เทคโนโลยีจัดการที่โรงพยาบาลสนาม “บุษราคัม”

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ส่องเทคโนโลยีโรงพยาบาลสนามบุษราคัม บนพื้นที่มากกว่า 100,000 ตารางเมตร ใหญ่ที่สุดในประเทศและสร้างเสร็จภายใน 7 วัน ระดมเครื่องมือดิจิทัลประสานระบบจัดส่งคนไข้ ตรวจเช็กเตียง เชื่อมฐานข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ

 

สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงไว้วางใจไม่ได้ โดยเฉพาะรายงานยอดผู้ติดเชื้อ 10 จังหวัดสูงสุด ซึ่งกรุงเทพมหานครยังเป็นอันดับ 1 ด้วยยอดผู้ติดเชื้อใหม่ เมื่อจำนวนผู้ป่วยใหม่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนเตียงและทีมแพทย์และพยาบาลมีเท่าเดิม กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องเร่งหาทางรับมือ ทำให้เกิดโรงพยาบาลสนามขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร และทั่วประเทศ โดยที่ใหญ่ที่สุดคือโรงพยาบาลสนาม “บุษราคัม” ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี บนพื้นที่มากกว่า 100,000 ตารางเมตร

นอกจากจะเป็นโรงพยาบาลสนามที่ใหญ่ที่สุดแล้ว เทคโนโลยียังทำให้รพ.สนามบุษราคัมสร้างเสร็จภายใน 7 วัน เช่นเดียวกับโรงพยาบาลสนามในอู่ฮั่น จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน

พญ.ปฐมพร ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มที่มีอาการปานกลางหรือกลุ่มสีเหลืองให้ได้ เพื่อรักษาไม่ให้เปลี่ยนเป็นผู้ป่วยวิกฤติหรือกลุ่มสีแดง ซึ่งจำนวนโรงพยาบาลที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ โรงพยาบาลสนามจึงเป็นพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นและสู้ไปด้วยกัน

 

และเนื่องด้วยโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อที่ระบาดได้ในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เป็นอุปสรรคในการที่แพทย์จะเข้าไปพบผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การวางระบบให้เป็นโรงพยาบาลดิจิทัล (Digital hospital) จึงเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่ง เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบการจัดการคอมพิวเตอร์ จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้แพทย์ และพยาบาลติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยและเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์พื้นฐานได้ตลอดเวลา เช่น ข้อมูลผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และอาการต่อเนื่องจากการรักษา

ทั้งหมดนี้ทำงานบนระบบดิจิทัลผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลตรวจติดตามผู้ป่วย การวัดสัญญาณชีพ (vital sign) แบบอัตโนมัติติดที่ตัวคนไข้ แล้วรายงานผ่านจอได้เรียลไทม์ การวัดความดันโลหิต อุณหภูมิ และอัตราการเต้นของหัวใจ อัตโนมัติ และเวชระเบียนการจ่ายยาแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการนำหุ่นยนต์มาใช้งานเพื่อส่งยาให้ผู้ป่วย

พญ.ปฐมพรกล่าวว่า เมื่อตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อจากการสวอบ (swab) ตามมาตรฐานโรงพยาบาล ทีมเจ้าหน้าที่สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, ศูนย์บริหารจัดการเตียง กรมการแพทย์ 1668, ศูนย์เอราวัณ 1669 และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1330 จะคีย์ข้อมูลผู้ป่วยที่มีผลโพซิทีฟ (positive) เข้ามาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานต่างๆ จะช่วยกันจัดหาเตียงให้คนไข้

ส่วนหนึ่งจะถูกส่งมายังโรงพยาบาลบุษราคัม ด้วยระบบ Co-Link ซึ่งพัฒนาโดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Institute : GBDi) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอีเอส และระบบ Co-bed ซึ่งเป็นระบบบริหารเตียงผู้ป่วยจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบุษราคัมจะตรวจสอบความพร้อมผู้ป่วยและประสานไปที่หน่วยรถรับส่งจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และจะเข้าสู่กระบวนการนำคนไข้เข้าสู่โรงพยาบาลบุษราคัม ซึ่งจะรองรับผู้ป่วยกลุ่มเตียงสีเหลืองเป็นหลัก กล่าวคือ ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย-ปานกลางที่ยังช่วยตัวเองได้

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็ค–เซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมาบริการให้กับแพทย์ พยาบาล รวมทั้งผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ตั้งแต่ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้งานดีแทค Wi-Fi ผ่าน Access point รวมทั้งนำโน้ต– บุ๊กคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน กล้อง CCTV และ dtac@Home หรือ Fixed Wireless Broadband ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดตั้งง่ายได้ทุกที่โดยไม่ต้องเดินสาย นำไปใช้งานที่โรงพยาบาลบุษราคัม และหอพยาบาล สนับ– สนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

โดยทีมแพทย์จะใช้โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ ทำการรักษาผ่านระบบแพทย์ทางไกล (teleme–dicine) มีการรีโมตเข้ามารักษา หรือการให้ข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน LINE พร้อมทั้งมีการจัดพยาบาลที่เข้าไปติดตามดูแลผู้ป่วย

พญ.ปฐมพรกล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้ามารักษาตัวที่นี่ คือจากวันที่พบเชื้อ 14 วัน ยกเว้นบางคนที่โอนย้ายมาจากที่โรงพยาบาลอื่นจากกลุ่มเตียงสีแดง เมื่ออาการดีขึ้นจะย้ายมาที่นี่ เพื่อให้ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีแดงคนอื่น ที่ต้องการรักษาได้มีเตียงพอเพียง ซึ่งผู้ป่วยที่โอนย้ายมาจากที่อื่น อาจจะมาอยู่ต่อที่ รพ.บุษราคัมอีก 3-5 วัน แล้วกลับบ้าน เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็วขึ้น และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาของโรงพยาบาลบุษราคัม

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบุษราคัมได้ถูกสร้างขึ้นที่อาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 ก่อนเป็นแห่งแรก ด้วยจำนวน 1,083 เตียงในเวลา 7 วัน และฮอลล์ 1 ถูกสร้างถอดแบบ (mirror) ตามออกมาด้วยจำนวน 1,078 เตียงภายใน 5 วัน แบ่งเป็นหอผู้ป่วยหญิงและชายแยกกัน โดยทั้งสองแห่งมีห้องความดันลบ (Negative pressure room) และออกซิเจนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ที่ผ่านการวางระบบใหม่ทั้งหมด ด้วยการต่อท่อออกซิเจนเข้ามาจากด้านหลังฮอลล์มาถึงเตียงผู้ป่วย ส่วนห้องอาบน้ำ จำนวน 100 ห้อง แบ่งชายหญิง ด้วยระบบกำจัดน้ำเสียตามมาตรฐาน ซึ่งน้ำที่ใช้แล้วจากโรงพยาบาลบุษราคัมจะไหลไปจุดศูนย์กลางพร้อมทั้งผ่านระบบบำบัด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางด้วยบ่อบำบัดขนาดใหญ่ พร้อมทั้งระบบกำจัดขยะ.

แหล่งข้อมูล www.thairath.co.th/lifestyle/tech/2114167