‘แอปพลิเคชัน LUNG CARE’ นวัตกรรมฝีมือนักวิจัยไทย เช็คสุขภาพปอดได้ตั้งแต่โรคหอบหืด จนถึงโควิด-19

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ทุกคนทราบกันดีว่า ปอด เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ดังนั้น การดูแลรักษา เราจึงต้องหมั่นดูแลสุขภาพปอดอยู่เสมอ อย่างการ บริหารปอดด้วยการหายใจลึกๆ หมั่นออกกำลังกาย และดื่มน้ำให้เพียงพอ จนกระทั่ง เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีอาการเจ็บป่วยที่โจมตีอวัยวะสำคัญ คือ ปอด ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ การหายใจติดขัด ซึ่งก็เป็นอาการที่คล้ายกันกับผู้ป่วยโรคหอบหืด

ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเวลานี้เมื่อปีที่แล้ว จึงได้มีการแนะนำ แอปพลิเคชัน LUNG CARE ที่คิดค้นโดยนักวิจัยไทย ซึ่งในเบื้องต้นมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดใช้เช็คสุขภาพปอด แต่มาในวันนี้ สามารถเช็คสุขภาพปอด เพื่อตรวจเช็คด้วยตัวเองในเบื้องต้นว่า มีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 หรือไม่

รู้กันก่อน ปอดได้รับผลกระทบ จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรบ้าง

ที่ผ่านมา ทุกคนได้ทราบข้อมูลเดียวกันว่า หนึ่งในอาการบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณสำคัญของการติดเชื้อโรคโควิด-19 คือ การหายใจติดขัด ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกว่าเชื้อไวรัสตัวร้ายนี้ได้เข้าจู่โจมปอดแล้ว โดยอ้างอิงได้จากเคสผู้ป่วยในต่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัย จอร์จ วอชิงตัน ได้จัดทำภาพเสมือนจริง ของคนไข้ COVID-19 วัย 59 ปีที่มีอาการป่วยหนัก ซึ่งก่อนหน้านี้เขามีความดันเลือดสูง ทั้งที่ไม่กี่วันก่อนหน้า ยังไม่มีอาการอะไรเลย โดยแพทย์ได้อธิบายว่าจุดสีเขียวๆ ในปอด คือจุดที่ COVID-19 เข้าไปทำลายปอดจนเกิดการอักเสบ

ขณะที่ ข้อมูลการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ในไทย พบว่า มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย โดย พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรมปอด สถาบันโรคทรวงอก ระบุว่า

“ส่วนมากการเสียชีวิตจะมาจากจากการที่ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบ เพราะในปอดมีถุงลม จะถูกทดแทนด้วยสารที่เกิดจากการอักเสบขึ้นมา ซึ่งถ้าเป็นในคนปกติเวลาหายใจลมจะผ่านเข้าไปในระบบเส้นเลือด แล้วมีการแลกเปลี่ยนอากาศทางระบบถุงลมกับเส้นเลือดได้”

“แต่เมื่อมีการอักเสบขึ้นมาเซลล์อักเสบก็จะเป็นตัวกั้น ทำให้ลมและออกซิเจนไม่สามารถผ่านเข้าไปเพื่อที่จะส่งต่อไปยังเส้นเลือด เพื่อที่จะเส้นเลือดจะเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายต่างๆ ไม่ได้ เพราะว่ามีตัวกั้นแทน ตัวกั้นนี้เกิดจากการอักเสบเพราะเชื้อไวรัส COVID-19 นั่นเอง”

โดยข้อมูลผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการปอดอักเสบในไทย พบว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ หอบหืด หรือได้รับยาที่กดภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมทั้งคนที่สูบบุหรี่ หรือ บุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากมีข้อมูลจากหลายประเทศพบว่า ปอดของคนสูบบุหรี่จะถูกทำลายจนเกิดภาวะถุงลมโป่งพอง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอดสูงกว่าคนปกติ และเมื่อปอดถูกเชื้อไวรัสเข้ามารบกวน ก็จะไม่สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสได้

ทำความรู้จัก แอปพลิเคชัน LUNG CARE แอปที่ช่วยให้ทุกคนสามารถตรวจเช็คสุขภาพปอดได้ด้วยตัวเอง

ได้เวลามาทำความรู้จักกับ แอปพลิเคชัน LUNG CARE แอปเดียวที่จะทำให้คุณแปลงร่างเป็นหมอ ตรวจเช็คสุขภาพปอดได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแอปนี้เป็นความร่วมมือกันคิดค้นของนักวิจัยไทย จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยได้พัฒนาแอปพลิเคชันวัดคุณภาพของปอด “Lung Care” สามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วยการเป่าลมผ่านสมอลล์ทอล์คหรือช่องไมโครโฟนของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถใช้ได้กับคนปกติหรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เพื่อเป็นการประเมินเบื้องต้นถึงการทำงานของปอด และตรวจติดตามปอดว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร

รศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล อาจารย์จากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมนักวิจัยผู้คิดค้นแอปพลิเคชัน “Lung Care” อธิบายถึงการทำงานของแอปนี้ว่า

“ลักษณะการทำงานของแอปพลิเคชันนี้ เป็นการนำเข้าคลื่นเสียงและแปลงคลื่นเสียงให้เป็นค่าของปอด โดยนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานทางการแพทย์ที่ได้จาก รศ.นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

“แรงบันดาลใจที่ทำให้คิดค้นแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา ก็มาจากตัวเองเป็นโรคหอบหืด ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์จะต้องมีการเป่าเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด (Peak Flow Meter) แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ส่วนกระบอกกระดาษที่เป็นอุปกรณ์ในการเป่าก็ต้องใช้แล้วทิ้ง ทำให้สิ้นเปลือง ก่อให้เกิดขยะทางการแพทย์”

“ดังนั้น ถ้ามีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เหมือนเครื่อง Peak Flow Meter สามารถพกติดตัวไปได้ตลอดเวลาน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี” “ส่วนคนที่สูบบุหรี่จัด ทำงานก่อสร้าง โรงงานปูน หรือผู้ที่ทำงานกับฝุ่น ควรมีแอปตัวนี้ไว้คอยตรวจสอบปอด เพราะจะเป็นตัวบอกว่าปอดของคุณมีสถานะเป็นอย่างไร” รศ.ดร.ภัทรสินี กล่าว

เปิดขั้นตอนการใช้งาน ที่เน้นหลัก User friendly เช็คสุขภาพได้ง่ายๆ ภายในไม่กี่ขั้นตอน

สำหรับขั้นตอนการทำแอปพลิเคชัน เริ่มจากการเขียนโปรแกรมทดลอง จนได้เป็นสมการที่มีการแปลงคลื่นเสียงออกมาเป็นสเกลเทียบเท่ากับตัวลมที่เป่าด้วยเครื่อง Peak Flow Meter โดยนำแนวคิดทางคอมพิวเตอร์และทางสถิติมาใช้ด้วย

จากนั้นได้ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 37 คน พบว่ามีความแม่นยำถึง 97.6% ถือว่าน่าพอใจมาก โดยในการทดสอบคุณภาพปอดจะเทียบกับค่ามาตรฐานตามเพศ อายุ และส่วนสูง เมื่อมีการเก็บข้อมูลระยะหนึ่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงค่าความจุปอดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แอปพลิเคชันจะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไป

ส่วนวิธีการใช้งานแอปพลิเคชันนี้ก็แสนง่าย เพราะทีมผู้คิดค้นตั้งใจออกแบบบนแนวคิด User friendly เพียงเป่าที่ Small Talk ในโทรศัพท์มือถือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือถุงลมตีบ ถ้าเป่า 3 วันติดต่อกันแล้วค่าที่แสดงออกมาต่ำก็ควรไปพบแพทย์ทันที สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถใช้เพื่อตรวจสอบปอดได้เช่นกัน

  • การเป่าที่ถูกต้อง ให้สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด แล้วเป่าที่ไมโครโฟนโดยให้ปากใกล้ไมโครโฟนที่สุด แล้วเป่าสามครั้ง ตามที่แอปกำหนด
  • ฟังก์ชันการทำงาน เมื่อกดเข้าใช้งานแอปพชิเคชัน ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่แอปกำหนดอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกับค่าการเป่าที่จะประเมินออกมา
  • การใช้งานอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการลงทุนในการดูแลสุขภาพปอดที่คุ้มค่า เพราะเปิดโอกาสให้เก็บข้อมูลด้วยการเป่าได้ไม่จำกัด และสามารถแสดงผลเป็นกราฟได้

อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แอปพลิเคชันนี้สามารถตรวจสอบในเบื้องต้นได้ว่าปอดเราถูกทำลายหรือไม่ พื้นที่ปอดมีมากน้อยเพียงใด แต่ปอดจะติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่นั้นไม่สามารถบอกได้ จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป

“ขอแนะนำให้ผู้ใช้แอปพลิเคชัน เป่าตรวจสอบปอดของตนเองทุกวัน ไม่ใช่เป่าแล้วเห็นว่าค่าที่ได้ออกมาอยู่ในเกณฑ์ดีแล้วก็ลบแอปทิ้งไป เพราะที่สุดแล้วสิ่งที่ได้คือสุขภาพของเราเอง และในยุคนี้เราทุกคนก็มีสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว ดังนั้นอย่าละเลยสุขภาพ ก่อนที่จะสายเกินแก้ค่ะ” รศ.ดร.ภัทรสินี ฝากทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Lung Care” ได้ที่ Play Store บนโทรศัพท์มือถือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line: @Lung Care และ Facebook : https://www.facebook.com/lungcarecheck

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/04/26/lung-care-application-check-up-lung-fight-covid/