depa ร่วม สถ. ออกแบบกลไกใหม่ขับเคลื่อน Smart City มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

8 มิถุนายน 2564, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น – ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมประชุมกับ นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) เพื่อหารือถึงแนวทางและกลไกในการลขับเคลื่อนการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) โดยมี ดร.กษิติธร ภูภราดัย และ ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า พร้อมด้วยทีมงานสำนักงานส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ เข้าหารือในครั้งนี้ด้วยอในครั้งนี้ด้วย

ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวต่อที่ประชุมว่า ตามที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เร่งให้ดีป้าขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นครอบคลุมทั่วประเทศอย่างเท่าเทียม ซึ่งดีป้ามุ่งขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมาอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่นเสมอมา โดยการพัฒนาเมืองอัจฉริยะนั้นนอกจากจะต้องเกิดจากหลากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐเอง เอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ซึ่งความร่วมมือระหว่างดีป้ากับ สถ. ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้เมืองอัจฉริยะได้เกิดการกระจายตัวในระดับท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่ประชุมยังได้หารือถึงองค์ประกอบรอบด้านในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะตามโจทย์ของ สถ. แล้วพบว่าความท้าทายในการขับเคลื่อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ประเด็นด้าน งบประมาณ การเลือกใช้เทคโนโลยี ความพร้อมบุคลากร และกฎหมายและกฎระเบียบ ดีป้าจึงได้นำเสนอ 4 กลไกเพื่อช่วยให้ สถ. เดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

1) การจัดทำงบประมาณบูรณาการเมืองอัจฉริยะที่มีการกำหนดประเด็นสำคัญเฉพาะในแต่ละปีงบประมาณ

2) การจัดทำบัญชีผู้ให้บริการดิจิทัลเพื่อเป็นมาตรฐานกลางในการเลือกใช้เทคโนโลยีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

3) การส่งเสริมพื้นที่ Sandbox เพื่อนำร่องการพัฒนาบริการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ และ

4) การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรพัฒนาเมืองอัจฉริยะในทุกระดับ เช่น การพัฒนานักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมือง (Smart City Ambassador) เพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาบ้านเกิด

โดยคณะทำงานทั้งดีป้าและ สถ. จะร่วมดำเนินงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะเร่งหารือในรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานที่แน่ชัดต่อไปี่แน่ชัดต่อไป

แหล่งข้อมูล www.depa.or.th