เปิดภารกิจ ‘ยามรบทัพจับศึก’ ของ กระทรวง อว. ร่วมทัพหน้า เป็นกองหนุนสู้วิกฤตโควิดระลอกใหม่

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

วิสัยทัศน์ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กระทรวง อว. ที่ระบุไว้ชัดเจนในเว็บไซต์กระทรวงฯ คือ “เป็นองค์กรนำเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ภายใน ปี พ.ศ. 2580”

ทว่า ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ในวันนี้ระบาด เร็ว แรง ที่สุด ตั้งแต่เกิดสถานการณ์มาก็ว่าได้ กระทรวง อว. จึงประกาศตัว ร่วมรบทัพจับศึกเป็นทัพหน้าของประเทศ ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติม นอกเหนือจากภารกิจหลักเพื่อสู้กับวิกฤตการระบาดระลอกใหม่แบบสุดใจ

โดย เจ้ากระทรวงอย่าง ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวขบวนบุกลงพื้นที่ พร้อมคณะผู้บริหารและคนทำงานจาก กระทรวง อว. เดินหน้าทุกภารกิจด้วยตนเอง

สั่งการ ทุกมหาวิทยาลัย พร้อมเปิดพื้นที่เป็น “โรงพยาบาลสนาม”

“การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ครั้งนี้ พิสูจน์ให้เห็นว่า อว. ได้ใช้ประโยชน์จากการลงทุนของรัฐในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะมหาวิทยาลัยมีความพร้อมมากมายทั้งบุคลากร ทั้งอาคารสถานที่ ในยามวิกฤติก็พร้อมจะรวมพลังกันออกมาช่วยรัฐบาลอย่างเต็มกำลัง พร้อมใช้ทุกพื้นที่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด” คำกล่าวของ ดร.เอนก นี้ต้องการสื่อถึงความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา หรือวิทยาลัยทั่วประเทศ ในการเปิดพื้นที่เป็น โรงพยาบาลสนาม ในวันที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทาง กระทรวง อว. ได้สั่งการณ์ให้ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จัดเตรียมพื้นที่ให้เป็น รพ.สนาม เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง และรอสังเกตอาการแล้ว

อาทิ โรงพยาบาลสนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารจันทนยิ่งยง สนามกีฬาแห่งชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับและให้การดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดออกไปสู่ชุมชน และใช้เป็นสถานที่ที่สามารถประสานและส่งต่อผู้ป่วย ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลโดยประสานการส่งต่อกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีพื้นที่รองรับกว่า 100 เตียง ซึ่งเปิดรับผู้ป่วยไปแล้ว เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา

หรือในภาคเหนือ ก็ได้มีการเปิด โรงพยาบาลสนามในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสถานที่ตั้งหลักใน 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในส่วนของ มช. ที่มีกว่า 300 เตียง และ ม.แม่โจ้ ที่มีกว่า 420 เตียง สามารถช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลผู้ติดเชื้อใน จ.เชียงใหม่ได้มากถึง 30%

นอกจากนั้น ยังมีโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ในเบื้องต้นสามารถรองรับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ได้จำนวน 120 เตียง ซึ่งการดำเนินงานของโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ได้ดำเนินงานร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี  โดยมีบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และในอนาคต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะเปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มอีก 100 เตียง ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์ปราจีนบุรี อีกด้วย

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว.กล่าวว่า “สำหรับโรงพยาบาลสนามของ อว. ขณะนี้ ได้จัดตั้งขึ้นแล้วทั้งหมด 41 แห่ง กระจายอยู่ในทุกภาคทั่วประเทศ มีเตียงรวมกันกว่า 12,000 เตียง สามารถเปิดรับผู้ป่วยได้แล้วกว่า 8,000 เตียง และปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รับเข้ามาดูแลในโรงพยาบาลสนามแล้วประมาณ 1,600 เตียง”

“ทั้งนี้ หากผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลสนามมีอาการหนักขึ้นจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ของ อว. ซึ่งมี 22 แห่งทั่วประเทศก็มีความพร้อมในการดูแลเช่นกัน ผู้ป่วยสามารถวางใจได้ว่าเมื่อมาอยู่โรงพยาบาลสนามแล้วมีอาการหนัก ก็พร้อมส่งต่อไปยังโรงพยาบาลหลักเพื่อรักษาได้เลย”

ด้าน ดร.เอนก ย้ำอีกว่า “อว.ไม่ได้มีแต่เพียงมหาวิทยาลัย แต่ยังมีหน่วยวิจัยและพัฒนาอีกหลายแห่งที่จะเข้าไปช่วยตั้งโรงพยาบาลสนามเมื่อเกิดวิกฤต ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขและมหาดไทย และเราดีใจที่ได้เป็นกองหนุนที่พร้อมในการทำงานในทุกจังหวัดเพื่อรับมือกับโควิด-19 ระลอกใหม่นี้”

“ในยามที่บ้านเมืองมีปัญหา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือขวัญและกำลังใจ การที่ทุกหน่วยของ อว. ร่วมมือร่วมใจกันเปิดโรงพยาบาลสนาม ก็เพื่อให้พี่น้องประชาชนอุ่นใจ ท่านทั้งหลายได้เสียภาษีให้รัฐบาลมาตั้งเป็นงบประมาณ สร้างโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาล เมื่อมีวิกฤต อว.พร้อมที่จะเป็นกองหนุนช่วย ถ้าจำเป็นจะขยายมากกว่า 12,000 กว่าเตียง”

เดินหน้าส่ง งานวิจัย นวัตกรรม และติดตั้งเทคโนโลยีล้ำสมัย เสริมกำลังนักรบเสื้อกาวน์

นอกจากภารกิจเตรียมความพร้อมให้กับ โรงพยาบาลสนามแล้ว กระทรวง อว. ยังเป็นทัพหน้าในการระดมงานวิจัย นวัตกรรม ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่าง นวัตกรรมชุดที่นอนยางพารา ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหมอนยางพาราระดับชุมชน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน จ.พัทลุง ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยผลิตจากยางพาราแท้ มีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี มีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระในการนอน ไม่สะสมฝุ่นและเชื้อโรค สามารถทำความสะอาดได้สะดวก อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 10 ปี อีกด้วย

และการเตรียมความพร้อมให้โรงพยาบาลสนาม ในความดูแลของ กระทรวง อว. ในครั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ส่งมอบชุดที่นอนยางพารามาใช้ในโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ด้าน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก็ได้นำนวัตกรรมเพื่อรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่าง มีการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัยจากผ้าไหมโคราช การใช้กล้องความเร็วสูงทดสอบคุณสมบัติการป้องกันละอองไอจามซึมผ่านหน้ากากอนามัย การผลิตชุด PPE ใช้เองในประเทศ และการพัฒนาตู้ความดันบวก-ความดันลบเพื่อใช้คัดกรองและป้องกันเชื้อจากผู้ป่วย

และในส่วนของ โรงพยาบาลสนามที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็มีศักยภาพในการรองรับผู้ติดเชื้อ COVID–19 โดยได้จัดเตรียม หอผู้ป่วยรวมชนิดแรงดันลบ (Cohort Ward) ที่หอผู้ป่วยชั้น 5 อาคารสิรินธร โดยใช้ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Room) มีจำนวน  8 ห้อง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมากต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยนำเทคโนโลยีไร้สาย IoT (Internet of things) มาใช้ในการบันทึกการวัดสัญญาณชีพ แบบทันที ต่อเนื่อง จากห้องผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงกับระบบ Telemedicine เพื่อให้แพทย์ พยาบาลสามารถดูข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยได้แบบปัจจุบัน (Real time)

ทั้งนี้ เทคโนโลยีดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่กล่าวมา ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

พร้อมจัดกำลังนิสิต นักศึกษาเสริม ช่วยฮอตไลน์ประสานหาเตียง

และต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ในเรื่องของพนักงานที่มาทำหน้าที่รับโทรศัพท์สายด่วน แจ้งประสานเพื่อรับผู้ป่วยโควิด-19 มารักษา ซึ่งไม่เพียงพอนั้น ทางกระทรวง อว. ได้วางแผนเป็นหน่วยสนับสนุนในเรื่องนี้แล้ว โดย ดร.เอนก ได้กล่าวว่า

“ขณะนี้ ได้ขอความร่วมมือไปยังคณบดีโรงเรียนแพทย์ของ อว. ช่วยคัดนิสิตนักเรียนแพทย์ที่มีความพร้อมมาช่วยรับโทรศัพท์ เพื่อแก้ปัญหาที่ประชาชนโทร.เข้าหมายเลข 1668 หรือ 1669 ที่ไม่มีคนมากพอจะรับสายแล้วเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น”

“เพราะการทำงานอะไรก็ตาม มักมีปัญหา ต้องร่วมมือแก้ไขกันไป ในยามรบทัพจับศึก บางครั้งฝ่ายสนับสนุนนั้นก็สำคัญมาก” “ส่วนในเรื่องของวัคซีนที่หลายฝ่ายกังวลนั้น ขอเรียนให้ทราบว่าประเทศไทยมีวัคซีนพอ และ อว. ก็พร้อมในการเตรียมบุคลากรไปช่วยฉีดวัคซีนด้วย หากรัฐบาลจะฉีดให้ได้วันละ 5 แสนคน ก็จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรสนับสนุนที่เพียงพอ  ซึ่ง อว.มีอาสาสมัครนิสิตนักศึกษาที่เรียนแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข มาช่วยฉีดก็ได้ โดยจะเริ่มในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งจะฉีดอย่างเร่งรีบ จริงจัง”

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/04/24/covid-mission-of-mhesi-ministry/