แนวทางการติดตั้งกล้องวงจรปิดกับสิทธิผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

เป็นที่ทราบกันดีว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องขยายโรงพยาบาลเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ วัน โดยได้มีโรงพยาบาลสนาม รวมถึงจุดพักคอยถูกจัดตั้งขึ้นเป็นจำนวนมากในหลาย ๆ จังหวัดทั่วประเทศ

สำหรับในโรงพยาบาลสนาม หรือจุดพักคอยขนาดใหญ่หลายแห่ง ก็ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างเข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่ ก่อให้คิดความสะดวก ปลอดภัย ทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งเชื้อไวรัสโควิด 19 ถือเป็นโรคที่แพร่กระจายได้ง่าย ดังนั้น การติดตั้งกล้องจงจรปิดจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถที่จะติดตามอาการและดูแลผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง

แต่ในขณะเดียวกัน หลาย ๆ คนอาจจะยังมีความกังวล หรือความไม่แน่ใจ เกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยและการติดตั้งกล้องวงจรปิดในสถานพยาบาล ว่าเราควรจะมีหลักการอย่างไร

ดังนั้น Security Systems Magazine ได้รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาฝากกัน เพื่ออาจจะเป็นแนวทางในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพัฒนาให้กลายเป็นกรอบมาตรฐานของสังคมในอนาคตต่อไป

1 ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างชัดเจน

ในการติดตั้งกล้องวงจรปิดในสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนามนั้น โรงพยาบาลจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างชัดเจนว่า การติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นฐานของโรงพยาบาลจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ และหลีกเลี่ยงผลกระทบในด้านสิทธิของผู้ป่วย โดยจะต้องพิจารณามาอย่างดีแล้วว่า วัตถุประสงค์ของการติดตั้งกล้องวงจรปิดคืออะไร และไม่มีทางเลือกอื่นแล้วหากไม่ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ

2 รับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ ตัวแทน หรือหน่วยงานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ป่วย

ถ้าเป็นไปได้ก่อนเริ่มดำเนินการ ควรจะมีการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ บุคลากรการแพทย์ ตลอดจนตัวแทน หรือหน่วยงานคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ป่วย และควรมีการนำเสนอผังการติดตั้ง ตำแหน่ง และมุมกล้อง ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิทธิส่วนบุคคลและประโยชน์ต่อส่วนรวม

3 กำหนดสิทธิ์และผู้รับผิดชอบ

กำหนดผู้รับผิดชอบดูแลระบบ ตลอดจนระยะเวลาที่ภาพและเสียงจะมีการบันทึกไว้ โดยจะต้องกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลภาพและเสียงที่บันทึกไว้ รวมถึงต้องวางระเบียบขั้นตอนซึ่งจะกำหนดว่าผู้ใดบ้างจะมีสิทธิ์ขอดูภาพเรียลไทม์ หรือภาพและเสียงที่บันทึกไว้

4 แจ้งให้ทราบว่ามีกล้องวงจรปิด

ในบริเวณที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด จะต้องมีป้ายแจ้งเตือน หรือมีการส่งสัญญาณที่แจ้งให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นทราบว่ากำลังมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพอยู่ รวมถึงในกรณีที่ต้องดึงเทปบันทึกภาพไปใช้ประโยชน์ในบางเหตุการณ์ จะต้องมีการเบลอภาพของผู้ป่วยคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลนั้นเอง

และทั้งหมดนี้ก็คือ แนวทางการติดตั้งกล้องวงจรปิดกับสิทธิผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม ซึ่งในกรณีฉุกเฉิน เราอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางได้ในทุกข้อ แต่หลักการดังกล่าวก็ถือเป็นแนวทางกว้าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา และอาจจะต้องปรับปรุงตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับหรือกฎหมายที่อาจจะมีในอนาคต