ธุรกิจของคุณพร้อมแล้วหรือยังสำหรับ ไทยแลนด์ 4.0

Share

Loading

ไทยแลนด์ 4.0 และหัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจ คือ หัวข้อสนทนาที่เราได้ยินกันอยู่รายวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณคือเจ้าของกิจการ

และแม้จะเคยได้ยินตามที่กล่าวมา คุณอาจไม่เห็นว่าเรื่องเหล่านี้มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเล็ก ๆ อย่างคุณเพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการใช้งานในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีอย่างปัจจุบันนั้น มีผลแค่เฉพาะกับองค์กรขนาดใหญ่ ความเชื่อดังกล่าวอาจทำให้คุณมองข้ามความจริงที่ว่า เทคโนโลยีใน 10 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปมากและส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของการทำงานร่วมกันของพนักงาน เรื่องความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูลสำคัญของธุรกิจ และเรื่องทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่อาจเกิดการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเนื่องจากเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่ดึงดูดต่อการทำงานของคนรุ่น Gen X, Y และ Z ในอนาคต

การใช้งานอุปกรณ์ไอทีและระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย นอกจากจะช่วยดึงดูดแรงงานที่มีทักษะให้มาเข้าร่วมทีมแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานร่วมกันของพนักงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเอกสารร่วมกันผ่านระบบคลาวด์ เพิ่มความคล่องตัวเพราะสามารถทำงานได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา ช่วยสร้างความพึงพอใจของพนักงานในบริษัท ซึ่งมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน

คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร

ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร
ขนาดกลาง
ขนาดย่อม และบริหาร
พันธมิตร
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

การทำงานแบบ โมบาย เวิร์คกิ้ง (Mobile working) หรือ การทำงานที่เรามีการเคลื่อนที่ตลอด เช่นทำงานนอก กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในหมู่แรงงานยุคใหม่ ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องตามให้ทัน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจจากไมโครซอฟท์ พบว่า มีผู้ประกอบการในประเทศไทยเพียง 24% เท่านั้นที่มีนโยบายเกี่ยวกับ โมบาย เวิร์คกิ้ง

นอกจากการมีอุปกรณ์ไอทีและระบบปฏิบัติการที่ทันสมัยจะมีผลด้านทรัพยากรบุคคลแล้ว อุปกรณ์ไอที เช่นคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ยังช่วยประหยัดทรัพยากรทางการเงิน เนื่องจากคุณไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านไอทีซัพพอร์ท ลดปัญหาเครื่องเสียต้องส่งซ่อมซึ่งสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลาในการทำงาน รายงานจากไมโครซอฟท์ระบุว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอายุมากกว่า 4 ปีนั้นมีโอกาสเสียมากกว่าอุปกรณ์ใหม่ถึง 3.3 เท่า ซึ่งเทียบเป็นเงินราว 1,631 USD ต่อเครื่อง (หรือราว 50,561 บาท หรือคอมพิวเตอร์ใหม่ 2 เครื่องหรือมากกว่า) และเสียเวลาในการทำงานมากถึง 208 ชั่วโมงต่อปี

นอกจากนี้ การมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการที่ทันสมัยยังช่วยเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับธุรกิจของคุณ ซึ่งจากรายงานพบว่า ความปลอดภัยด้านไซเบอร์เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการ SME โดยกว่า 62% ของผู้ประกอบการยอมรับว่าเคยประสบปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหล อีกทั้งการใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่ายังสร้างความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่มีการอัปเดทอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นเสมือนป้อมปราการในการป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์จากแฮกเกอร์

ถึงเวลาอัปเกรดเทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้า

Software-as-a-Service หรือการเช่าใช้ซอฟต์แวร์นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ประกอบการ SME ไม่ควรมองข้ามเพื่อรับมือกับความผันผวนต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจและการทำงานในยุคดิจิทัล ซึ่งบริการเหล่านี้นอกจากจะมาพร้อมโซลูชั่นที่ทันสมัยอย่างคลาวด์ และรองรับการซัพพอร์ททางไอทีแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางเทคโนโลยี จากการสำรวจ กว่า 71% ของ SME ได้มีการอัปเกรดระบบปฏิบัติการเป็น Windows 10 ในปีที่ผ่านมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดิม ซึ่งสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 กำลังจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2020

เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เพิ่มยอดขาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมเครื่อง การเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการใหม่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะการเปลี่ยนแปลง อาจหมายถึงการอยู่รอดของธุรกิจของคุณ