โดรน หุ่นยนต์ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์ม” รับมือวิกฤติโลก

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

โควิด-19 เปลี่ยนทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน และยังทำให้โลกการเกษตรต้องคิดเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในแบบที่เรียกกันว่า สมาร์ทฟาร์ม หรือเกษตรอัจฉริยะ โดยตอนนี้มีโดรนและหุ่นยนต์ ที่มาแรงและเป็นที่นิยมทั่วโลก ไม่เพียงเพื่อสู่วิกฤติโรคระบาด แต่ยังช่วยทุ่นแรงและเพิ่มปริมาณอาหารรองรับคนทั้งโลกในอนาคต

อย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับหนุ่มคนหนึ่งตกงานเพราะโควิด-19 พ่นพิษ โรงงานปิดเลิกจ้างพนักงาน ทางเลือกที่เหลือคือ ออกจากกรุงเทพฯ แล้วกลับบ้านเกิด จนมีโอกาสสังเกตเห็นพื้นที่เกษตรในชุมชนที่ยังทำแบบเดิม โดยอาศัยแรงคนเป็นหลัก จึงอาศัยความรู้ที่มี คิดสร้างอาชีพใหม่ให้กับตัวเอง ด้วยการรับจ้างพ่นยาฆ่าแมลง วัชพืชให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านของตัวเอง

แต่การรับจ้างพ่นยาให้นั้น ไม่ใช่แบบเดิม ที่บริการเดิน แบกถังน้ำยา ไปในพื้นที่นับสิบไร่หรือร้อยไร่ตลอดทั้งวัน แต่คือการใช้โดรน ขนน้ำยาขึ้นพ่นทั่วพื้นที่ โดยใช้เวลาไม่นานก็สามารถเก็บงานได้หมดครบพื้นที่ และที่สำคัญกว่านั้นคือความแม่นยำและทั่วถึง

กรณีนี้เป็นเพียงแค่สิ่งประดิษฐ์พื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในประเภทลูกค้าที่มาซื้อโดรนเพื่อสร้างอาชีพใหม่ในยุคโควิด-19 ที่ “แม็ค กฤตธัช สาทรานนท์” เจ้าของบริษัท โนวี่ (2018)  ยืนยันว่า ตอนนี้มีผลิตภัณฑ์หลักที่ขายดีมากในปัจจุบันคือ “โดรนเพื่อการเกษตร” ที่จำหน่ายให้คนทั่วไป นอกเหนือจากก่อนหน้านี้ธุรกิจการเกษตรรายใหญ่นิยมใช้อยู่แล้ว โดยส่วนที่แตกต่างกันคือ ธุรกิจขนาดใหญ่จะเพิ่มเติมเทคโนโลยีล้ำสมัยมากขึ้น ด้วยการซื้อซอฟต์แวร์เพื่อช่วยประมวลผล ช่วยวิเคราะห์ภาพที่ถ่ายจากโดรน เพื่อนำมาพัฒนาแปลงเกษตรให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงรายได้เพิ่ม และต้นทุนไม่สูง

“สำหรับเกษตรกรทั่วไป ตอนนี้คนสนใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่แล้ว ที่ตอนนั้นส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าจะช่วยได้ เพราะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์และทุ่นแรงให้เกษตรกรได้จริง เปรียบเทียบ เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการพ่น กินเวลาไม่กี่นาทีต่อไร่ ไม่ต้องผสมน้ำปริมาณมากกับน้ำยา ขณะเดียวกันเกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี เล่นมือถือ ดูยูทูบกันมากขึ้น ก็เริ่มเห็นถึงประโยชน์นี้”

หลายคนสนใจ แต่อาจยังไม่ลงทุนซื้อโดรนด้วยตัวเอง เพราะราคาค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยกว่า 1 แสนบาท จึงใช้วิธีจ้างคนใช้โดรน มาให้บริการแทน จนถึงตอนนี้สามารถสร้างอาชีพใหม่ในกลุ่มนี้ได้แล้ว

อีกกระแสหนึ่งที่ชัดเจนคือ คนที่กลับท้องถิ่นชุมชนของตัวเอง เริ่มวางแผนสร้างฟาร์มเกษตรของตัวเอง ด้วยความเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ไม่ใช่แค่โดรน แต่ยังมีการคำนวณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ โดยประมวลผลและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ตั้งแต่การสังเกตลักษณะสุขภาพต้นพืช ลักษณะดิน การให้น้ำ ให้ปุ๋ย และการวางแผนเก็บเกี่ยวผลผลิต ผ่านภาพถ่ายที่นำไปประมวลผลกับซอฟต์แวร์ที่กำหนดไว้

คล้ายกับธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ อย่างเช่นโรงงานน้ำตาล ที่มีไร่อ้อยในเครือข่าย ที่ต้องคอยสำรวจจำนวนต้นอ้อย จากปกติใช้คนเดินนับ แต่เมื่อใช้โดรนบินสำรวจ จะช่วยประเมินผลได้แม่นยำมากขึ้น หากโรงงานผลิตพบว่าจำนวนอ้อยไม่เพียงพอ จะทำให้วางแผนได้ทันในการรับซื้อจากพื้นที่อื่นเพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการ เป็นต้น

นี่คือจุดหนึ่งในประเทศไทยกับการใช้โดรนเพื่อการเกษตร สะท้อนความพยายามของการเริ่มต้นไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์ม ตามกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเว็บไซต์ fortunebusinessinsights.com คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ความต้องการโดรนเพื่อการเกษตรทั่วโลกจะเติบโตปีหนึ่งประมาณ 18.14% คิดเป็นมูลค่า 3,697.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1 แสนล้านบาทในปี 2027 และอ้างอิงถึงข้อมูลของ Dronemagazine ว่าความนิยมของโดรนเพื่อการเกษตรนี้ ยังทำให้สตาร์ทอัพหลายแห่งที่อยู่ในตลาดนี้ได้รับเงินทุนจากนักลงทุนทั่วโลก โดยเมื่อสองปีที่แล้ว มีเงินกองทุนเอกชนที่ลงทุนกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 36,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันในยุคโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ยิ่งเร่งให้เกิดความต้องการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตร ประเภทหุ่นยนต์ช่วยการเกษตร ที่นิยมนำมาใช้ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวพืชผลในไร่  โดยมีการคาดการณ์ว่าในแต่ละปีธุรกิจเทคโนโลยีหุ่นยนต์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เฉพาะในเอเชีย แปซิฟิก จะมีมูลค่าสูงถึง 3,798 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

คำตอบนี้ไม่เพียงตอบโจทย์การหาแรงงานยาก และการสู้วิกฤติในช่วงโรคระบาดเท่านั้น แต่ยังทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณอาหารรองรับจำนวนประชากรในโลกที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ตามที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) คาดการณ์ว่า ในปี 2050 ประชากรโลกจะมีมากถึง 9,700 ล้านคน จากปัจจุบันมีอยู่กว่า 7,000 ล้านคนได้อีกด้วย

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2148940