งทางถนน โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย และโควิด-19

รายงานเรื่อง Thailand’s Infrastructure Market Update and Outlook, Capital Projects & Infrastructure โดย PwC Thailand ระบุว่า ทั้งนี้ การขนส่งทางถนนที่ต้องใช้ระบบโควิด-19 จะนำความไม่แน่นอนมาสู่ตลาด

โควิด-19 มีผลกระทบโดยตรงต่อโครงการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย ทำให้ระยะเวลาโครงการล่าช้าและการจัดการห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก โควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อกระบวนการอนุมัติงบประมาณของรัฐบาลไทยและการจัดสรรการลงทุนระยะยาว

เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดงบประมาณอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขผลกระทบระยะสั้นจากโควิด-19 และการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง การใช้จ่ายด้านทุนอาจได้รับผลกระทบในระยะสั้น

รัฐบาลอาจทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุน โดยมุ่งเน้นไปยังโครงการที่มีศักยภาพทางการเงินและเศรษฐกิจ และตอบสนองความต้องการระยะยาวของประเทศ

สำหรับโครงการอื่นๆ ที่มีระดับความต้องการน้อยกว่า รัฐบาลอาจพิจารณาลดขอบเขตหรือปรับระยะโครงการดังกล่าวใหม่ รัฐบาลอาจรวมข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลายทั่วทั้งเครือข่ายการขนส่ง ที่เปลี่ยนแปลงไปจากโควิด-19 และปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อออกแบบโครงการใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว

สำหรับในระยะสั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยกิจกรรมการก่อสร้างและการสร้างงานที่เพิ่มขึ้น การลงทุนอย่างต่อเนื่องและการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการลงทุนที่ผ่านมาในการขยายเครือข่ายการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และการขนส่งในเมือง จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งแก่ประเทศ

นอกจากเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานหลักแล้ว การลงทุนเสริมในระบบฟีดเดอร์และการพัฒนาเมือง ร่วมกับการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างหลักประกันว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนล่วงหน้านี้

ส่วนในระยะยาว วิธีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะมีบทบาทในการฟื้นตัวหลังโควิด-19 ด้วยกระแสดิจิทัลที่ถาโถมและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้เกิดความต้องการด้านดิจิทัลและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ปัจจุบัน ภาครัฐและเอกชนของไทยในประเทศไทย กำลังลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง และชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (Transit Oriented Development; TOD) ยานยนต์ไฟฟ้า เมืองอัจฉริยะ พลังงานหมุนเวียน การค้าพลังงาน และ 5G ขณะที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลมีความโดดเด่นมากขึ้นในการตัดสินใจหรือการประเมินโครงการใดๆ เพื่อนำไปสู่ข้อกำหนดด้านเงินทุนสำหรับนักลงทุนและผู้ให้กู้

อย่างไรก็ตาม PwC Thailand เห็นว่ายังมีโอกาสอีกมากในการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมในประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศหลังโควิด-19 คลี่คลาย

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/08/18/road-freight-rising-in-asean/