EEC-Care แอปเฝ้าระวังโควิด เจาะกลุ่มโรงงาน ป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ 3 จ. อีอีซี อย่างได้ผล

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ล่าสุดสถิติผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ 3 จังหวัด ของ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ยังคงสูงขึ้นในเขตจังหวัดชลบุรี โดยในวันที่ 2 กรกฎาคม มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 222 ราย ส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรามีผู้ติดเชื้อเพิ่มรายวัน 83 ราย และจังหวัดระยอง มีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่ม 58 คน ซึ่งถ้าดูแนวโน้มในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานับว่า ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ การเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด ทั้งในพื้นที่ส่วนตัว ที่อยู่อาศัย รวมถึงสถานประกอบการ ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เขต EEC ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย จึงเป็น Key success ที่สำคัญในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่นี้ได้ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงมีการปรับเอาเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้แบบง่ายๆ อย่าง แอปพลิเคชัน EEC-Care มาช่วยในการประสานงาน ติดตาม และส่งผู้ป่วยโควิดให้เข้าสู่การรักษาอย่างทันการณ์

EEC-Care แอปเฝ้าระวังโควิด ป้องกันการเกิดคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม

ดร. กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ และ ดร. ปรารถนา กู้เกียรติกูล คือ สองนักวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่เป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน EEC-Care ร่วมกับผู้สนับสนุนโปรเจกต์ดีๆ นี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนงบประมาณ ร่วมกับการทดสอบใช้แอปนี้ที่ โรงพยาบาลปลวกแดง โรงพยาบาลระยอง

“EEC-Care เป็นแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของ COVID-19 ในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC โดยพนักงานโรงงานรายงานสถานะสุขภาพ (อุณหภูมิ, อาการ ฯลฯ) ทุกวันผ่าน EEC-Care ภายใต้การกำกับดูแลของ HR ของบริษัท และโรงพยาบาลเครือข่าย”

“จากนั้น HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่รับผิดชอบในด้านนี้ ก็จะตอบสนองโดยเข้าไปติดตามผู้ป่วยหรือผู้มีความเสี่ยง COVID-19 และประสานงานกับโรงพยาบาลเครือข่ายอย่างใกล้ชิด”

“แอปพลิเคชันเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนและพนักงานโรงงานในพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้มีขีดความสามารถในการใช้ Technology ในการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง รวมทั้งเข้าถึงบริการที่จำเป็น

“โดยในเบื้องต้นโปรแกรม EEC-Care ได้ถูกนำไปใช้ในพื้นที่นำร่อง ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก”

“ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ปี 2558 ระบุว่า จังหวัดระยองมีนิคมอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินการกับเอกชน 8 แห่ง คือ

1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง พื้นที่ 10,215 ไร่

2 นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง พื้นที่ 2,500 ไร่

3 นิคมอุตสาหกรรมผาแดง อ.เมือง พื้นที่ 540 ไร่

4 นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) อ.ปลวกแดง พื้นที่ 11,062 ไร่

5 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ อ.ปลวกแดง พื้นที่ 8,634 ไร่

6 นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง พื้นที่ 2,595 ไร่

7 นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.ปลวกแดง พื้นที่ 2,490 ไร่

8 นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล อ.เมือง พื้นที่ 1,703 ไร่

นอกจากนี้ยังมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 5 แห่ง ชุมชนอุตสาหกรรม 4 แห่ง สวนอุตสาหกรรม 1 แห่ง และกลุ่มอุตสาหกรรม 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น 23 แห่ง

โดยในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา คลัสเตอร์ใหญ่ที่เกิดการติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด ยังคงเป็นการติดในสถานประกอบการ

“แอปนี้ได้นำไปใช้ในสถานประกอบการ 5 แห่ง และคาดการณ์ว่าจะขยายการใช้งานอีก 100 แห่ง ในเขตพื้นที่อำเภอปลวกแดง

สถานประกอบการทั้ง 5 แห่งนั้น คือ

1 บริษัท มิตซุย สยาม คอมโพเนนท์ส จํากัด มีพนักงาน 1,395 คน

2 บริษัท ยูเนียนออโตพาร์ทสมานูแฟคเชอริง มีพนักงาน 600 คน

3 บริษัท เอ็มแอนที จํากัด มีพนักงาน 285 คน

4 บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) มีพนักงาน 280 คน

5 บริษัท อุตสาหกรรมน้ำปลาระยอง มีพนักงาน 161 คน

ชี้กลไกการทำงานของ EEC-Care

ฟังก์ชันหลักของ EEC-Care คือ การประสานงาน เชื่อมต่อ ส่งรักษา โดยเริ่มต้นที่ ผู้ดูแลสถานประกอบการ (HR) ประสานงาน ติดตาม พนักงานในโรงงาน ตรวจสอบติดตามให้คำปรึกษาและนัดหมายการตรวจโควิด กับโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาหรือหน่วยบริการสาธารณสุข

และยังมีออปชันที่เป็นประโยชน์ในการติดตามหรือมอนิเตอร์สุขภาพของพนักงาน ด้วยการเข้ามาตอบคำถามสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยง เช่น คำถามว่ามีอาการเสี่ยงติดเชื้อโควิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ หรือมีปัจจัยเสี่ยงใน 14 วัน ก่อนเริ่มป่วย หรือมีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สัมผัสกับผู้ป่วยโควิด หรือ เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงที่เป็นคลัสเตอร์ต่างๆ หรือไม่ เป็นต้น

เมื่อตอบคำถามแล้วจึงมีการประเมินความเสี่ยง แบ่งเป็นสีต่างๆ พร้อมคำแนะนำให้ปฏิบัติตาม เช่น ถ้าประเมินแล้วเป็นผู้เสี่ยงสูง สีส้ม ก็สามารถกดรายงานเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในแชตรูมของแอปพลิเคชันนี้ได้เลย เพื่อมีการประสานงานให้ได้รับการตรวจหาเชื้อ และถ้าติดโควิดจะเข้าสู่กระบวนการส่งตัวเพื่อรักษาต่อไป

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/07/02/eec-care-covid-monitor-application-in-eec/