นวัตกรรมร่วมสู้ภัยโควิดจาก ม.บูรพา “weSAFE@Home by BUU” แพลตฟอร์มบริหาร Home & Community Isolation

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

เมื่อมาตรการการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการกักตัวในชุมชนหรือศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) เป็นมาตรการที่ทางกระทรวงสาธารณสุขนำมาใช้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและในโรงพยาบาลสนาม เพื่อแบ่งแยกระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยแต่ละระดับออกจากกันและเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของบุคลากรด่านหน้า

ทางสถาบันศึกษาในพื้นที่ EEC อย่าง “มหาวิทยาลัยบูรพา” จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม weSAFE@Home by BUU ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันการบริหารระบบ Home Isolation และ Communicty Isolation สำหรับการดูแลผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อโควิด แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ให้สามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านหรือในสถานที่กักตัวในชุมชนได้

มาตรการนี้ของกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการน้อย ซึ่งถูกจัดให้เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สามารถเข้าระบบการรักษาเร็ว มีการแจกเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด พร้อมกันนี้ก็มีการจัดส่งอาหารให้รับประทานครบ 3 มื้อโดยแพทย์และพยาบาลจะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ที่เป็นการนําเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบเรียลไทม์ วันละ 2 ครั้ง และหากมีอาการแย่ลงจะนำส่งต่อโรงพยาบาลเป็นลำดับถัดไป

นอกจากนี้ Home Isolation และ Community Isolation เป็นการบริหารจัดการเตียงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการที่ผู้ป่วยต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 14 วัน ก็จะนำผู้ป่วยที่รักษา 7 – 10 วันแล้วอาการดีขึ้น ออกไปแยกกักตัวที่บ้าน จะช่วยให้มีเตียงเพิ่มอีกประมาณ 40 – 50% เลยทีเดียว เพื่อรับผู้ป่วยใหม่ที่มีความจำเป็นมากกว่า

ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation)

ข้อมูลแสดงประวัติประจำตัว ประวัติสุขภาพ และค่าสุขภาพต่างๆ

ข้อมูลแสดงประวัติประจำตัว ประวัติสุขภาพ และค่าสุขภาพต่างๆ

ตัวอย่างการแสดงผลบัญชีรายชื่อผู้รับบริการ Home Isolation และ Community Isolation

การเฝ้าระวังแจ้งเตือนค่าสุขภาพผิดปกติ

แบบประเมินอาการประจำวันสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการรักษาแบบ Home Isolation

ด้านเกณฑ์พิจารณาผู้ป่วยโควิด-19 ที่จะสามารถทำ Home Isolation ได้จะต้องเป็นผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียว หรือกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง และผื่นขึ้น มีอายุไม่เกิน 60 ปี พักอาศัยอยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคร่วม เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้  และจะต้องให้ความยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง โดยสถานพยาบาลจะประเมินผู้ติดเชื้อตามดุลยพินิจของแพทย์ การลงทะเบียน แนะนำการปฏิบัติตัว ติดตามประเมินอาการ และพร้อมรับส่งผู้ป่วยมารักษาในสถานพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น

ประโยชน์ที่่ชัดเจนของระบบ weSAFE@Home by BUU คือ จะช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถดูแลและติดตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในกรณีที่อาการแย่ลงได้อย่างทันท่วงนี้ ผ่านการบันทึกข้อมูลต่างๆ และการแจ้งเตือนในระบบ

โดยปัจจุบันระบบดังกล่าวได้ถูกใช้งานเป็นหลักสำหรับการดูแลผู้ป่วย Home Isolation ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ได้เพิ่มบริการดูแลผู้ป่วยด้วยการบูรณาการกับระบบการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรด้าานวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงเพิ่มกิจกรรมเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย และการจัดนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าด้วย

ด้านผลตอบรับ พบว่าระบบนี้ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานได้ง่าย และสามารถขยายผลไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆ ได้ในทันที

จุดเด่นของระบบ weSAFE@Home by BUU และ BUU HI/CI Model

1 สื่อสารกับผู้ป่วยผ่านระบบไลน์ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องลงแอปพลิเคชั่นใดๆ เพิ่มเติม

2 Comprehensive Dashboard ใช้งานง่าย ออกแบบโดยแพทย์ และผ่านกระบวนการวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

3 มีการใช้งานจริงแล้วในระบบ Home Isolation และ Community Isolation ของหลายโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ฯลฯ และมีการนำฟีดแบ็กที่ได้รับ มาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานและมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

4 สามารถส่งออก (export) ข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล (Hospital Information System ; HIS) ได้สะดวก

5 การดูแลคนไข้ Home Isolation และ Community Isolation จะใช้บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ อาจารย์และนิสิตนักศึกษาซึ่งไม่สามารถขึ้นฝึกในวอร์ดปกติได้เป็นผู้ดูแลคนไข้ร่วมกับโรงพยาบาลที่เป็นเจ้าภาพ

6 มีทีมสหวิชาชีพช่วยจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้แก่คนไข้ ทำให้แม้จะต้องอยู่คนเดียวก็ไม่เหงา ด้วยกิจกรรมจาก weSAFE@Home โดยผู้ติดเชื้อโควิด ที่มีผลการตรวจประเมินจากแพทย์แล้วว่า อยู่ในกลุ่มสีเขียว จำเป็นต้องหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ เพื่อลดการแพร่เชื้อ weSAFE@Home Virtual Clinic มีกิจกรรมให้คุณเข้าร่วมมากมาย ด้วยการสร้างกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน หรือการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ร่างกายสามารถนำภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไปต่อสู้กับเชื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการดูแลสุขภาพจิต และการฟื้นฟูร่างกายหลังออกจากโรงพยาบาล

7 มีระบบ Root Domain/Sub-Domain สามารถรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลที่เป็นเจ้าภาพ Home Isolation และ Community Isolation ต่างๆ ไปแสดงผลที่หน่วยประสานงานกลาง (เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) ได้ จัดกลุ่มคนไข้ แยกวอร์ดเสมือนได้ และสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบรายงานผลส่วนกลางได้

8 ระบบ weSAFE@Home เป็นระบบย่อยของแพลตฟอร์ม “กิน อยู่ ดี” ซึ่งเป็นระบบดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Care) สำหรับเมืองหรือเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทำให้สามารถต่อยอดไปสู่ระบบ Smart Living ได้โดยง่าย

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/07/27/home-community-isolation-platform-bu/