Water Bank บ่อหน่วงน้ำใต้ดิน โครงการบรรเทาน้ำท่วมกรุงฯ

Share

Loading

อย่างที่ทราบกันดีว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความลาดชันน้อย และมีระดับต่ำกว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีน้ำท่วมขึงจะทำให้น้ำไม่สามารถไหลตามธรรมชาติลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้เอง หน่วยงานของกรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยมีทั้งหมด 3 โครงการซึ่งก็คือ 1. โครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (Water Bank) บริเวณวงเวียนบางเขน 2. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม (Pipe Jacking) บริเวณถนนทรงสวัสดิ์ ถนนเยาวราช และถนนเจริญกรุง 3. โครงการปรับปรุงสถานีสูบน้ำตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต ระบายน้ำลงระบบอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ

            โครงการบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (Water Bank) จัดทำขึ้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง 5 แห่ง ประกอบด้วย บริเวณสน.บางเขน เขตบางเขน ปากซอยสุทธิพร 2 ถนนอโศกดินแดง เขตดินแดง หมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค สวนสาธารณะใต้สะพานข้ามแยกถนนรัชดาฯ ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร และใต้สะพานข้ามแยกถนนกรุงเทพกรีฑาตัดกับถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ ซึ่งโครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน 3 แห่ง ที่ได้รับการจัดสรรงบฯก่อสร้างแล้ว ได้แก่ บริเวณสน.บางเขน ปากซอยสุทธิพร 2 ถนนอโศกดินแดง และหมู่บ้านเศรษฐกิจ

Underground water bank 2

            ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำเผยว่า ที่ผ่านมาได้ตั้งคณะทำงานพัฒนาพื้นที่หน่วงน้ำในกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาจัดหาพื้นที่และออกแบบพื้นที่หน่วงน้ำให้เหมาะสมกับสภาพเมืองในปัจจุบัน ซึ่งผลการศึกษาของคณะทำงานฯ ได้เสนอให้จัดทำโครงการบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน หรือธนาคารน้ำ (Water Bank) ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วในพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วม และมีปัญหาน้ำท่วม อาทิ บริเวณสน.บางเขน เขตบางเขน ซึ่งเมื่อฝนตกปานกลางถึงหนักจะเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำ อีกทั้งยังเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังใน 17 จุด ของสำนักการระบายน้ำ เป็นต้น โดยพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ของ กทม. และหน่วยงานรัฐที่สามารถพัฒนาร่วมกันได้ก่อน ในระยะแรกดำเนินการ 4 แห่ง ได้แก่

  1. Water Bank วงเวียนบางเขน ในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน ก่อสร้างแล้วเสร็จและใช้งานแล้ว
  2. Water Bank ปากซอยสุทธิพร 2 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
  3. Water Bank บริเวณสวนสาธารณะ ถนนรัชดาภิเษก ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต
  4. Water Bank แยกถนนศรีนครินทร์ ตัดกับถนนกรุงเทพกรีฑา อยู่ระหว่างกระบวนการจัดจ้าง

            สำหรับรูปแบบก่อสร้างจะเริ่มจากวางบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดิน จากนั้นจะวางท่อระบายน้ำเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 1.20 ม. สำหรับรับน้ำฝนในช่วงเวลาที่ฝนตกเข้ามาเก็บไว้ที่บ่อ โดยการเชื่อมท่อระบายน้ำเข้ากับท่อระบายน้ำเดิม หรืออาจจะวางท่อใหม่จากบ่อหน่วงน้ำไปยังคลองโดยตรง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เมื่อฝนหยุดตกจะสูบน้ำจากบ่อหน่วงน้ำระบายลงคลองในพื้นที่ต่อไป

            Water Bank ทำหน้าที่คล้ายธนาคาร แต่เปลี่ยนจากฝากเงินเป็นฝากน้ำฝนก่อนปล่อยสู่คลอง กลไกการทำงานบ่อจะรับน้ำฝนที่ตกลงมาเก็บไว้ก่อน เหมือนฝากน้ำไว้ในบ่อพักใต้ดิน เพื่อไม่ให้เจิ่งนองท่วมถนนเหมือนที่ผ่านมา โดยบ่อมีความลึก 11 เมตร เก็บน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตร เมื่อฝนหยุดตกค่อยสูบน้ำออกจากบ่อใต้ดิน โดยมีเครื่องสูบน้ำขนาด 1.25 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ไหลไปตามแนวท่อระบายน้ำลงสู่คลอง

            โครงการนี้จัดทำขึ้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง 5 แห่ง ประกอบด้วย บริเวณสน.บางเขน เขตบางเขน ปากซอยสุทธิพร 2 ถนนอโศกดินแดง เขตดินแดง หมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค สวนสาธารณะใต้สะพานข้ามแยกถนนรัชดาฯ ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร และใต้สะพานข้ามแยกถนนกรุงเทพกรีฑาตัดกับถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ ซึ่งโครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน 3 แห่ง ที่ได้รับการจัดสรรงบฯก่อสร้างแล้ว ได้แก่ บริเวณสน.บางเขน ปากซอยสุทธิพร 2 ถนนอโศกดินแดง และหมู่บ้านเศรษฐกิจ

            นอกจากนี้กรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมเข้าพื้นที่ก่อนที่ฝนจะตก ขณะฝนตก และหลังฝนหยุดตก ซึ่งสำนักการระบายน้ำมีศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศหนองแขม ศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศหนองบอน และศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศหนองจอก ซึ่งศูนย์เรดาร์ดังกล่าวจะทำการตรวจจับกลุ่มเมฆฝน โดยจะทราบล่วงหน้าก่อนที่กลุ่มเมฆฝนจะเข้าพื้นที่ประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นสำนักการระบายน้ำจะแจ้งเตือนผ่านระบบต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าพื้นที่เตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนที่ฝนจะตก รวมถึงการลดระดับน้ำในคลองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อเตรียมรองรับปริมาณฝนที่ตกลงมา ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำแล้วเสร็จหลายโครงการ หากฝนตกลงมาในปริมาณมากเกินกว่า 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง กรุงเทพมหานครจะใช้ระยะเวลาในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้เร็วกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปริมาณฝนที่เท่ากัน

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา

https://siamrath.co.th/n/35428

https://tna.mcot.net/view/5cffb7c5e3f8e4d20691dd58

http://www.prbangkok.com/th/hotnews/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ1MjcxMQ==

http://www.bltbangkok.com/News