TRANSPORTATION SECURITY: ความปลอดภัยท่าเรือ

Share

Loading

สวัสดีเพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ สถานการณ์ COVID-19 ของโลกยังคงดำเนินต่อไป พิษเศรษฐกิจก็ยังคงรุมเร้าทั่วโลก ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านที่เคารพดูแลรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้แข็งแรงเนื่องจากเรายังคงต้องอยู่กับโรคระบาด COVID-19 ต่อไปอีกนาน

ความปลอดภัยการขนส่งทางน้ำ 2-3 ฉบับที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่อยู่แต่ในทะเลทั้งนั้นเลย ฉบับนี้จะขออนุญาตพาท่านผู้อ่านขึ้นจากน้ำมาที่ท่าเรือ (Sea Port) กันบ้างนะครับ

ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่ามีการจัดอันดับท่าเรือที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลกเช่นเดียวกับท่าอากาศยานด้วยและการจัดอันดับประจำปี 2019 (วัดปริมาณตลอดทั้งปี 2518) อันดับ 1 คือ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ (SIPG : China’s Shanghai International Port Group)…..<<การจัดอันดับปี 2020 น่าจะติด COVID อยู่ครับ>>…..

Sea Port Security คือ ความปลอดภัยท่าเรือ (เดินทะเล) มีระเบียบหรือแบบแผนเพื่อการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล ISPS Code (International Ship and Port Facility Security)

ข้อบังคับตาม ISPS Code สำหรับเรือที่เดินทางระหว่างประเทศทุกลำ ประกอบด้วย
  • เรือโดยสาร และเรือเร็ว (passenger ships, including high-speed passenger craft)
  • เรือบรรทุกสินค้า และเรือเร็วที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส ขึ้นไป (cargo ships, including high-speed craft of 500 gross tonnage or more)
  • แท่นชุดเจาะ (mobile offshore drilling units)
  • การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าเรือ (port facilities serving vessels engaged on international voyages)
  • ข้อบังคับนี้ยกเว้น เรือรบ กองกำลังเสริมทางน้ำ และเรือที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล (These Regulations do not apply to a warship, naval auxiliary or any other ship owned or operated by a Contracting Government and used only on Government non-commercial service)

ดังนั้นพื้นที่ภายในท่าเรือทั้งขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศจะต้องมีหน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นเดียวกับท่าอากาศยานนานาชาติ คือ การท่าเรือ ซึ่งต้องเป็นสมาชิกของ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO : International Maritime Organisation) ผู้ที่จัดทำ ISPS Code เพื่อใช้เป็นคำแนะนำในการวางแผนการรักษาความปลอดภัยท่าเรือ (Port facilities security plan) ให้แต่ละประเทศนำไปกำหนดระเบียบปฏิบัติของกันเอง

การวางแผนการรักษาความปลอดภัยท่าเรือ (Port facilities security plan)

*คู่มือสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในท่าเรือ (Port Security Awareness Handbook : Port of Rotterdam)* ประกอบด้วย

1. การกำหนดระดับของภัยคุกคาม (Security Level) แบ่งเป็น 3 ระดับ

ระดับที่ 1 : สถานการณ์ปกติใช้มาตรการความปลอดภัยทั่วไป

ระดับที่ 2 : สถานการณ์ไม่ปกติ (มีความเสี่ยง) เพิ่มมาตรการวิธีปฏิบัติและการตรวจตราด้านความปลอดภัยให้มากขึ้นในช่วงเวลานั้น

ระดับที่ 3 : สถานการณ์ฉุกเฉิน (ภัยคุกคามเข้าสู่พื้นที่บริเวณท่าเรือ) ยกระดับมาตรการวิธีปฏิบัติและการตรวจตราด้านความปลอดภัยสูงสุด อาจจำกัดการเข้า-ออกพื้นที่บางบริเวณ พื้นที่หวงห้าม หรือพื้นที่ที่มีความเปราะบาง

2. การกำหนดวัตถุประสงค์การจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยท่าเรือ (The objectives of the port facility security plan)

a) ระเบียบการควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่อย่างเหมาะสม (Ensure fitting access control procedures)

b) เฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนการรักษาความปลอดภัยตามสถานการณ์ (Improve and follow-up security on the site)

c) ดูแลความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ พนักงาน และบุคคลภายนอก (Protect employees and visitors)

d) ดูแลความปลอดภัยเรือที่เทียบท่าอยู่ในพื้นที่ท่าเรือ (Protect the ships moored alongside)

e) ดูแลความปลอดภัยอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ท่าเรือ (Protect the port facility and the equipment)

f) ดูแลความปลอดภัยพื้นที่คลังสินค้า (Protect the cargo)

3. กำหนดขั้นตอนการประสานงานและติดต่อสื่อสาร (Means of communication)

เมื่อมีการยกระดับของภัยคุกคาม (Security Level) ต้องมีระบบการแจ้งเตือน (Alarm System) และระเบียบปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารในพื้นที่ท่าเรือ (Communication procedures)

4. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน (What is your task, as a port employee)

a) สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ทำงานอยู่

b) ตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์/ระบบ ในการปฏิบัติงานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

c) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องระดับของภัยคุกคาม (Security Level)

d) รู้หน้าที่และระเบียบปฏิบัติเมื่อเกิดภัยคุกคามในระดับต่าง ๆ

e) ในกรณีที่ไม่แน่ใจเรื่องหน้าที่และระเบียบปฏิบัติเมื่อเกิดภัยคุกคาม หรือมีข้อสงสัยให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของท่าเรือ (PFSO : Port Facility Security Officer)

ความรับผิดชอบของ PFSO ที่การท่าเรือรอทเทอร์ดาม ให้ความสำคัญมากคือการทดสอบเจาะจงเฉพาะบางจุด หรือบางพื้นที่ (Drill) ทุก ๆ 3 เดือน และทำการทดสอบประจำปี (Exercise Major) โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป

แล้วพบกันใหม่กับเรื่องราวของ Transportation Security ฉบับหน้า ขอให้ผู้อ่านที่เคารพทุกท่านสุขภาพแข็งแรงนะครับ

โดย เตชิต ทิวาเรืองรอง

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.imo.org/

https://www.alcottglobal.com/infographics/

https://sites.google.com/site/mythuyinternationalseaport/-PR-Centre/Photos

https://www.portofrotterdam.com/

0