ต่อยอด บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ สู่โปรไฟล์ใหม่ ว่าที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G แห่ง EEC

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ไม่ใช่ครั้งแรก ที่เราขอกล่าวถึง บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ เพราะเมืองแห่งนี้ไม่เคยหลับไหล แม้ในช่วงเวลาที่วิกฤตโควิด-19 ยังคงน่าเป็นห่วงอยู่ก็ตาม โดยล่าสุด บ้านฉาง จังหวัดระยอง มีโปรไฟล์ใหม่ ได้รับการยกระดับให้เป็น ว่าที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G ซึ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ได้ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. เพื่อเดินหน้าวางโครงข่าย 5G รองรับระบบสื่อสารต่างๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะเสริมความเข้มแข็งการลงทุน ยกระดับภาคธุรกิจและความเป็นอยู่ประชาชนอย่างยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม

เพราะ โครงข่าย 5G เปรียบเหมือนกุญแจดอกสำคัญที่จะปลอดล็อค บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ ไปสู่การขยายโอกาสให้บริการดิจิทัลในวงกว้าง โดยจะครอบคลุมและตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากขึ้นในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยความเร็วสูงของสัญญาณอินเทอร์เน็ต ให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มีความแม่นยำสูงและความผิดพลาดน้อยที่สุด

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) และระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) ซึ่งอานิสงส์ของการพัฒนาโครงข่าย 5G นี้ จะจูงใจให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ EEC รวมถึงยังเป็นการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยให้เข้าถึงการรักษา การวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ

ส่วนในด้านการเกษตร ยังเป็นการยกระดับการเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีมูลค่าสูง เก็บรักษาได้ยาวนาน เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น บริการ 5G จะช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ชุมชนครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรม สร้างงานสร้างโอกาส ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่อีอีซีด้วย

โดย สกพอ. และ ทีโอที ได้เตรียมให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมทันสมัยนี้เต็มรูปแบบ ในลักษณะของการให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนระหว่างรัฐและเอกชน เป็นการใช้ทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ก่อให้เกิดการผูกขาดของทางภาครัฐด้วย

ทั้งนี้ โครงการนำร่องได้กำหนดไว้ 3 โครงการด้วยกัน โดย 1 ใน 3 คือ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะบ้านฉาง ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยทาง ทีโอที จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการวางท่อร้อยสาย เสาสัญญาณสื่อสารโทรคมนาคม และด้านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ ออปติก หลังจากนั้น เมื่อทดสอบระบบแล้ว จึงจะประกาศให้ บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ เป็นพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G และจหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เพื่อพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเพิ่มเติมสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ต่อไป

ความพร้อมของ บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ กับก้าวสำคัญสู่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G

สุชิน พูลหิรัญ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านฉาง ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ใน รายการ EEC FOCUS ที่เผยแพร่ทาง TNN Online ในเรื่อง “”บ้านฉาง”ต้นแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G” ว่า

“ทางเทศบาลตำบลบ้านฉาง ได้เตรียมความพร้อมให้บ้านฉาง พัฒนาไปสู่ความเป็นสมาร์ทซิตี้ ตั้งแต่ก่อนเกิดโครงการ EEC แล้ว โดยโจทย์สำคัญที่ตั้งไว้คือ จะทำให้อย่างไรให้ภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และชาวบ้านฉาง เติบโตไปพร้อมกันได้ โดยชาวบ้านฉางมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพหลักที่ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวได้ เพราะแต่เดิม อาชีพหลักของชาวบ้านฉาง คือ เกษตรกร ซึ่งในตอนนี้ก็ทำแล้วได้ผลผลิตไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ด้วยปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และความสมบูรณ์ของดิน น้ำ ไม่มีมากเหมือนเดิม”

สุชิน พูลหิรัญ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านฉาง

“ตอนนี้สังคมของชาวบ้านฉาง บอกได้เลยว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในหลายด้าน จากเกษตรกร ก็มาทำอาชีพค้าขาย หรือมาลงทุนด้านการทำที่อยู่อาศัยให้เช่า ซึ่งผมมองว่ามันตอบโจทย์การเติบโตของเมืองบ้านฉางในแง่ที่เรากำลังจะเป็นสมาร์ทซิตี้เต็มรูปแบบ และจะเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G ได้เป็นอย่างดี”

“และความโดดเด่นของบ้านฉาง ที่ทำให้เราสามารถพัฒนาเป็นได้ทั้ง เมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G คือ มีทางหลวงหมายเลข 7 หรือ มอเตอร์เวย์ มุ่งตรงสู่พื้นที่ และยังมีชัยภูมิที่ใกล้กับศูนย์กลางโลจิสติกส์ต่างๆ ทั้งทางอากาศ คือ สนามบินอู่ตะเภา และทางน้ำ คือ ท่าเรือมาบตาพุดด้วย”

ด้าน สุทธา เหมสถล เลขานายกเทศมนตรี ตำบลบ้านฉาง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า

“ในขณะที่เราทำ มาสเตอร์ แพลน ของเมืองใหม่ เราได้คำนึงถึง พื้นที่เมืองเก่า ซึ่งเป็นพื้นที่ติดทะเลยาว 3 กิโลเมตร โดยใช้แนวทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ ด้วยการจัดพื้นที่ให้มี ท่าเรือ Smart port เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต และยังวางระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหมดไว้ครบ นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านฉางได้รับรู้ว่า เมื่อโครงการ EEC เกิดขึ้นแล้ว มาพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เครือข่ายโทรคมนาคม จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเขาได้ในด้านใดบ้าง”

สุทธา เหมสถล เลขานายกเทศมนตรี ตำบลบ้านฉาง

“นอกจากนั้น ตำบลบ้านฉางของเรา ยังทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน เพื่อมุ่งผลสำเร็จของการสร้างสมาร์ทซิตี้อย่างแท้จริง อย่างการร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มาช่วยเก็บข้อมูลของเมือง เพื่อวางแผนพัฒนาเมืองไปสู่ความเป็นสมาร์ทซิตี้ โดยเก็บในรูปแบบของ Big data ที่ไปเชื่อมต่อกับระบบการดูแลความปลอดภัยให้กับชาวบ้านและนักท่องเที่ยวอย่างเป็นองค์รวมด้วย”

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราคาดหวังว่าเมื่อมีเครือข่าย 5G เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลบ้านฉางแล้ว จะทำให้เรามีระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่ทันสมัย ด้วยการใช้ระบบ Telemedicine ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือ รพสต. ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ทาง รพสต. สามารถรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น ผ่านการเชื่อมต่อ 5G ไปยัง รพ.ระดับศูนย์ เป็นการรักษาผู้ป่วยผ่านระบบการให้คำแนะนำการรักษาผ่านเทคโนโลยี Telemedicine นั่นเอง”

ผ่าผังเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง ชี้ตัวอย่างความสมาร์ทนำร่อง 3 ด้านที่จับต้องได้ ตามหลักสมาร์ทซิตี้

สำหรับเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง จะมีพื้นที่กว้างถึง 1,888 ไร่ ให้พัฒนาและต่อยอด โดยแผนการวางผังเมืองใหม่นี้ ปรมินทร์ แสงศักดิ์สิทธารถ รองปลัดเทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง ได้อธิบายจุดเด่นให้ฟังแบบย่อๆว่า

ปรมินทร์ แสงศักดิ์สิทธารถ รองปลัดเทศบาลตำบลบ้านฉาง

“ทางทิศเหนือของเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง จะติดกับทางรถไฟสาย สัตหีบ-มาบตาพุด ในอนาคต มอเตอร์เวย์จะตัดผ่านทางทิศเหนือของ เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง และรถไฟทางคู่ที่จะไปเชื่อม จันทบุรี และตราด ก็จะผ่านทางทิศเหนือของเมืองเช่นกัน”

“นอกจากนั้น ในบ้านฉางมีศักยภาพ เรื่อง ทรัพยากรน้ำ ที่มาจาก คลองพยูน แหล่งน้ำหลักของบ้านฉาง โดยตามสถิติ ปริมาณน้ำฝนที่ไหลมารวมที่คลองพยูนนี้จะมีถึง 30 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี จึงเหมาะสำหรับการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่เมืองใหม่ทั้งหมดและหล่อเลี้ยงการนิคมฯ หรือพื้นที่รอบข้างได้”

“และเรายังมีการวางโครงการ Solar Coating ไว้ที่บริเวณบ่อกักเก็บน้ำเสีย ซึ่งคาดว่าพื้นที่เมืองใหม่จะได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาดนี้ได้”

“ในส่วนของการวางผังเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง เรายังปรับพื้นที่ของที่ดินเดิม ซึ่งเป็นตึกรามบ้านช่องสมัยเก่า ซึ่งเมื่อตีศักยภาพของพื้นที่แล้วมีมูลค่าและมีศักยภาพสามารถพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์ได้สูง ด้วยเหตุนี้ เราจึงบริหารจัดการที่ดินและการใช้สอยที่ดินใหม่ เป็นพื้นที่อาคารสูง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ดินในทางพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรมในเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไป”

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะวิเคราะห์ความสมาร์ทของ บ้านฉาง ที่พร้อมสำหรับการพัฒนาเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G นั้น รองปลัดเทศบาลตำบลบ้านฉาง อธิบายตามหลักของการเป็นสมาร์ทซิตี้ว่าที่ depa กำหนดไว้ โดยยกตัวอย่างความสมาร์ท 3 ด้าน ให้เห็น ดังนี้

Smart Environment : สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ

ทางเทศบาลตำบลบ้านฉาง ได้รับงบประมาณจากองค์การจัดการน้ำเสีย ที่จะมาปรับปรุงพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียในคลองพยูน ภายในปี 2565 ส่วนเรื่องคุณภาพอากาศของเมือง เราได้วาง พื้นที่สีเขียวของเมืองไว้ พร้อมติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดอากาศ และมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำแล้วส่งไปที่ Data Center ของเมือง เพื่อวางแผนบริหารจัดการต่อไป

ในส่วนน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว ได้วางแผนไว้ว่าจะส่งไปให้ทางภาคอุตสาหกรรมใช้ต่อไป จากเดิมที่น้ำเสียประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร จะไหลลงคลอง ผ่านลงไปทะเล ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และทำข้อตกลงกับทางภาคอุตสาหกรรมให้รับหน้าที่ในการบำรุงรักษาระบบนี้ด้วย

Smart Energy : พลังงานอัจฉริยะ

ต่อไปในอนาคตอันใกล้ เทศบาลตำบลบ้านฉาง จะไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเลย เพราะบ้านฉางจะใช้พลังงานสะอาด จากแหล่งผลิตโซลาร์เซลในเมืองใหม่ โดยในอนาคตได้วางแผนไว้ว่าจะมีการติดตั้งกังหันลม เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะทำให้เรามีพลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด

โดยตอนนี้คำนวณได้ 15 เมกะวัตต์ เพียงพอสำหรับการใช้งานในเมือง ที่ตั้งเป้าไว้ว่าในเมืองใหม่นี้จะรองรับจำนวนคนประมาณ 15,000 คน โดยทุกบ้านจะได้รับการติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ ซึ่งจะทำรู้ว่าบ้านหลังไหน ใพลังงานเท่าไร ทำให้เราควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ด้วยอีกทางหนึ่ง

Smart Governance : การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ

ในการบริหารจัดการที่ดิน ใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยใช้นวัตกรรมการจัดรูปที่ดิน หรือ Land Judgement คือการเอาที่ดินแต่ละแปลงของเจ้าของที่ดินหลายคน ซึ่งมีลักษณะบิดเบี้ยวหรือบางที่ก็เป็นที่ดินตาบอด จากนั้นเอามารวมกันและจัดรูปใหม่ โดยแบ่งให้เป็นพื้นที่สวยงาม อาจจะให้ติดถนนทั้ง 2 ด้าน หรือ 3 ด้าน

และเมื่อได้พื้นที่ดินแปลงใหม่ ก็จะจัดในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือ Infrastructure โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเนรมิตให้ พื้นที่เกษตรกรรมเก่า มีถนนตัดผ่าน โดยถนนเส้นหลักกว้าง 30-40 เมตร สายรองกว้าง 20-10 เมตร และในเมืองก็จะไม่มีสายไฟระโยงระยางให้รกตาเลย

อ้างอิง :

รายการ EEC FOCUS ในเรื่อง “”บ้านฉาง”ต้นแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G” และ เรื่อง “พลิกวิถีเกษตรสู่วิถีไฮเทค กับ SMART CITY “บ้านฉาง”” เผยแพร่ทาง TNN Online

รายงานข่าว เรื่อง “ทีโอทีเซ็น MOU อีอีซี ‘อินฟราแชริ่ง-สมาร์ทซิตี 5G บ้านฉาง’” เผยแพร่ 9 พ.ย. 2563 โดย ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/02/03/ban-chang-smart-city-2021/