ทำไมการเก็บข้อมูลแบบ Cold Storage จึงกำลังเป็นที่นิยม

Share

Loading

ฤดูกาลของเบสบอลกลับมาอีกครั้งพร้อมกับคอนเทนต์ใหม่ ๆ ได้แก่ สถิติผู้เล่นและทีม ภาพวิดีโอของการเล่นจากหลากหลายมุมกล้องในทุก ๆ เกมจากทุกสนามทั่วโลก

ความเป็นจริงเมเจอร์ลีกเบสบอล (Major League Baseball หรือ MLB) จะมีการอัปโหลดเนื้อหาใหม่สูงสุดราว 50 TB ต่อวัน และอีกมากมายในคลังอาร์ไคฟ์เก็บข้อมูลถาวร เพื่อส่งมอบข้อมูลอย่างตรงเวลาในระหว่างเกม ไฮไลท์ประจำวัน และข่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทีมจัดการข้อมูลจะต้องตัดสินใจว่าจะจัดเก็บข้อมูลแบบ Cold หรือ Warm หรือ Hot ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วและความถี่ในการต้องการเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าจะเป็นสถิติทางกีฬา การดูแลสุขภาพ กฎระเบียบข้อบังคับ หรือข้อมูลจำเป็นที่ถูกเก็บมาก่อนหน้านี้ ข้อมูลถูกสร้างใหม่ขึ้นทุกวันที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ และจำนวนข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นไม่หยุด

ผู้เชี่ยวชาญในวงการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นราว 30% ต่อปีและคาดว่าจะมีมากถึง 175 เซตตะไบต์ ภายในปี 2568 แม้ว่าชุดข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องถูกวิเคราะห์ทันที แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องจัดเก็บเอาไว้ นี่คือที่มาของเก็บข้อมูลแบบ Cold Storage ที่ต้องจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากย้อนหลังเป็นระยะเวลานาน 

Cold Storage จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่ได้เรียกใช้งาน ข้อมูลสามารถเก็บไว้ในที่คลังอาร์ไคฟ์ หรือ “Cold” ที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า การกำหนดหมวดของข้อมูลที่ไม่ได้เข้าถึงบ่อยนัก ซึ่งตรงข้ามกับจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ ถัดมาคือ “Hot” เป็นข้อมูลที่ถูกเรียกใช้บ่อยและต้องเข้าถึงได้เร็ว เช่น ธุรกรรมทางการเงินที่จำเป็นต้องเข้าถึงทันที

นักวิเคราะห์ในแวดวงนี้ได้กล่าวว่า ข้อมูลกว่า 60% หรือมากกว่าเป็นข้อมูลที่สามารถเก็บไว้ในคลังเอาร์ไคฟ์ หรือนำไปเก็บไว้บนสตอเรจสำหรับเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยจําเป็นสักเท่าใด

สเตฟเฟน เฮลโมลด์ (Steffen Hellmold) รองประธานฝ่ายริเริ่มเชิงกลยุทธ์ขององค์กรของ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล กล่าวว่า

“โลกกําลังสร้างและจัดเก็บข้อมูลในคลังอาร์ไคฟ์ มากขึ้นกว่าเดิม นั่นเป็นเหตุผลที่ Cold Storage เป็นเซกเมนต์ ที่เติบโตเร็วที่สุดของการจัดเก็บทั้งหมด และการเปลี่ยนแปลงหลักกำลังเกิดขึ้นเนื่องจากการจัดเก็บบิตมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ให้บริการคลาวด์จึงกําลังคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่ด้วยคลังอาร์ไคฟ์ที่สามารถเข้าไปจัดการข้อมูลทั้งหมดได้”

ทําไมต้องใช้ Cold Storage

เมื่อเราเข้าสู่ยุคที่ข้อมูลใหญ่ขนาดเซตตะไบต์ (Zettabyte) ยิ่งมีการจัดเก็บข้อมูลมากเท่าไรค่าใช้จ่ายก็มากขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปกลุ่มข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดจะเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งมีโครงสร้าง เช่น ฟุตเทจวิดีโอ ข้อมูลจีโนมิกส์ หรือ ข้อมูลที่นำมาใช้สอนระบบ Machine Learning และกรณีการใช้งาน AI การจัดเก็บแบบ Cold Storage หรือ การจัดเก็บชั้นรอง มีราคาถูกกว่าการจัดเก็บแบบ Hot Storage หรือการจัดเก็บหลัก มันสมเหตุสมผลที่จะจัดเก็บข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในการจัดเก็บแบบ Cool ในราคาที่ต่ำกว่า

มาร์ค พาสเตอร์ (Mark Pastor) ผู้อํานวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์มบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล กล่าวว่า “การพิจารณาควรขึ้นอยู่กับความถี่ที่คุณต้องการเข้าถึงข้อมูลหรือความเร็วในการพร้อมใช้งานเมื่อต้องเข้าถึงข้อมูล” ปัจจุบันบริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์มีข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLAs) ขึ้นอยู่กับความถี่ในการเข้าถึงข้อมูลและระยะเวลาที่ลูกค้ายินดีที่จะรอ สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์บางราย ข้อมูลที่เก็บไว้ในระดับ Cooler tier อาจใช้เวลาห้าถึง 12 ชั่วโมงในการเข้าถึง ในขณะที่ข้อมูลใกล้ตัว จะถูกเก็บไว้ในระดับ Warmer tier และพร้อมใช้งานทันที แต่มีราคาที่สูงกว่า
เคิร์ท ชาน (Kurt Chan) รองประธาน ฝ่ายแพลตฟอร์ม บริษัท เวสเทิร์น
ดิจิตอล กล่าวว่า “นอกเหนือจากต้นทุนและการเข้าถึงแล้ว ปัจจัยที่สามคือหลักจิตวิทยา มันเกือบจะขัดกับธรรมชาติของมนุษย์ที่จะลบอะไรในกรณีที่คุณอาจต้องการมันในภายหลัง เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าข้อมูลใดจะมีคุณค่าในภายหลัง”

ตัวเลือก Cold Storage ในปัจจุบัน

จนถึงขณะนี้หน่วยความจำรอง (หรือ Cold Storage) ส่วนใหญ่จะบรรจุไม่อยู่ในเทปไดร์ฟก็ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) โดยข้อมูลที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย (Hot data) จะย้ายไปเก็บที่ความจำแบบโซลิดสเตตไดรฟ์ (SSD) เวสเทิร์น ดิจิตอล มีผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่โซลิดสเตตไดรฟ์ (SSD) ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) และแบบเทป (Tape heads) แต่จะเห็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรองเติบโตเร็วกว่าที่เก็บข้อมูลหลัก ตามกลยุทธ์ข้อมูลของ Horison ปัจจุบันอย่างน้อย 60% ของข้อมูลดิจิทัลทั้งหมดสามารถจัดเป็นคลังอาร์ไคฟ์และคาดการณ์ว่าจะสูงถึงหรือมากกว่า 80% ภายในปี 2568 ทำให้ cold storage เป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในขณะที่นําเสนอความท้าทายในการจัดเก็บข้อมูลที่ยอดเยี่ยมต่อไป
หน่วยความจำแบบเทปมีราคาย่อมเยากว่า HDD แต่มีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงกว่ามาก ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ถูกใช้งานบ่อยนัก ถ้าคุณค่าของข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึงและขุดข้อมูลนั้น จะมีลำดับความสำคัญระหว่างการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์กับเทป กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเข้าถึงข้อมูลจะเพิ่มมูลค่าให้กับข้อมูล
HDD กำลังพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิสก์ยุคใหม่ที่ช่วยให้ทั้ง TCO และการเข้าถึงที่ดีขึ้นสำหรับโซลูชันการเก็บถาวรที่ใช้งานอยู่ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี HDD ได้แก่ เทคโนโลยีการจัดวางข้อมูลใหม่ (เช่น การแบ่งโซนข้อมูล) ความหนาแน่นของพื้นที่ที่สูงขึ้นนวัตกรรมทางกลการจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะและนวัตกรรมวัสดุใหม่ ๆ การจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะ และนวัตกรรมวัสดุใหม่ ๆ

เทคโนโลยี Cold Storage ในอนาคต

ไฮเปอร์สเกลเลอร์ (Hyperscalers) เป็นศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกลที่ให้พลังประมวลผลอย่างมหาศาลที่กําลังมองหาวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด ดังนั้น เทียร์การจัดเก็บข้อมูลแบบ cold storage ระดับใหม่จึงเกิดขึ้น โดยองค์กรไอทีได้คิดค้นสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลที่เก็บถาวรขึ้นมาใหม่เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลระยะยาวนั้นเนิ่นนานถึงขั้น 10 ปี กล่าวคือต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 100 ปีหรือมากกว่านั้น ดังนั้นโซลูชันการจัดเก็บแบบ Cold Storage จึงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา รวมถึง เก็บข้อมูลด้วย DNA เก็บข้อมูลแบบออปติคัล และแม้แต่ การแช่แข็งฮาร์ดดิสก์ (Deep freeze) ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เวสเทิร์น ดิจิตอลได้จับมือร่วมกับ บริษัท ทวิสท์ ไบโอไซเอนซ์ (Twist Bioscience) ซึ่งก่อตั้งโดยอิลลูมินา (Illumina) และไมโครซอฟท์ (Microsoft) ประกาศการเป็นพันธมิตรในการพัฒนาเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลด้วย DNA เนื่องจากความหนาแน่นของข้อมูลนั้นสูง ขณะเดียวกัน DNA มีคุณสมบัติจัดเก็บข้อมูลมหาศาลไว้บนพื้นที่ขนาดเล็กได้ ดังนั้นการเก็บข้อมูลใน DNA ยังสามารถคงอยู่ได้นานหลายพันปี จึงทำให้ DNA เป็นที่จับตามองสำหรับการจัดเก็บข้อมูลถาวรเนื่องจากการสร้างข้อมูลยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่มากอย่างเหลือเชื่อ การจัดเก็บข้อมูลแบบ Cold Storage จึงพิสูจน์ให้เห็นถึงส่วนสำคัญในการเก็บรักษาข้อมูลในราคาที่เอื้อมถึงและมาพร้อมกับอายุการใช้งานที่ยืนยาว ผู้ปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลจึงพัฒนาและสร้างโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลระยะยาวที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีค่าเหล่านั้นได้ทั้งในระยะใกล้และในอีกหลาย ๆ รุ่นต่อไป

https://www.westerndigital.com/

บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
33 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel : +66(0) 2553-8888

https://www.synnex.co.th/th/