TRANSPORTATION SECURITY

Share

Loading

สวัสดีปีใหม่เพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ ต้อนรับปีหนูด้วยความวุ่นวายของผู้นำโลกอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุการณ์ลอบสังหารนายทหารระดับสูงของอิหร่าน “พลตรี คัสเซม โซไลมานี” ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าจะลุกลามบานปลายไปขนาดไหนนะครับ

เช่นเดียวกับฉบับส่งท้ายปีหมู 2562 ที่ความตั้งใจว่า จะต่อเรื่องของระเบียบปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยด้านการบิน แต่มีเรื่องเกี่ยวกับแวดวงการบินที่น่าสนใจที่จะขออนุญาตเอามาอัพเดทกันอีกแล้วครับ

เรื่องแรกก็คงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ที่ได้เกริ่นทักทายไว้ในย่อหน้าแรก แต่เราจะไม่แตะเรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกได้ติดตามรับทราบข่าวสารเป็นอย่างดีอยู่แล้ว (อาจจะดีกว่าผู้เขียนด้วยซ้ำไป..) ในเมื่อพวกเราอยู่ในแวดวงของความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นทางน้ำ ทางบก (รวมทางรางด้วย) และทางอากาศ เราควรให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ด้วย

UAV เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (UAV: Unmanned Aerial Vehicles) หรือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า “DRONE” มากกว่า

ในปัจจุบัน Drone ถูกนำไปใช้งานที่ก่อเกิดประโยชน์มากมาย แต่ท่านต้องไม่ลืมว่า จุดกำเนิด UAV มาจากเหตุผลทางด้านการทหาร และในเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นเช่นนั้น M99 Reaper อันทรงอานุภาพที่มีจรวดทำลายล้าง (Missile) กล้องประสิทธิภาพสูง และพิสัยในการบิน การบรรทุกน้ำหนัก/ความเร็ว

ด้วยความแม่นยำในการปฏิบัติการโดยนักบินและผู้ควบคุมจรวด จนทำให้โลกตะลึง!!

<p>
<p>

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องของอากาศยานอีกแต่เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีข่าวมาตลอดปี 2552 จนกระทั่งวันนี้ นั่นก็คือ BOEING 737 MAX ถือว่าเป็นเครื่องบินพาณิชย์ตระกูล Boeing 737 รุ่นที่ 4 (Generation 4th) มีลักษณะรูปทรงแบบ Narrow-body aircraft (เครื่องบินลำตัวแคบ) หรือ Single-aisle aircraft (เครื่องช่องทางเดินเดียว) เครื่องยนต์แบบ Twinjet หรือ Twin-engine jet เป็นเครื่องบินสัญชาติสหรัฐอเมริกา

Boeing 737 MAX ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกในเชิงพาณิชย์ กับ Malindo Air สายการบินต้นทุนต่ำที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 ชาติเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา (Malaysia กับ Indonesia) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2017 (พ.ศ. 2560)

Boeing 737 MAX ถือเป็นเครื่องบินรุ่นที่ยอดขายเติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทโบอิ้ง โดยเริ่มตั้งแต่เปิดตัว (ยังไม่ได้เริ่มสายการผลิตเลยนะครับ) ปี 2011 (พ.ศ. 2554) มีคำสั่งซื้อเกือบ 5,000 ลำจากทั่วโลกมากกว่า 100 สายการบิน แต่สามารถส่งมอบเจ้า Boeing 737 MAX จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2019 (เมื่อปีที่แล้วนี้เอง) ได้เพียง 387 ลำ ก็จำเป็นต้องยุติ

สายการผลิตได้ยุติลงในวันที่ 16 ธันวาคม 2019 (พ.ศ.2562) และหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการบินพลเรือนของแต่ละประเทศ (Civil Aviation Authority) มีคำสั่งให้จอด Boeing 737 MAX ทุกลำห้ามขึ้นบินโดยเด็ดขาด

สาเหตุที่ Boeing 737 MAX ประสพโชคชะตาเช่นนี้ มาจาก 2 เหตุการณ์ คือ Boeing 737 MAX 8 ของสายการบิน Lion Air เที่ยวบิน JT 610 ตกทะเล เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2018 (พ.ศ.2561) จนเป็นเหตุให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 189 รายเสียชีวิตหลังจากบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติจาการ์ตา เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ 13 นาที

Boeing 737 MAX 8 ของสายการบิน Ethiopian Airlines เที่ยวบิน ET 302 ตกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2019 (พ.ศ.2562) ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 157 คนเสียชีวิตหลังจากบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติแอดดิสอาบาบา เมืองหลวงประเทศเอธิโอเปียประมาณ 6 นาที

ทั้งสองเหตุการณ์น่าจะมีสาเหตุมาจากระบบความปลอดภัยอัตโนมัติของเครื่องบินทำงานผิดพลาด ซึ่งทาง Boeing และ FAA (Federal Aviation Administration) ก็ยังคงทำงานเรื่องนี้กันอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าความปลอดภัย โดยเฉพาะด้านการบินเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ แต่ผู้เขียนอยากเรียนท่านผู้อ่านที่เคารพว่า การเดินทางโดยเครื่องบินถือเป็นการเดินทางที่ยังคงปลอดภัยที่สุดในโลกอยู่ครับ

ข้อมูลอ้างอิง

https://timesofindia.indiatimes.com/world/us/us-kills-top-ranian-general-middle-east-region-seethes-with-fury/articleshow/73087446.cms

https://www.boeing.com/commercial/737max/

https://en.wikipedia.org/wiki/Boeing_737_MAX

https://www.faa.gov/news/updates/?newsid=93206&omniRss=news_updatesAcc&cid=101_N_U