ความก้าวหน้าของ อีลอน มัสก์ ที่กำลังไปได้สวย

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ได้ยินชื่อของ อีลอน มัสก์ เมื่อไหร่ ปกติชื่อเหล่านี้ก็จะตามมาในความคิด ไม่ว่าจะเป็น สเปซเอ็กซ์ (Space X), รถยนต์ไฟฟ้าเทสลา (Tesla), ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) หรือแม้แต่ เพย์พาล (PayPal) ซึ่งเป็นวิธีการชำระเงินผ่านออนไลน์

ทว่า นิวราลิงค์ (Neuralink) ที่เป็นหนึ่งในบริษัทของอีลอน มัสก์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 แรกอาจไม่ได้คุ้นหูนัก แต่ตอนนี้เชื่อว่าคนจำนวนมากจะจดจำติดใจยิ่งขึ้น

นิวราลิงค์ คือบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสายสื่อประสาทเป็นการออกแบบนวัตกรรมเชื่อมต่อสมองกับปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial intelligence) เรียกว่าเป็นการเชื่อมมนุษย์และจักรกลคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันก็ไม่ผิดนัก

เป้าหมายที่อีลอน มัสก์ คิดไว้ก็คือการฝังชิปคอมพิวเตอร์ในสมองแบบไร้สาย เพื่อช่วยรักษาสภาพทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และหลอมรวมมนุษย์เข้ากับปัญญาประดิษฐ์

ปี 2563 บริษัทนิวราลิงค์ ก็เผยแพร่วิดีโออัปเดตเกี่ยวกับเวอร์ชันไร้สายของการเชื่อมโยงสมองกับปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถสตรีมการกระทำได้ 1,024 ช่องสัญญาณ เพิ่มกิจกรรมทางประสาทแบบเรียลไทม์ โดยทดลองกับสุกรซึ่งการทดลองแสดงให้เห็นว่าเซลล์ประสาทรับความรู้สึกทำงานอย่างไรและสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยีได้

เมื่อเร็วๆนี้ นิวราลิงค์ก็ปล่อยวิดีโอการทำงานของเทคโนโลยี Brain-machine interface (BMI) ที่จะทำให้คลื่นสมองมนุษย์เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้แขนและมือได้ โดยทดลองกับลิงแสมเพศผู้ที่มีชิปฝังอยู่ที่สมองแต่ละข้าง จะเห็นว่าลิงสามารถเล่น “Mind Pong” ที่เป็นวิดีโอเกมแบบง่ายๆ หลังจากได้รับการฝังเทคโนโลยีใหม่ลงไป อีลอน มัสก์ ถึงกับทวีตในทวิตเตอร์ว่า นี่คือเครื่องมือแรกของนิวราลิงค์ที่จะช่วยให้คนที่เป็นอัมพาตใช้สมาร์ทโฟนได้เร็วกว่าคนที่ใช้นิ้วโป้งเสียอีก

ความสำเร็จอันน่าพอใจของนิวราลิงค์ อาจไม่หยุดแค่การทำไปใช้งานด้านการแพทย์ เพราะขนาดแม็ก โฮดัก ผู้ร่วมก่อตั้งนิวรา–ลิงค์ ยังทวีตว่า “เราอาจสร้างจูราสสิก พาร์ก ได้ถ้าเราต้องการ แต่คงไม่ใช่ไดโนเสาร์แท้ทางพันธุกรรม อาจต้องใช้เวลา 15 ปีในการผสมพันธุ์และวิศวกรรมเพื่อให้ได้สายพันธุ์แปลกใหม่”

ส่วน “เรา” ที่แม็ก โฮดักเอ่ยถึงนั้นจะรวมถึงอีลอน มัสก์หรือไม่? ชายหนุ่มไม่ได้เฉลย

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2068544