เกิดแล้วในเมืองไทย! “ลิเธียมไอออน” แบตเตอรี่สะอาด พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบตเตอรี่พลังงานสะอาด ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อนำมาใช้ทดแทนแบบเดิมที่เป็นตะกั่วกรด และตอบรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานที่ดีที่สุด อายุการใช้งานนาน น้ำหนักเบา และไทยกำลังจะมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

โดยเมื่อปี 2561 บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ นิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ซิตี้ ในการดำเนินโครงการต่างๆ ในเครือ EA ในพื้นที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี หนึ่งในนั้นคือการสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออนของ EA มูลค่าการลงทุนเฟสแรกประมาณ 5,000 ล้านบาท ตั้งเป้ากำลังการผลิต 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี จำหน่ายในเมืองไทยและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ EA

ชาญยุทธ ฉายาวัฒนะ Director & Deputy Chief Executive Officer (Technical)
บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

จากพลังงานหมุนเวียนสู่แบตเตอรี่รักษ์โลก

ชาญยุทธ ฉายาวัฒนะ Director & Deputy Chief Executive Officer (Technical) บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงที่มาของโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมแห่งแรกของเมืองไทยว่า เนื่องจาก EA มีจุดเริ่มต้นมาจากการอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สร้างโรงงานผลิตไบโอดีเซล (B 100) กลีเซอร์รีนและผลิตภัณฑ์พลอยได้ต่างๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในจังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ ลำปาง พิษณุโลก โรงไฟฟ้าพลังงานลมในนครศรีธรรมราช สงขลา และชัยภูมิ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการผลิตพลังงานหมุนเวียนในยุคแรกคือไม่สามารถกักเก็บพลังงานไว้ใช้ในช่วงที่ต้องการได้ จึงมองหาเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน กระทั่งได้รู้จักบริษัท AMITA TECHNOLOGY INC ประเทศไต้หวัน บริษัทผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมชั้นนำในไต้หวัน เจรจากันไปมา กระทั่งตกลงเป็นหุ้นส่วนกัน โดย EA เข้าไปซื้อหุ้น และเริ่มโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมในเมืองไทย โดยใช้โนฮาวของอมิตาเทคโนโลยีไต้หวัน

อมิตาฯ ผู้บุกเบิกแบตเตอรรี่ลิเธียม

สำหรับ บริษัท AMITA TECHNOLOGY INC ประเทศไต้หวัน ถือเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลีเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งดำเนินการมาผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมมาตั้งแต่ปี 2000 เพื่อต้องการสร้างนวัตกรรมแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในโรงงานเป็นระบบปิดที่ใช้ออโตเมชั่นบริหารจัดการ ปราศจากสารปนเปื้อนไหลออกจากโรงงาน ได้รับการยอมรับจากชุมชนอยู่ร่วมกับโรงงานได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมในไต้หวัน เพื่อใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เปิดให้ชุมชนเข้ามาตรวจสอบระบบการผลิตได้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็ต้องการตอบโจทย์การใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าในสังคมยุคใหม่ที่ต้องการอุตสาหกรรมสะอาด มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทสามารถผลิตสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและกลายเป็นผู้นำในกลุ่มแบตเตอรี่ลิเธียมในไต้หวัน

“เนื่องจากเขาอยู่ในวงการนี้มา 20 กว่าปี ตั้งแต่ปี 2000 ตัวโปรดักส์ของเขาถือว่ามีคุณภาพสูง ขายให้กับหลายอุปกรณ์ที่ใช้ลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ แต่ของเขาสเกลค่อนข้างเล็ก เราก็เลยอัพสเกลมาเมืองไทย เพื่อเปิดตลาดในเซาท์อีสต์เอเชียด้วย จึงเป็นที่มาของการซื้อหุ้น เพิ่มทุน จนตอนนี้ EA กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 77% โรงงานใน อ.บางปะกง จึงถือว่าเป็นบริษัทลูกของ EA และเป็นบริษัทผลิตแบตเตอรี่ของคนไทย” คุณชาญยุทธ์ กล่าว

ยานยนต์ไฟฟ้าหนุนเติบโต

แม้จุดเริ่มต้นของ EA จะต้องการนำเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมาใช้เพื่อกักเก็บพลังงานหมุนเวียนทั้งในกิจการของบริษัท และป้อนให้กับอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนทั่วไป แต่การเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าส่งผลให้แนวโน้มความต้องการแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนพุ่งขึ้นอย่างมากมาย กลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่เข้ามาตอบสนองกระบวนการรักษ์โลกอย่างลงตัว

“อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ากำลังจะเข้ามาทดแทนรถยนต์สันดาปภายใน แบตเตอรี่คือหนึ่งในต้นน้ำของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ตรงนี้จึงถือว่าเป็นโซ่ข้อกลางที่จะมาเติมเต็มในหลายๆ เรื่อง ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ถ้าเราตกขบวนจับเทรนด์นี้ไม่ทันก็จะก้าวไม่ทันกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทุกคนมองคล้ายกัน เวียดนามผลิตรถยนต์วินด์ฟาสต์สำเร็จแล้ว อินโดก็เชิญผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายค่ายให้เข้าไปลงทุน แม้แต่ยุโรปเดิมใช้แบตเตอรี่ลิเธียมในโทรศัพท์เคลื่อนที่และโน้ตบุ๊คเป็นหลัก โดยซื้อแบตเตอรี่จากผู้ผลิตฝั่งเอเชีย พอเทสลาเริ่มขับเคลื่อนโครงการรถยนต์ไฟฟ้าก็อยู่เฉยไม่ได้ ต้องเข้ามาร่วมผลิตแบตเตอรี่ด้วย ประกาศวิชั่น 2030พลัส ฝั่งอเมริกามีหลายบริษัททำลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ แต่การพัฒนายังสู้เอเชียไม่ได้ เพราะว่าเราทำเป็นแมส จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นผู้นำตลาดอยู่ตอนนี้ ก่อนหน้านี้เทสลาก็พึ่งแบตเตอรี่จากพานาโซนิค ตอนหลังจึงเริ่มคิดทำเอง ทุกคนมองคล้ายกัน เป็นอีกหนึ่งดิสรัปต์ในอุตสาหกรรมนี้ที่ถ้าเราปรับตัวไม่ทันจะตกขบวนแน่นอน”

รูปลักษณ์สวยงาม พลังงานสะอาด

คุณชาญยุทธกล่าวอีกว่า แม้ในช่วงที่ผ่านมาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะมีราคาแพง แต่เมื่อความต้องการสูงขึ้นราคาก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตต้นทุนต่อหน่วยจะถูกกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรด ค่าความจุสูงกว่า ใช้งานได้นานกว่า ที่สำคัญคือลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่สะอาด การผลิตปราศจากมลพิษ ข้างในเป็นอิเล็กโทรไลต์ จึงได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ

“ที่ผ่านมาพอพูดถึงแบตเตอรี่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงแบตเตอรี่ตะกั่วกรด แต่ลิเธียมไอออนมีขนาดเล็กกว่านั้น ก่อนหน้านี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และโน้ตบุ๊ค เพราะฉะนั้นจึงแตกต่างทั้งรูปลักษณ์และคุณสมบัติ ตอนแรกที่เราจะเข้าไปตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมในบางปะกงก็มีคนกังวลว่าจะมีสารอะไรที่เป็นอันตรายหรือเปล่า เราก็ต้องพยายามอธิบายให้ชาวบ้านเห็นภาพว่าถึงเขาเรียกว่าแบตเตอรี่ แต่ลิเธียมไอออนไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ตะกั่วกรด กระบวนการผลิตอยู่ในโรงงานสะอาด เป็น Clean Room”

คลัสเตอร์ใหญ่แห่งอนาคต

คุณชาญยุทธ์มองแนวโน้มอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ลิเธียมว่าจะเติบโตอีกมาก ทั้งกลุ่มผู้ผลิตต่างชาติที่จะเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการผลิต กลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่ปรับไลน์การผลิตมาสู่ลิเธียมไอออน กลุ่มบริษัทพลังงานที่สนใจในอุตสาหกรรมนี้ และกลุ่มผู้เล่นรายใหม่

“ผมไม่มองว่าเป็นการแข่งขัน แต่มองว่าเป็นการพึ่งพากันมากกว่า เป็นคลัสเตอร์เหมือนอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ทุกรายเป็นเครือข่ายเกี่ยวโยงกัน ส่วนใครจะเติบโตอย่างไรขึ้นอยู่กับคุณภาพของแบตเตอรี่ ราคาสินค้า อายุการใช้งาน ความสามารถในการเก็บประจุ ความสามารถในการชาร์ต ความปลอดภัย  ซึ่งเป้าหมายของเราคือเบอร์ 1 ในเมืองไทยและอาเซียน เพราะเราเป็นเจ้าแรกที่ลงทุนและผลิตจริง”

ขณะที่นโยบายส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ให้สิทธิประโยชน์ที่ค่อนข้างดี เพียงแต่อาจมีรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงในอนาคต

“ที่ผ่านมา รัฐพยายามส่งเสริมในภาพรวม แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เป็นของใหม่ จึงยังมีเงื่อนไขที่อาจจะยังไม่ได้รองรับทั้งหมด จึงยังต้องเรียนรู้แก้ไขกันไป ในอดีตเราไม่เคยมีโรงงานลิเธียมไอออน แล้วถ้าจะใช้นโยบายแบบเดียวกับโรงงานแบตเตอรี่ตะกั่วกรดก็ไม่เหมือนกัน ทั้งเรื่องพิกัดภาษี วัตถุดิบ กำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม ในเรื่องภาษี การส่งเสริมจากบีโอไอถือว่าดีในระดับหนึ่ง แต่ในอนาคตอาจต้องส่งเสริมทั้งระบบซัพพลายเชน เป็นคลัสเตอร์ใหญ่เพื่อจะช่วยลดต้นทุนให้อุตสาหกรรมเติบโตไปด้วยกัน เหมือนกับอุตสาหกรรมรถยนต์”

อีอีซีร่วมพัฒนาบุคลากร

ขณะที่อีกหนึ่งจุดเด่นของลิเธียมแบตเตอรี่ไอออนของอมิตาเทคโนโลยีคือการมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี คุณชาญยุทธ์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“การตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อีอีซี ทำให้ได้รับเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือในเรื่องการพัฒนาบุคลากร โดยบริษัทได้เซ็นเอ็มโอยูกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่เพื่อพัฒนาบุคลากรป้อนให้กับโรงงาน เนื่องจากคนที่เรียนด้านแบตเตอรี่โดยตรงค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะลิเธียมซึ่งในอดีตเกิดในไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน สำหรับหลักสูตรที่ใกล้เคียงก็คือหลักสูตรออโตเมชั่น และแมคคาทรอนิกส์”

รีไซเคิลได้ 100%

ลิเธียมแบตเตอรี่ไอออนมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี และเมื่อถึงเวลาเปลี่ยน แบตเตอรี่ยังไม่หมด 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำไปใช้เก็บไฟตามบ้านได้อีก จนกว่าจะเหลือน้อยจริงๆ จึงจะนำไปรีไซเคิล ซึ่งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ก็ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ด้านความร่วมมือในการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

ความร่วมมือดังกล่าวเบื้องต้นมีระยะเวลา 4 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนทรัพยากรในการศึกษาวิจัย ภายใต้โครงการจัดทำเครื่องต้นแบบระบบคายประจุไฟฟ้าและเครื่องแยกชิ้นส่วนเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนชนิดจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูงเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน และการศึกษากระบวนการนำกลับโลหะมีค่า สำหรับเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาโรงงานนำร่องรีไซเคิลแบตเตอรี่ครบวงจร ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเฉพาะของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เทคโนโลยีการผลิตและการทดสอบแบตเตอรี่ และการสนับสนุนด้านทรัพยากร อาทิ ผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือวิจัยต่างๆ นอกจากนี้ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จะนำผลการศึกษาจากโครงการฯ ไปประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 3 ปี หลังจากจบการดำเนินงานโครงการ

เท่ากับว่า ลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ที่ผลิตออกมาจะไม่เหลือของเสียเป็นขยะอิเล็ทรอนิกส์ ตามนโยบายพลังงานบริสุทธิ์นั่นเอง

แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/02/20/thailand-lithium-ion-battery/